Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Foxtrot Business Squad
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2021 เวลา 14:26 • การเมือง
What you misunderstand about Communism 2.0
สวัสดีครับผู้อ่านทุกคน คงจำได้ว่าผมได้เคยเขียนบทความในชื่อเดียวกันไปเเล้วรอบหนึ่ง
ความเข้าใจผิดของความคิดคอมมิวนิสต์นั้นยังมีอยู่เเพร่หลาย
ทั้งในสังคมออนไลน์เเละในบทเรียนเเละยังมีอีกหลายๆ
ประเด็นที่คนส่วนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความคิดคอมมิวนิสต์
ผู้เขียนเลยตัดสินใจที่จะเขียนบทความนี้ขึ้นมาอีกครั้งโดยนำ
ประเด็นเเละเนื้อหาต่างๆ มาสรุปเเละปรับความเข้าใจกันใหม่อีกครั้งครับ
เรามาเริ่มกันเลยครับ
1.เเนวคิดคอมมิวนิสต์เป็นเผด็จการ!
เป็นข้อความที่ผมเห็นจากในทวิตเตอร์ถึงกับขำออกมาเลยด้วยซ้ำ ไม่เเปลกใจกับสิ่งที่
ได้อ่านนักเท่าไร เพราะเป็นประโยคที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนเป็นต้องเจอ
เเท้จริงเเล้วนั้นหลักการคอมมิวนิสต์เริ่มมีบทบาทมาจาก Karl Marx นักปรัชญาชาวเยอรมัน
ที่เหมือนSantaคนนี้นั่นเองครับ (ซ้าย) เเละก็เพื่อนซี้เขาอย่าง Friedrich Engel (ขวา)
Marxเห็นถึงการกดขี่ของทุนนิยมที่ส่งผลต่อเเรงงาน Marxตระหนักถึง
ความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในด้านต่างๆ เเละเหล่ากรรมาชีพทั้งหลายที่ทำงานอย่างหนักควรเป็นผู้ถือของปัจจัยการผลิตเเทนที่เหล่านายทุนที่รอผลกำไรที่ได้จากเเรงงาน
Seize the means of production! การปฏิวัติโดยชนชั้นเเรงงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น
เริ่มจากการสร้างสำนึกทางชนชั้นว่าเราทุกคนล้วนเเล้วเเต่เป็นเเรงงาน
ที่ถูกกดขี่ในโลกทุนนิยม เพื่อปลดเเอกจากพวกนายทุนเเละชนชั้นปกครอง
ที่ปกครองพวกเราอยู่เเละกำจัดความเหลื่อมล้ำเเละสร้างควาเท่าเทียม
ให้กับทุกคนในสังคมบนโลกใบนี้ จนเราสามารถสร้างโลกUtopiaขึ้นมา
“โลกที่เราไร้การมีรัฐ ไร้การมีอยู่ของชนชั้นทางสังคม โลกที่เราอยู่ได้โดยไร้เงินตรา”
“โลกที่ทุกคนเท่ากัน”
ในบทความหน้าๆ จะทำการอธิบายหลักการของ Marxist ที่ละเอียดมากกว่านี้นะครับ
ถ้าจะจัดว่าเป็นเผด็จการละก็ก็คงให้เรียกว่า “เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ”
เเบบที่ลุงMarxเขาเรียกเพราะมันคือการยึดอำนาจโดยเหล่าเเรงงานเเละสามัญชน
อย่างเราๆ ทุกคน จากพวกกฎุมพีทั้งหลาย
ความคิดคอมมิวนิสต์หลังจากMarxนั้นก็เริ่มถูกบิดเบือนโดยพวกเผด็จการที่เเสวงหา
ผลประโยชน์จากความคิดด้วยโดยใช้คำว่า กรรมาชีพเเละความเท่าเทียม
เพื่อมาหลอกหลวงเหล่าประชาชนว่าเป็นปึกเเผ่นอันเดียวกันเเละสร้างความชอบธรรม
ของเผด็จการ เเต่เเท้จริงเเล้วพวกมันนั้นก็กดขี่ประชาชนอยู่ตลอดเวลาเเละปกครองอย่างไร้ความเป็นธรรม ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือประเทศจีนเเละเกาหลีเหนือที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
เป็นเผด็จการ เป็นประเทศที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองอยู่ เเต่เเท้จริงเเล้ว
ไม่มีความเป็นคอมมิวนิสต์เลย มีเเต่ความเผด็จการหล่อหลอมรวมอยู่ในนั้น
จนความคิดคอมมิวนิสต์ถูกบิดเบือนไปได้ขนาดนี้
อ้างอิงจากหนังสือ “มารู้จักมาร์คซิสต์ กันเถอะ” องค์กรเลี้ยวซ้าย
2.เป็นคอมมิวนิสต์ต้องทำนารวมเเละใช้ของทุกอย่างร่วมกันเช่นเเปรงสีฟัน
เราจะทำการพูดถึงนารวมก่อนมันมีความเป็นมาอย่างไร มันเริ่มมาจากหลังการปฏิวัติรัสเซีย
ได้มีการเเจกจ่ายพื้นที่นาที่ตอนเเรกนั้นเป็นของเหล่าคนรวยหลังจากปฏิวัติก็ทำการเเจกจ่ายให้ชาวนา เพื่อให้ชาวนาได้มีพื้นที่ปลูกเป็นของตัวเองโดยไม่ต้องไปเช่าพื้นที่หรือไป
เป็นลูกจ้างปลูกให้ใครอีก ตอนนั้นเกิดการขาดเเคลนอาหารเป็นอย่างมาก Lenin
เลยนำเสนอว่าถ้าชาวนารวมตัวช่วยกันปลูก ร่วมมือกันในเเต่ละชุมชนจะทำให้ผลผลิตเร็วขึ้นชาวนาเลยรวมตัวกันในชุมชนเเละเเบ่งหน้าที่กัน โดยใช้พื้นที่นาของทุกคนในหมู่บ้าน
ร่วมกันประชุมกัน โดยมีรัฐสนับสนุนรถไถเเละอุปกรณ์ต่างๆ
ให้ระบบนี้จะว่าภาษาง่ายๆ ก็คือ ระบบสหกรณ์ในชุมชนนั่นเองเเละมีความใกล้เคียง
กับวัฒนธรรมไทยอย่างประเพณี ลงเเขกเกี่ยวข้าว ที่ชาวนาในชุมชนจะมาช่วยกันทำนา
เห็นไหมครับไม่ได้น่ากลัว เเบบที่ใครๆ เขาว่าเลย ไม่ได้มีใครบังคับ เเต่ล้วนเเล้วเเต่
เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตกรเเละความร่วมมือกันในชุมชนในการผลิตขึ้นมา
ในท้ายที่สุดผลผลิตพุ่งสูงขึ้นมากกว่าปกติอีกด้วย
อ้างอิงจากหนังสือ Machine and Tractor Station 1939
drive.google.com
Machine and Tractor Stations.pdf
ส่วนเรื่องประเด็นของใช้ร่วมกัน เป็นประโยคเอาขำขันเพื่อลดทอนฝั่งคอมมิวนิสต์มากกว่า
Personal belonging ตราบใดมันก็ยังคงเป็นเเบบนั้นครับ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
มันตลกเสียมากกว่าหัวร้อนที่คนที่เกลียดคอมมิวนิสต์ใช้ประโยคนี้เพื่อลดทอนความคิด
ของคอมมิวนิสต์ อะไรที่มันเป็นของส่วนบุคคลก็ยังเป็นของส่วนบุคคลอยู่ดีเเหละครับนะ
ไม่รู้จะต้องอธิบายอะไรดีจริงๆ
เเต่อย่างเรื่องการเป็นเจ้าของธุรกิจเเรงงานทุกคนล้วนเเล้วเเต่เป็นเจ้าของการผลิตร่วมกัน
ไม่มีคำว่านี่บริษัทของชั้น ชั้นได้คนเดียว จะมีเเต่คำว่านี่บริษัทของเรา เราทุกคนได้ด้วยกัน
ด้วยการยกเลิกกรรมสิทธิเอกชนเเล้วเอาเปลี่ยนเป็นของทุกคนเเทน(เเรงงานที่ทำงานในนั้น)
จะไม่มีการกดขี่เเรงงานจากเจ้าของเพราะตอนนี้ทุกคนนั้นร่วมกันเป็นเจ้าของนั่นเอง
ทุนนิยม ที่สุดท้ายคนทำงานก็เป็นได้เเค่ที่ผลิตเงินให้กับพวกผู้บริหารพวกคนที่สูงกว่าตลอด การสั่งการมาจากบนลงล่างโดยเสมอ เมื่อคนข้างล่างจะส่งปัญหาไปข้างบนก็ต้องผ่านชั้นอื่นๆขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงตัวหัวหน้าหรือทีมบริหาร คนที่ตำเเหน่งล่างกว่าไม่เสียงเท่าคนอื่นๆ
ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน อยู่กัยเป็นเเผนกๆรวมมือกัน การหัวหน้าล้วนเเล้วเเต่ต้องมาจากการเลือกกันในเเผนกเลือกกันในบริษัท ทุกคนสามารถโต้เเย้ง สามารถเเสดงความคิดเห็นถึงการทำงานเเม้ไม่ได้เป็นหัวหน้าหรือพวกทีมบริหารได้
เเต่ถ้าเป็นพวกเหล่านายทุนหรือชนชั้นสูงที่มีที่ดินเยอะหรือ
เงินมากๆ มากจนเเจกได้ละก็ ไม่รับรองความปลอดภัยของที่ดินเงินของคุณนะครับ
อาจจะกลายเป็นเเบบปฏิวัติรัสเซียก็เป็นได้นะครับ ฮ่าๆๆๆ อันนี้ก็ตอบไม่ได้นะครับ
บริบทช่วงปี 1900 กับ 2000 มันต่างกันมากๆ
3.ความหลากหลายนั้นไม่มีภายใต้สังคมคอมมิวนิสต์
หลายๆ ครั้งเราจะสามาถเห็นข้อความนี้ในโลกอินเตอร์เน็ต ว่าคนที่ทำงานต่างใส่ชุดเดียวกันตึกรามบ้านช่องเป็นรูปเเบบเดียวกันหรือใช้สินค้าที่มาจากที่เดียวกันทั้งหมดผู้ผลิตเดียวกันทั้งหมด เพราะเเตกต่างจากทุนนิยมที่เป็นตลาดเสรีสินค้าหลากหลายมีหลายผลิตภันฑ์
เเต่ถ้าผมบอกว่าสิ่งที่พิมพ์ไปนั้นในทุนนิยมนั้นล้วนเเล้วเเต่มีทุกสิ่งทั้งหมดที่ผมได้พูดไปเเล้ว
นี่คือภาพประกอบครับ
น่าตกใจไหมละครับ ในความหลากหลายของทุนนิยม ตลาดเสรีอันหลากหลายที่สุดท้ายนั้น
มาจากนายทุนที่เดียว ตลาดเสรีที่ว่านี้คือ ฝันร้ายของเหล่าผู้ค้ารายย่อยหรือธุรกิจเล็กๆ
เลยด้วยซ้ำตลาดเสรีที่มีความหมายว่าใครมีเยอะคนนั้นชนะผมว่าไม่ค่อยเสรีเท่าไรนักนะครับ
เเละกฏระเบียบเรื่องเครื่องเเต่งกายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยเเต่อยากให้ใส่
เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันขององค์กรก็ยังคงมีให้เห็นเป็นทั่วๆ ไปเลยนะครับ
ในโรงงานทุนนิยมทั้งหลาย ในโลกของคอมมิวนิสต์จะไม่มีใครเป็นนายทุนครองตลาด
อยู่เเบบนี้ เเต่ตลาดรายย่อยต่างๆ จะสามารถเติบโตได้สินค้าที่ออกมาจากPassionของ
ผู้ผลิตจริงๆ ที่ไม่ใช่เพื่อกำไรนั้นจะเติบโตเเละหลากหลายในโลกของคอมมิวนิสต์ครับ
มาต่อกันที่ประเด็นที่อยู่อาศัยนะครับ
ที่อยู่หรือบ้านที่เหมือนๆหรือที่เรียนกันว่าSuburbเนี่ย
ในสหรัฐเป็นอะไรที่ตลกร้ายที่จำนวนบ้านที่ว่างเปล่าหรือห้องที่ขายไม่ได้
นั้นมีจำนวน 59:1นั่นหมายความว่าเขามีบ้านเหลือๆ เป็นร้อยๆหลัง
หรือมากกว่านั้นเเต่คนไร้บ้านก็ยังคงไร้บ้านต่อไปเพราะ
เพียงเเค่เขาไม่มีเงินที่เพียงพอต่อการซื้อที่อยู่เหล่านั้น
อ้างอิงจากข้อมูลด้านล่าง
self.inc
Homelessness & Empty Homes: Trends Since 2010 | Self.
There are 29 empty properties per homeless person across the US. Have a look through historical changes and how each US state compares.
ไม่ใช่ว่าหนึ่งในปัจจัย 4 ของมนุษย์คือที่อยู่อาศัยหรอกหรอ
มันตลกร้ายที่เรารู้ว่ามีที่หรือบ้านเพียงพอสำหรับทุกคน
ทุกคนสามารถมีบ้านได้ถึงเเม้จะหลังเล็กๆก็ตามเเต่ยังไงก็คือบ้าน
เราทุกคนรู้ใช่ไหมครับว่าที่อยู่อาศัยจำเป็นอย่างมากๆในการใช้ชีวิต
เเต่เพราะเขาไม่มีเงินเขาจึงไม่สามารถมีสิ่งนั้นได้ สิ่งที่เรียกว่าบ้าน
เเต่จะว่าอะไรได้ในโลกทุนนิยมเราเห็นค่าของเงินนั้นมากกว่าค่าความเป็นมนุษย์อยู่เสมอ
ไม่มีเงินในโลกเเห่งนี้คุณก็ถูกตีตราได้เเล้วว่าไม่มีค่าอะไรเลย ผมอาจจะพูดเเรงนะ
เเต่นี้คือความเป็นจริงของทุนนิยม ที่ทีคนตายเพราะไม่มีค่าในเศรฐกิจไม่มีค่าเพราะไม่มีเงิน
เเต่ผมก็ไม่ปฏิเสธว่าในสังคมนิยมที่ผ่านมาก็มีการสร้างตึกเเละเมือง
ที่มีความคล้ายครึงกันเเต่มันก็มีสาเหตุที่มากกว่า สาเหตุเรื่องเงินเเบบที่ทุนนิยม
ทำอยู่อย่างเเน่นอน การวางผังเมืองยกตัวอย่างใน U.S.S.R ที่มีตึกที่อยู่ที่เหมือนกันนั้น
เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาคนไร้บ้าน
ด้วยการสร้างที่อยู่ที่คนทุกคนสามารถเข้าถึงได้
โดยข้างในนั้นมีการวางรูปเเบบห้อง ที่เหมาะสม ทั้งขนาดของห้องน้ำ ขนาดของห้องครัว
ห้องต่างๆ เเละมีการวางผังเมืองที่ประชาชน จะสามารถเข้าถึงขนส่งสาธารณะต่างๆ ได้ง่ายๆ เพียงเเค่การเดินเท้าเท่านั้นเเละมีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่รอบๆ ที่อยู่อาศัย
ของประชาชนอีกด้วย เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สวนสาธารณะ
เป็นการวางผังเมืองที่โฟกัสไปที่ความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้มีความเท่าเทียมเเละเข้าถึงได้นั่นเองครับ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มได้ที
youtube.com
How did planners design Soviet cities?
Watch over 2,400 documentaries with Curiosity Stream for free for a month by signing up at http://CuriosityStream.com/citybeautiful and using the code, “city...
4.การสร้างศิลปะจะไม่มีPassionเพราะไม่มีเงินเป็นเเรงจูงใจ
คุณทำงานศิลปะด้วยความชอบเเละความรักที่มีในศิลปะ หรือ เพื่อเงินกันเเน่
ในเรื่องนี้นั้นผมจึงขอยกข้อความที่ผมได้คุบกับสหายanarchist
ที่เป็นหนึ่งในศิลปินที่ผลิตศิลปะออกมา ว่าสหายนั้นมีความคิดเห็นอย่างไรกับประโยค
ที่ว่างานศิลปะจะไม่สามารถเกิดขึ้นหากไม่มีเรื่องเงิน
จริง ๆ ก็แทบไม่เกี่ยวนะครับ เพราะ passion
เป็นเรื่อง individual ที่เกี่ยวก็คือ ถ้าศิลปินได้รับการสนับสนุนให้ทำงาน ได้รับการเห็นคุณค่าและการดูแลจากสังคมโดยที่ไม่ต้องกลัวอดตาย ก็อาจจะมีคนที่มีพรสวรรค์หลายคนแต่ไม่เคยได้สำแดงออกเพราะกลัวอดตาย ออกมาสร้างสรรค์งานกันมากขึ้น (ทุกอาชีพ) สำหรับเราศิลปินคือคนทุกคนที่มี passion กับงานที่ตัวเองทำ เพราะนั่นคือคือ creation จากแรงกายและความคิดสร้างสรรค์ ก็จะกล่าวได้ว่า ทุกคนเป็นศิลปินนั่นเอง ส่วนศิลปะกับโลกสังคมนิยมว่าเรื่องผมตอบแทนยังไงนั้นเป็นเรื่องหลังเพราะเราก็ต้องพูดคุยกันว่าสังคมนั้นไรเงินหรือไม่
แต่ในเบื้องต้นแล้วก่อนที่เราจะคุยกันถึงเรื่อง reward หลังจากนี้ การที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารักที่จะทำนั้น เรามองว่าเป็น reward แล้วในขั้นต้น firista ลองจินตนาการถึงว่าได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักดูสิ คิดว่ามันเป็น reward มั้ย ส่วนเรื่องการจัดการเราต้องลองมองออกนอกกรอบทุนนิยม
เพราะในความเป็นมนุษย์ เราก็ยังมีอีกหลายอย่างที่มีคุณค่าอีกมาก ถ้าไม่มองอยู่แค่เรื่องกรอบของเงิน มนุษย์มีสิ่งจูงใจอื่น ๆ ด้วยที่ในหลาย ๆ ครั้งมีคุณค่ากว่าเงินเช่น ความรัก ความพึงพอใจ การยอมรับ ชื่อเสียง ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกผูกติดอยู่กับความเป็นทุนนิยม
สำหรับผมนั้น (ผู้เขียน)
งานศิลปะเป็นสิ่งที่สวยงามเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สิ่งมีชีวืตที่เรียกว่ามนุษย์นั้ได้สร้างขึ้นมา
มนุษย์ทุกคนควรได้รับเเละเข้าถึงศิลปะเหล่านั้นเเละผู้ที่ศิลปะต่างๆ
ควรได้ทำในสื่งที่พวกเขาอยากทำได้รับการสนับสนุนจากมนุษย์คนอื่นๆ
เพื่อพวกเขาได้ผลิตสิ่งสวยงามให้กับโลกอันน่าขมขืนนี้ให้มีชีวิต
ศิลปะนั้นเพื่อมนุษย์เเละโลกมิใช่เพื่อเงินเเละทุนนิยม
ข้อมูลจากหนังสือเเละบทความต่างๆทั้งในเเละต่างประเทศ
เเละจากการสัมภาษณ์เเละการวิเคราะห์ของผู้เขียน
6 บันทึก
6
13
6
6
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย