Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Movie Thesis รีวิววิจัยไม่ชอบ ชอบรีวิวหนัง
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2021 เวลา 05:00 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Double Trouble NN เมื่อความรับผิดชอบควรมีในตัวทุกคน
EP.1: นักล่าแต้ม Pregnant
#รีวิวซีรี่ย์ยังไงให้เหมือนวิจัย
1. Introduction
“นะนาย” (เจมส์ ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ) เด็กหนุ่มที่เป็นทั้งนักกีฬาและว่าที่ประธานนักเรียน แต่ในอีกมุมหนึ่งเขาคือนักล่าแต้ม ที่มีความสัมพันธ์กับนักเรียนหญิงในโรงเรียนจนลามทำให้พวกเธอท้องแล้วไม่รับผิดชอบ จนพวกเธอต้องอับอาย เสียโอกาส จนไปสู่จุดจบของการเลือกเอาเด็กออกหรือการตัดสินใจที่คาดไม่ถึง จนกระทั่งเมื่อ “แนนโน๊ะ” (คิทตี้ - ชิชา อมาตยกุล) เด็กใหม่ได้ย้ายเข้ามาในโรงเรียน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จึงบังเกิดขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่นะนายต้องจดจำไปทั้งชีวิต เพราะบทเรียนที่นะนายกำลังได้รับรวมถึงผลกรรมกำลังย้อนกลับมาตั้งคำถามและเป็นสิ่งที่จะทำให้นะนายได้ทบทวนการกระทำของตนเอง
2. Literature Review
ซีรี่ย์ตอนนี้กล่าวถึงปัญหาของการท้องก่อนวัยอันควร และค่านิยม free sex ที่ได้รับมาจากฝั่งตะวันตก กล่าวคือการล่าแต้มหรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนกลายเป็นการส่งเสริมความนิยม แต่เบื้องหลังหรือปัญหาที่เกิดตามมาจากการกระทำและค่านิยมเหล่านี้ คือสิ่งที่มักถูกมองข้าม อาทิ ปัญหาท้องในวัยเรียน ปัญหาการเลี้ยงดูของครอบครัว การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการกระทำเหล่านี้ ซึ่งเป็น Social Issues ที่ประเทศไทยพยายามกดทับด้วยคำว่า “ บัดสีบัดเถลิง “ ในด้านพล็อตเนื้อหามีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ “ ฝากเอาไว้ในกายเธอ “ ที่ว่าถึงประเด็นการมีเพศสัมพันธ์โดยนำไปสู่การท้องก่อนวัยอันควร นำไปสู่ปัญหาการทำแท้ง แต่ที่คล้ายกว่านั้นคือการพูดถึงอาการท้องในเพศชาย ทั้งสองเรื่องมีความคล้ายกัน ณ จุดๆนี้ ในขณะที่อีกเรื่องหนึ่งระบุถึงสาเหตุว่าเกิดจากอาการท้องมาน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งระบุว่าคุณเป็น “ Hermaphrodite “ (มีสองเพศในคนเดียว)
เส้นเรื่องของตอนนี้ตั้งอยู่บน baseline ของการเล่าเรื่องแบบแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของการกระทำผ่านทางพลังของแนนโน๊ะ ซึ่งสามารถพบเจอได้ในภาพยนตร์ที่พยายามแสดงให้เห็นผลของการกระทำ พล็อตเรื่องแบบนี้มักนำพาเราไปสำรวจต้นตอของปัญหาในทุกๆมิติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่นะนายเองต้องเจอหลังจากตัวเองกลายเป็นผู้ถูกล่า นักเรียนหญิงอย่างเพชร (นัท ธีรรัตน์ วงศ์ชื่น)ที่เคยเป็นเหยื่อแล้วท้องแต่ก็มีความรับผิดชอบต่อลูกของตัวเองแม้จะเคยได้มีโอกาสทำแท้ง รวมถึงปัญหาครอบครัวในบ้านของนะนายที่ส่งผลต่อความคิดของตัวละคร และสายตาของคนรอบตัวที่สะท้อนต่อปัญหาหรือเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งสะท้อนต่อค่านิยมต่อสังคมที่ขาดการขัดเกลาอย่างเหมาะสม
3. Methodology
งานของผู้กำกับของคุณป้อง-ไพรัช คุ้มวันตั้งแต่ซีซั่นแรกในตอน Ugly Truth (EP.1) มีลักษณะของพล็อตเรื่องที่เล่าในแบบเดียวกันคือการเล่าผ่านการสะท้อนภาพประสบการณ์ที่ตัวละครในซีรี่ย์จะต้องพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดและกระอักกระอ่วนในแบบเดียวกับตัวละครผู้ถูกกระทำได้พบเจอ
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าผ่านมุมมองของตัวนะนายซะส่วนใหญ่ ซึ่งจุดประสงค์ของซีรี่ย์ตอนนี้คือการใส่เหตุการณ์ที่ผู้หญิงจะต้องเผชิญหลังจากเกิดปัญหาท้องก่อนวัยอันควร ซึ่งเล่าผ่านมุมนะนายผ่าน Mindset ของตัวละครเพศชายที่ไม่มีวันจะได้ลิ้มลองความรู้สึกแบบนี้มาก่อน เสียดายที่เขาไม่ได้ลงลึกในตัวละครเพชรที่คิดว่าเป็นอีกตัวละครหนึ่งที่ควรจะได้รับการบอกเล่าให้เพศหญิงได้รับรู้วิธีการคิด หรือ การรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดถึงเหล่านี้ด้วย
ถึงแม้อย่างนั้นซีรี่ย์ก็นำพาฉากในห้องแดงที่เหมือนเป็นจุดหนึ่งที่นะนายเริ่มรู้สึกหลอกหลอนกับสิ่งที่ทำลงไป เริ่มรู้สึกถึงผลของการกระทำและเริ่มเพิ่มความเห็นอกเห็นใจในเพศแม่ ตั้งแต่อาการเจ็บปวดครรภ์ ความรู้สึกอยากเอาเด็กออก จนกระทั่งจะทำการปลิดชีพลูกของตัวเอง แต่ในท้ายที่สุดแม้จะกลับตัวได้ ซีรี่ย์ก็เลือกที่จะทอดทิ้งนะนายให้อยู่กับผลของการกระทำโดยไม่มีวันจะแก้ไขได้ มีการตัดจบประเด็นที่ห้วนเกินไปนิดหน่อย ทั้งในพบเจอของตัวละครเพชรกับนะนายในตอนท้ายที่มีไดอะล็อกแค่เพียงคำขอโทษที่ดูตื้นเขิน รวมถึงฉากจบที่เผื่อพื้นที่ให้กับการเกริ่นนำตัวละครอย่าง ยูริ ทำให้การใช้พลังครั้งนี้ของแนนโน๊ะบางทีก็ดูจะขาดน้ำหนักของการส่งผ่านบทเรียนและรับรู้ถึงเพียงแค่ว่าทำไปเพื่อเพียงลงโทษพวกมนุษย์จำพวกนี้ก็เท่านั้น
ขั้นตอนการถ่ายทำตั้งแต่ฉากแรก มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจนแสดงออกผ่านแป้นบาสที่มี keywords สองคำ นั่นคือ “ Lively “ และ “ Sufficiently” ซึ่งเป็นการวางตำแหน่งของสองตัวละครอย่างนะนายและเพชร (นักเรียนหญิงที่ท้องเพราะนะนาย) หมายถึงการที่อีกคนหนึ่งก็ยังมีชีวิตชีวา ในขณะที่อีกฝ่ายอยู่ในสภาพจำยอมและเรียนรู้ผ่านข้อผิดพลาดของตัวเอง
4. Discussion
ประเด็นสำคัญที่ควรถูกพูดถึงกลับไม่ใช่เรื่องราวของการท้องในวัยเรียน หรือ ท้องก่อนวัยอันควร อันที่จริงแล้วการท้องไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งการทำแท้งเองก็ไม่ใช่เรื่องผิดซะทีเดียว ต้องย้อนกลับไปที่คำถามที่ว่า “ แค่ไหนถึงเรียนว่าวัยอันควร “ ปัญหาของสังคมในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นว่าแม้ในคนที่บรรลุนิติภาวะก็ประสบพบเจอกับปัญหาการเลี้ยงเด็กให้ดีได้ ถ้าปราศจากเงื่อนไขของการเมือง สิ่งแวดล้อมและเรื่องของเงิน การเลี้ยงลูกให้ดีในอีกด้านคือการพัฒนาตัวเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยความสามารถที่ดีของคนในครอบครัว สถาบันครอบครัวจึงเป็น Portfolio แรกที่จะเป็นเครื่องสะท้อนภาพลักษณ์ของเด็กๆ รวมถึงวิธีการคิดในช่วงพัฒนาการ นะนายเป็นตัวละครหนึ่งที่พบเจอปัญหาในระดับสถาบันครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ขาดความใส่ใจ ซีรี่ย์กล่าวเกริ่นๆว่าคุณพ่อของนะนายเองก็เคยทำเลขาท้อง รวมถึงคุณพ่อคุณแม่เองไม่พร้อมเปิดใจรับเรื่องที่สังคมมองว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย และไม่คอยอยู่เคียงข้างในวันที่แย่ที่สุด
ภาพทางสังคมอีกหนึ่งอย่างคือความจริงที่ว่าคนที่ต้องแบกรับความลำบากส่วนใหญ่มักจะต้องเกิดกับเพศหญิง นี่คือสิ่งที่ควรจะ reorganize ภาพดังกล่าว อาทิ โดยพื้นฐานผู้หญิงมักถูกสอนว่าต้องระวังกับภัยอันตรายที่เกิดจากสถานการณ์ทั้งแบบไม่คาดคิดและไม่สามารถป้องกันได้ แต่ตัวผู้ชายเองก็เป็นปัญหาที่ไม่เคยได้รับการพูดถึงหรือสั่งสอนอย่างจริงจังในเชิงของคุณค่าความเป็นมนุษย์ การเป็นบุคลากรของสังคมที่ดีที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นจนถึงขั้นตระหนักหรือคิดถี่ถ้วนของการกระทำต่างๆ หรือถึงแม้การกระทำที่ผิดพลาดเอง ก็ต้องรู้จักรับผิดชอบต่อผลของการกระทำ รู้หน้าที่ที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากกระบวนการคิดที่ถูกหล่อหลอมผ่านสิ่งรอบตัว ประสบการณ์ที่เคยได้สัมผัส สถาบันครอบครัวหรือการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเหมาะสมและครบถ้วน ดังใจความของ Maslow Hierarchy ขั้นที่ 1 สะท้อนความต้องการทางเพศของทั้งสองเพศ Mindset หลักสำคัญคือการมีเพศสัมพันธ์เป็นความต้องการร่วมกัน นั่นหมายความ consent ได้มีการ agreement ก่อนผ่านกระบวนการการมีความสุขดังกล่าว สรุปได้ว่าไม่ว่าจะเพศชายเพศหญิง ในการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความต้องการร่วมกันไม่มีใครได้หรือเสียเปรียบอะไร หรือกล่าวเป็นนัยๆว่า “ทั้งสองคนได้กัน”.
Message อีกหนึ่งอย่างที่เล่าผ่านตอนนี้ก็คือการล่าแต้ม อันที่จริงแล้วเป็นค่านิยมที่มีข้อเสียมากกว่าข้อดีในมุมที่ว่า คุณค่าของมนุษย์ หรือ ความ popularity ของปัจเจกบุคคลถูกกำหนดผ่านความคิดและสายตาของผู้อื่น อันที่จริง self-esteem ที่เกิดจากการล่าแต้มเป็นเรื่องของตัวบุคคล แต่กลับส่งผลเสียและพลังงานลบออกสู่บุคคลรอบข้างโดยเฉพาะผู้ที่ถูกล่าหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำ เพียงเพื่อกลุ่มบุคคลเหล่านั้นจะได้รับการตอบแทนเป็นชื่อเสียง (ที่ไม่มีประโยชน์อันใด) และความภาคภูมิใจ (ที่ทำให้คนอื่นเกิดความอับอาย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการล่าแต้มไม่ใช่เรื่องผิดในมุมมอง free sex ถ้าเกิดทั้งสองฝ่ายมี consent ซึ่งกันและกัน แต่ถ้าเกิดมีอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม ไม่รับรู้ หรือเกิดข้อเสียเปรียบและถูกลดทอนคุณค่า สิ่งเหล่านี้ควรถูกพูดถึงและต้องได้รับการปรับความเข้าใจที่ถูกต้องให้มากที่สุด
5. Conclusion
สำหรับเรื่องนี้เปิดมาด้วยบทบาททางการแสดงจากเจมส์ ธีรดนย์ที่ปล่อยของอีกครั้ง แม้ภาพรวมจะเป็นนักแสดงที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ แต่กลับมองว่าตัวซีรี่ย์สามารถขับเคลื่อนไปได้อีกหนึ่งระดับด้วยพลังการแสดงของนักแสดงคนนี้
แม้ตัวพล็อตเรื่องมีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ “ ฝากเอาไว้ในกายเธอ “ ที่วางเรื่องผู้ชายท้องได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นหนังผีไปซะทีเดียว กลายเป็นตอนที่เล่าเรื่องในรูปแบบละครสอนผู้ชายแบบ surreal ที่อัพเกรด production รวมถึงแฝงประเด็นต่างๆ แต่ก็ยังเป็น direction ที่เชยๆหรือตื้นเขินไปในบางมุม ด้วย message ที่มันไม่สามารถเป็นแรงกระเพื่อมกระแสตรงนี้ในสังคมได้ แรงจูงใจในตัวละครนั้นยังดูตื้นเขินเกินไป ถ้าซีรี่ย์สามารถเล่าในมุมมองเพชรและนะนายไปพร้อมๆกัน ข้อความของซีรี่ย์น่าจะช่วยตั้งคำถามว่าทั้งสองเพศเองนั้นก็ควรต้องรับผิดชอบและได้รับการ educate ด้วยกัน
- เด็กใหม่ 2 (Girl from Nowhere, 2021)
เพียงแค่ตอนแรกของซีซั่่นนี้แสดงออกชัดเจนในประเด็นปัญหาทางสังคมอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ตลอดทั้งซีซั่นนี้ยังได้พูดถึงทั้งความเหลื่อมล้ำ สังคมนิยม อำนาจ ทุนนิยม ความยุติธรรม และชวนให้ผู้ชมตระหนักประเด็นที่หลายหลายคนไม่เคยกล้าตั้งคำถาม Producer ของโปรเจคนี้เลือกนำเสนออย่างตรงไปตรงมามากขึ้นแบบที่ว่าไม่ต้องกลัวโดนแบนอีกต่อไปเพราะไม่ต้องฉายผ่านฟรีทีวี เพราะฉะนั้น เด็กใหม่ ซีซั่น 2
(GIRL FROM NOWHERE) ใครยังไม่ได้ดู ขอแนะนำให้ไปดูกันได้แล้วที่ Netflix เท่านั้น !
.
#เด็กใหม่2 #แนนโน๊ะ #Pregnant #นักล่าแต้ม #GirlFromNowhereNetflix #MovieThesis
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย