Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Niyay Dek-D
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2021 เวลา 04:00 • หนังสือ
รวมลิสต์ “ฉากเปิดเรื่อง” ที่ควรนำมาใช้ในนิยายของคุณ แชร์เก็บไว้เลย!
ใครที่มีปัญหาการเขียนนิยาย มีพล็อตอยู่ในหัวเต็มไปหมด แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนมันออกมายังไงดี ต้องเขียนออกมายังไงให้น่าสนใจ วันนี้พี่แนนนี่เพนมีไอเดียการเขียนฉากเปิดเรื่องแบบง่ายๆ มาแจกให้ทุกคนได้นำไปใช้หลายฉากมากๆ ใครที่กำลังตื้อตัน หาวิธีเปิดเรื่องไม่ได้ มาหยิบฉากเหล่านี้ไปใช้กันได้เลยค่ะ
1. จับให้ได้ว่านักอ่านสนใจอะไร?
3
นักอ่านคลิกเข้ามาอ่านนิยายของเราเพราะอะไร เพราะชื่อเรื่อง คำโปรย หรือแนวเรื่อง ลองสวมบทบาทเป็นนักอ่าน แล้วพุ่งตรงไปยังสิ่งที่น่าสนใจเป็นอันดับแรกๆ เช่น นิยายตั้งชื่อเรื่องที่มีคำว่า เกิดใหม่, ทะลุมิติ, ตาย, ระบบ, ต่างโลก ฯลฯ สิ่งที่นักอ่านสนใจก็คือเรื่องราวของการกลับมามีชีวิตใหม่ หรือได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง นั่นเองค่ะ ดังนั้นในข้อต่อไป
1
2. ดึงดูดนักอ่านด้วยตัวเอกของเรื่อง
ในบทแรกของนิยายควรเริ่มต้นด้วยเรื่องราวของตัวเอกเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต หรือการแนะนำเรื่องพื้นฐานแบบคร่าวๆ ตัวเอกควรได้ปรากฏตัวในบทนี้เลยค่ะ เพราะเป็นบทเปิดตัวที่นักอ่านให้ความสนใจมากที่สุด จะหยุดอ่านหรือจะไปต่ออยู่ที่บทแรกเลยว่าเราสามารถสร้างความน่าสนใจของตัวละครให้นักอ่านอยากติดตามต่อไปจนจบเรื่องได้รึเปล่า
3. วางโทนเรื่องไว้ยังไงบ้าง?
ในข้อสุดท้ายนี้ รวมถึงการวางพล็อตเรื่อง และโครงเรื่องที่ชัดเจนด้วยค่ะ เราจะเปิดเรื่องให้นักอ่านสนใจและไปต่อกับเราได้ยังไง ถ้าเราเองยังไม่รู้ว่าเรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นยังไง อย่างน้อยถ้าเรื่องราวที่เราเขียนเกิดจากพล็อตในหัวที่คิดได้กะทันหัน เราก็ควรจะวางแพลนคร่าวๆ เอาไว้ก่อน วางเรื่องแบบต้น กลาง จบ เอาไว้คร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องที่จะเขียนต่อไป ป้องกันไม่เราเขียนออกนอกทะเล หรือหลงทางจนเขียนต่อไม่ออกได้
เมื่อรู้วิธีสร้างฉากเปิดเรื่องให้ดีกันแล้ว
มาดูไอเดียการเขียนฉากเปิดเรื่องที่นำมาแจกกันในวันนี้เลยค่ะ
ฉากสนทนา
การเปิดเรื่องด้วยบทสนทนาหรือประโยคที่แข็งแกร่ง นอกจากจะดึงดูดความสนใจจากนักอ่านแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงคาแรกเตอร์ของตัวละคร และพัฒนาการของตัวละครในอนาคตได้อีกด้วย
ฉากไล่ล่า
ฉากเปิดเรื่องที่บรรยายถึงการไล่ล่าให้โอกาสนักเขียนได้วางกับดัก รวมถึงอุบายต่างๆ เอาไว้มากมาย โดยเราสามารถเปิดตัวตัวละครเอกไปพร้อมๆ กับการสร้างปมปริศนาต่างๆ ขึ้นมาในบทแรกได้เลย ซึ่งในมุมของนักอ่าน ฉากเปิดเรื่องด้วยการไล่ล่าสามารถทำให้พวกเขาเกิดความสงสัย เกิดความอยากรู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ตัวเอกจะเป็นอย่างไร และจุดจบของเรื่องนี้คืออะไร
ฉากพูดคนเดียว
ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับตัวเอง หรือการสนทนาทางโทรศัพท์ การเปิดเรื่องด้วยฉากพูดคนเดียว จะทำให้นักอ่านรู้จักตัวตนของตัวละครมากขึ้น รู้ความคิดความในใจของตัวละคร รู้ว่าเรื่องราวกำลังจะดำเนินไปในทิศทางไหน และรู้ว่าโทนเรื่องเป็นอย่างไร แต่ข้อเสียของการให้ตัวละครพูดคนเดียว ก็คือ นักอ่านจะไม่รู้ว่าตัวละครอื่นในสภาพแวดล้อมเดียวกันคิดอย่างไรนั่นเอง
ฉากการออกเดินทาง/การเดินทางมาถึงของ...
ตัวละครออกเดินทางหรือคนแปลกหน้าเข้ามาในเมืองเพื่อ ตามหา/ค้นหา/หลบหนี/ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นการเริ่มต้นเรื่องราวที่ชวนให้คนอ่านรอลุ้นจุดหมายปลายทาง และเฝ้าสังเกตการณ์ว่าระหว่างทางจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวละครเหล่านี้บ้าง
2
ฉากที่มีการกระทำ/สถานที่ ที่เป็นความลับ
ฉากเปิดเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า มีคนกำลังทำอะไรบางอย่างที่เป็นความลับ ต้องปกปิด หรือเป็นเรื่องต้องห้าม และเกี่ยวกับโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ โดยไม่ต้องบรรยายหรืออธิบายถึงตวามตึงเครียดใดๆ เลย จากนั้น
ฉากภาพรวมของโลก
การเริ่มต้นด้วยภาพรวมของโลกนิยาย หรือโลกที่เราเซตติ้งขึ้นมา แล้วค่อยๆ ซูมเข้าไปที่ตัวละคร สถานที่ หรือเหตุการณ์หนึ่ง จะทำให้เราสามารถวางสภาพแวดล้อมได้ตามที่ตั้งใจ และทำให้นักอ่านจินตนาการได้ว่าโลกที่พวกเขากำลังอ่านอยู่นั้น เป็นโลกแบบไหน
ฉากเล่าเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต
ข้อนี้เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มาก ถ้าหากเรากำลังเขียนเรื่องราวที่รู้จุดจบอยู่แล้ว หรือมีจุดจบที่สามารถขับเคลื่อนพล็อตเรื่องได้ การเปิดเรื่องด้วยการเผยให้เห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก่อน แล้วค่อยๆ เล่าดำเนินเรื่องตามไปจนถึงเหตุการณ์นั้นๆ ก็เป็นเทคนิคที่น่าสนใจและดึงดูดนักอ่านได้ดีทีเดียว
ฉากแฟลชแบ็ก
ฉากเปิดเรื่องแฟลชแบ็ก หรือการเล่าเรื่องราวก่อนหน้าเหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นฉากเปิดเรื่องที่มีประโยชน์มาก แม้จะทำให้เรื่องราวของเราดูไม่มีจุดที่น่าสนใจ แต่เป็นการแนะนำตัวละครให้คนอ่านได้รู้จักภูมิหลังในอดีตที่ดี
ฉากรายละเอียดของนิยาย
แม้ว่าการเขียนรายละเอียดของโลกเซตติ้งจะสามารถแยกบทออกจากกันได้ แต่ในฉากเปิดเรื่อง เราสามารถเริ่มต้นเรื่องราวด้วยข้อจำกัดของโลกเซตติ้งได้ โดยส่วนใหญ่เรื่องที่นิยมเปิดฉากด้วยรายละเอียดของนิยาย มักจะเป็นนิยายแนวแฟนตาซี โอเมก้าเวิร์ส กำลังภายใน หรือเกมออนไลน์ ที่เน้นข้อจำกัดของโลกนั้นๆ ซึ่งการเขียนฉากดังกล่าว จะทำให้นักอ่านเข้าใจโลกที่กำลังจะอ่านได้ดียิ่งขึ้น
ฉากจดหมาย
ถึงแม้ว่ายุคสมัยของเราจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่เราสามารถเริ่มต้นเรื่องราวของเราด้วยจดหมายหรืออีเมลได้ค่ะ หากเรื่องราวของเราต้องการความคลาสสิก หรือต้องการแสดงให้เห็นเหตุการณ์สำคัญที่ขับเคลื่อนพล็อต ลองเปิดเรื่องด้วยฉากจดหมายกันได้เลยค่ะ
ชอบกันไหมเอ่ย? พอจะได้ไอเดียไปเขียนนิยายกันบ้างไหมคะ? เชื่อว่าไอเดียดีๆ เหล่านี้จะทำให้นักอยากเขียนชาวเด็กดีทุกคน อยากลองหยิบจับแต่ละไอเดียนำไปเขียนในนิยายของตัวเองกันนะคะ แอบกระซิบใบ้นิดนึงว่าแต่ละไอเดียที่เอามาบอกกันในวันนี้ เราสามารถนำมารวมกันหลายๆ ข้อหรือผสมผสานกันได้แบบไม่จำกัดเลยค่ะ ชอบแบบไหนก็หยิบไปลองใช้กันได้เลย ^^
เริ่มต้นเขียนนิยาย
https://bit.ly/writer-howto
20 บันทึก
5
8
20
5
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย