Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ควายดำทำเกษตร
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2021 เวลา 14:07 • อาหาร
กระแสการเอาเปลือกทุเรียนมาทำอาหารกิน เริ่มมีกระแสมาหลายวัน
เริ่มจากใน Tiktok ในสื่อออนไลน์ของจีน และเมื่อวานสื่อใหญ่อย่างช่อง 3 ได้นำข่าวว่ามี คณะคหกรรมศาสตร์ ของวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรที่เอาเปลือกทุเรียนไปทำอาหาร จนเป็นข่าวโด่งดัง
เมื่ออาทิตย์ก่อนได้เขียนเรื่องนี้เอาไว้ แต่ไม่ได้เขียนละเอียดอะไรมากเพราะไม่คิดว่ามันจะเป็นกระแสใหญ่โตอะไร แต่พอเห็นข่าวเมื่อวานที่เรื่องเล่าเช้านี้ลง เลยคิดว่าต้องเขียนเตือนหน่อยไม่งั้นเดี๋ยวเอาเปลือกทุเรียนกันไปกินแล้วจะมีผลกระทบกับคนกิน
ทำไมเราจึงไม่ควรเอาเปลือกทุเรียนไปทำอาหาร ?
ปรกติบนเปลือกทุเรียนจะมีพวกเชื้อราที่อยู่บนเปลือกทุเรียน นั่นคือสาเหตุว่าทำไมชาวสวนทุเรียนต้องพ่นสารกำจัดโรคพืช หรือ ยารา เพราะมันจะไปทำให้เปลือกทุเรียนดำ เป็นโรค และทำให้ขายไม่ได้ราคา และอีกอย่างถ้าส่งออกแล้วมีเชื้อราติดเข้าไปกับตู้ส่งออก จะทำให้มีปัญหาเรื่องการส่งออกไปต่างประเทศด้วย (ขอไม่ลงลึกเรื่องพิธีสารที่เค้าห้ามมีโรค แมลง อะไรบ้างเพราะไม่น่าจะเกี่ยวกับคนกิน)
โดยเชื้อราที่อยู่บนลูกทุเรียน หลักๆก็พวก
ไฟท๊อปเธอร่า
เชื้อราลาซิโอดิพโพลเดีย ธีโอโบรมี
เชื้อราโฟมอปซีส
ซึ่งชาวสวนก็ต้องพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดโรคและรวมไปถึงพวกแมลงต่างๆที่เข้ามาทำลายลูกด้วย เพราะแมลงศัตรูพืชอย่าง หนอน เพลี้ยแป้ง ก็สร้างความเสียหายให้กับลูกทุเรียนเช่นกัน
มีข้อมูลจากงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำรายงานวิจัยเรื่องสารตกค้างบนเปลือกและเนื้อทุเรียนเอาไว้ว่า
1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์วิจัยพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร ร่วมมือกับ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน และ สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพร ได้ศึกษาโอกาสของการปนเปื้อนสารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ตกค้างในทุเรียน เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานในการจัดการควบคุมคุณภาพของทุเรียน
2.จากการตรวจสอบพบสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชจากตัวอย่างทดลอง พบว่าเปลือกของทุเรียน มีโอกาสพบสารตกค้างได้มากกว่าส่วนเนื้อของทุเรียนจากผลทุเรียนผลเดียวกัน
3.จากผลการตรวจพบว่า สารเคมีที่มีโอกาสตรวจพบได้บ่อยครั้ง คือ สารเมทาแลคซิล ที่เป็นสารกำจัดโรคพืชอย่าง ไฟทอปเธอรา ที่ชาวสวนใช้กันบ่อยครั้ง ทำให้มีโอกาสตรวจพบการตกค้างที่เปลือกทุเรียนได้มากกว่าส่วนเนื้อของทุเรียน และตามที่ตรวจปริมาณการตกค้างพบว่าไม่เกินค่ากำหนดที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้
4.สารที่พบการตกค้างรองลงมาจาก สารเมทาแลคซิล คือ สารไซเปอร์เมทริน ที่เป็นสารกำจัดแมลง พบว่ามีสารตกค้างที่เปลือกเกินค่าที่กฎหมายกำหนด แต่ในเนื้อทุเรียน พบว่าค่าตกค้างน้อยกว่ากำหนด ไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และจากการทดลองคือทดลองจากทุเรียนที่พ่นสารไซเปอร์เมทรินแล้วเว้นระยะ 10 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งถ้าเป็นตามหลักความปลอดภัยต้องเว้นระยะเก็บเกี่ยวหลังจากพ่นสารไปประมาณ 14 วัน และสารที่มีโอกาสพบตกค้างที่เปลือกทุเรียนต่ำที่สุดคือ ไซฟลูทริน และ แลมป์ดา ไซฮาโลทริน (ในตัวอย่างเดียวกันที่นำมาตรวจ) คือเว้นระยะเพียง 10 วันก่อนเก็บเกี่ยวและนำมาตรวจ
5.สำหรับทุเรียนด้านการตรวจพบสารตกค้างพบว่าจากงานวิจัยของ Wanwimolruk ได้มีรายงานถึงความปลอดภัยในการบริโภคทุเรียน โดยไม่ต้องพะวงเรื่องสารพิษตกค้างซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยนี้ที่มีการตรวจเปลือกและเนื้อผลรวมกัน เพราะสารเคมีตกค้างเข้าไปในเนื้อทุเรียนไปถึงผู้บริโภคได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารที่เกษตรกรใช้ตกค้างที่เปลือกมากกว่าที่เนื้อของทุเรียน
6.สรุปสารที่พบตกค้างบ่อยในผลทุเรียน ได้แก่ สารเมทาแลคซิล และ สารไซเปอร์เมทริน
เป็นรายงานวิจัยเรื่องสารตกค้างบนเปลือกของทุเรียน ซึ่งปรกติชาวสวนจะเว้นระยะการพ่นสารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 10-15 วันกันอยู่แล้ว แต่ถึงแม้จะเว้นระยะ และ สารเคมีจะค่อยๆสลายตัวไป
แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรนำเปลือกทุเรียนไปแปรรูปทำอาหารอยู่ดี
เชื่อควายดำเถอะ ทำมาหากินอยู่เขตสวนทุเรียน ก็อยากเตือนผู้บริโภคอีกครั้งและหลายๆครั้งว่า อย่าหาทำ เข้าใจว่าทุเรียนมันแพง ต้องกินให้คุ้มค่า
กินแค่เนื้อทุเรียนก็พอแล้ว อย่าไปกินเปลือกเลย 5555+
ด้วยรักจากควายดำทำเกษตร เพจเกษตรที่ไม่แนะนำให้กินเปลือกทุเรียน
ข้อมูลเรื่องสารตกค้างบนเปลือกทุเรียน
https://www.facebook.com/thaidurianassociation/photos/a.128986272262744/243103594184344/
รูปทุเรียนเปลือกสวยๆ จากเจ๊จุ๋ม เจ๊จุ๋ม สวนสไตล์ช๊าลฮิ แอบไปขโมยมา
บันทึก
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย