19 พ.ค. 2021 เวลา 15:13 • ดนตรี เพลง
Robert Johnson
Robert Johnson
โรเบิร์ต จอห์นสัน (Robert Johnson) เป็นมือกีต้าร์เพลงบลูส์ที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของโลก เขาเกิดในครอบครัวคนผิวสีบริเวณลุ่มแม่นํ้ามิสซิสซิปปี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1911 และเสียงดนตรีก็เป็นสิ่งที่ โรเบิร์ต สนใจมาตั้งแต่เกิด เครื่องดนตรีชิ้นแรกในชีวิตเขาก็คือหีบเพลงเป่าปาก และ ฮาโมนิกา ก่อนที่เขาจะหันมาเอาดีทางด้านกีต้าร์
ในวัยหนุ่มความสามารถทางด้านดนตรีทำให้ โรเบิร์ต จอห์นสัน ถูกยกย่องว่าเป็นราชาดนตรีมิสซิสซิปปี แต่ผลงานของเขาที่มีเพียง 29 เพลงเท่านั้น (เพลงที่ได้รับความนิยมมี Crossroad , Me and The Devil Blues และ Come On In My Kitchen เป็นต้น )
ระหว่างช่วงปี 1936-37
ทว่ามันได้กลายเป็นรากฐานของดนตรีบลูส์และร็อกสมัยใหม่ โรเบิร์ต นำเอาประสบการณ์ความยากจนข้นแค้น การเดินทาง และผู้หญิง ใส่ลงไปในเพลงของเขา มีเรื่องเล่ากันว่า จอห์นสัน ขายวิญญาณให้ซาตานเพื่อแลกกับพรสวรรค์ในการเล่นกีตาร์ เขาเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 27 เมื่อปี 1938 อย่างไรก็ตาม ต่อมาผลงานของเขาได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการเล่นกีต้าร์ของมือกีต้าร์ระดับโลกหลายคนทั้ง อีริก แคลปตัน (ที่ทำอัลบั้มเพลงออกมาเพื่อเป็นการยกย่อง โรเบริต จอห์นสัน โดยเฉพาะ), คีธ ริชาร์ดส์ และแจ็ก ไวต์
การเสียชีวิตของ โรเบิร์ต จอห์นสัน ในปี 1938 Robert กับอายุ 27 ปี ทำให้เขาคือหนึ่งในศิลปินที่ถูกจัดให้อยู่ใน 27 Club โรเบิร์ต จากโลกนี้ไปด้วยด้วยการดื่มวิสกี้ผสมยาพิษ ทำให้ข่าลือเรื่องการขายวิญญาณให้ซาตานของเขาเป็นที่สนใจไปทั่ว ว่ากันว่า โรเบิร์ตขายวิญญาณให้ซาตานเพื่อแลกกับฝีมือการเล่นกีต้าร์อันสุดยอดบริเวณสี่แยกที่เรียกว่า Delta Crossroad ในมิสซิสซิปปี จนต่อมาถูกนำไปเป็นฉากในภาพยนตร์เรื่อง Crossroads (1996) และในทำเนียบมือกีต้าร์ โรเบิร์ต จอห์นสัน ก็เคยติดอันดับ 5 มือกีต้าร์ที่ดีที่สุดในโลก
"โรเบิร์ต จอห์นสัน" …
"โรเบิร์ต จอห์นสัน" มือกีต้าร์ผู้ขายวิญญาณให้ซาตาน
เพลง Crossroad โดย Robert Johnson
เพลง Crossroads นำมาเรียบเรียงใหม่โดย Eric Clapton
ภาพยนต์เรื่อง "Crossroads" ที่สร้างขึ้นโดยตำนานของโรเบริต จอห์นสัน
ฉากดวลกีต้าร์ที่โด่งดังของหนัง โดยมี Steve Vai เเสดงเป็นมือกีต้าร์ผู้ที่ซาตานส่งมา
เเละในปี 1986 ปีเเรกที่มีการมอบรางวัล Rock n Rock Hall of Frame - โรเบริต จอห์นสัน ก็ได้รับรางวัลเป็นคนเเรก เนื่องจากมีอิทธิพลเเก่ดนตรีร็อคเเอนด์โรล เเละศิลปินรุ่นหละงเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับเนื้อเพลงของเขา โดยผู้ค้นคว้าเรื่องของชีวิตของ โรเบิร์ต จอห์นสัน และเป็นเจ้าของรูปของเขา 2 ใน 3 รูป (ทั้งชีวิต โรเบิร์ต มีภาพถ่ายตัวเองแค่ 3 ใบ) บอกไว้ว่าในเพลง Me And The Devil มีเนื้อร้องประโยคหนึ่งว่า Hello Satan, I Believe It’s Time To Go ต้องฟังให้ดีจึงจะพบว่าการเขียนคำร้องของโรเบิร์ตมักชอบที่จะพาดพิงถึงบรรดาภูติผีปีศาจทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่เสมอ
เช่นเดียวกับท่อนหนึ่งในเพลง Cross Road Blues กล่าวว่า Went to the crossroad, fell down on my knees, Asked the Lord above “Have mercy, now save poor Bob, if you please” สามารถตีความได้ว่าเป็น คำสัญญาที่เขาให้ไว้กับใครซักคน ในคืนอันมืดมิดและเดียวดาย ที่ Delta Crossroad
ตำนานดนตรีบลูส์ “โรเบิร์ต จอห์นสัน” ขายวิญญาณให้แก่ซาตานจริงหรือ
CULTURE
ประเด็นว่าด้วยการขายวิญญาณให้แก่ปิศาจ ซาตาน หรือสิ่งชั่วร้าย (deal with the devil) เพื่อแลกกับพรสวรรค์อันพิเศษบางอย่าง เช่น ความรู้ ความสามารถ ความร่ำรวย ความเป็นอมตะ และ ฯลฯ เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงเสมอในโลกตะวันตกซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของคริสตศาสนา
หากไม่นับรวมกรณีของ โจฮัน เกออร์ก เฟาสต์ (Johann Georg Faust) ที่เรารู้จักกันในนาม “เฟาสต์ จอมขมังเวทย์” แห่งยุคเรอเนสซองส์ ที่ตกลงทำสัญญาผูกพันกับปีศาจ จนถูกก่นด่าประณามจากคริสตจักรแล้ว ก็ยังมีเรื่องราวของ นิโคโล ปากานินี (Nicolo Paganini) นักไวโอลินแห่งยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อกันว่าขายวิญญาณให้แก่ซาตาน
ปากานินี เคยป่วยหนักด้วยโรคหัด จนคนคิดว่าตายแล้ว ร่างของเขาถูกห่อด้วยผ้าพันศพ แต่โชคดีที่ยังไม่ถูกฝัง เมื่อฟื้นคืนชีพกลับมา ฝีมือการบรรเลงของปากานินี สามารถตรึงความสนใจจากผู้ชมได้อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยเทคนิกอันแพรวพราว เหนือความคาดหมาย จึงได้รับการยกย่องว่า เป็นนักไวโอลินที่มีความสามารถ “เหนือมนุษย์”
หากกล่าวเฉพาะเจาะจงเรื่องการขายวิญญาณในระยะหลัง นับจากช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา แน่นอนทีเดียวว่า ชื่อของ โรเบิร์ต จอห์นสัน (Robert Johnson) จะเป็นคนแรก ๆ ที่ได้รับการเอ่ยถึง เพราะเป็นที่ร่ำลือกันว่า ศิลปินเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน คนนี้ ผู้ร้องบรรเลงในแนวเพลงแบบ “มิสซิสซิปปี เดลตา บลูส์” (รูปแบบโฟล์คบลูส์ที่นิยมร้องเล่นกันในพื้นที่ทางหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา) ได้ขายวิญญาณให้แก่ซาตาน เพื่อแลกกับความสามารถทางดนตรี
ตลอดชีวิตสั้น ๆ เพียง 27 ปี ของ โรเบิร์ต จอห์นสัน เขามีโอกาสอัดเสียงเพียง 2 เซสชั่น ครั้งแรกที่ห้องพักเล็ก ๆ ภายในโรงแรมแห่งหนึ่งของเมืองซาน อันโตนิโอ รัฐเท็กซัส เมื่อปี ค.ศ. 1936 ตามด้วยเซสชั่นที่สอง ที่สตูดิโอแห่งหนึ่งในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 แต่ด้วยงานบันทึกเสียงที่มีทั้งหมดเพียง 29 เพลง โรเบิร์ต จอห์นสัน ได้สร้างผลสะเทือนให้แก่วงการป๊อปคัลเจอร์อย่างท่วมท้น ผลงานของเขากลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ศิลปินร็อกคนสำคัญในช่วงทศวรรษ 1960s ไม่ว่าจะเป็น เอริก แคลปตัน , คีธ ริชาร์ดส์, บ๊อบ ดีแลน, เลดเซพพลิน ฯลฯ นอกจากนั้น ชีวิตที่ไม่ธรรมดาของ โรเบิร์ต จอห์นสัน ยังเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่อง Crossroads (1986) อีกด้วย
คำถามเกี่ยวกับ โรเบิร์ต จอห์สัน ที่เราพอลำดับได้ ก็คือ
1-ทำไมเขาต้องขายวิญญาณให้ซาตาน
2-วิธีการที่เขาขายวิญญาณให้ซาตาน
3-เขาขายวิญญาณให้ซาตานจริง ๆ หรือ
เพื่อตอบคำถามแรก ทำไมเขาต้องขายวิญญาณให้ซาตาน มีเรื่องเล่าทำนองว่า เดิมทีนั้น โรเบิร์ต จอห์นสัน ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ เป็นเพียงเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง เป็นคนชนชั้นแรงงานในพื้นที่ลุ่มน้ำมิสซิสซิปปี หลุยเซียนา ที่พยายามฝึกฝนจะเป็นนักดนตรีบลูส์ และเฝ้าฝันที่จะมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทว่า วันหนึ่งหลังจากซุ่มซ้อมมายาวนาน โรเบิร์ต จอห์นสัน ได้ไปบรรเลงที่บาร์แห่งหนึ่ง แต่แล้วเขาก็ถูกโห่ไล่ ถูกจับโยนออกจากบาร์ เพราะฝีมือไม่เข้าท่าและไม่เป็นที่ยอมรับ
โรเบิร์ต จอห์นสัน หายไปเพียงไม่กี่สัปดาห์แล้วกลับมา แต่คราวนี้เปลี่ยนแปลงเป็นคนละคน เขากลายเป็นนักดนตรีระดับยอดฝีมือที่ทุกคนอึ้งและตกใจไปตาม ๆ กัน โดยรูปธรรมชัดเจน สามารถฟังได้จากงานบันทึกเสียง ที่ โรเบิร์ต จอห์นสัน ร้องและบรรเลงกีตาร์บทเพลงต่าง ๆ ด้วยความแคล่วคล่อง จนกระทั่งมือกีตาร์แห่งวง เดอะ โรลลิง สโตนส์ อย่าง คีธ ริชาร์ดส์ ยังเคยเข้าใจผิดมาแล้วว่า นั่นคือการเล่นกีตาร์ของคน 2 คน ทั้งที่ โรเบิร์ต จอห์นสัน ร้องและบรรเลงอยู่เพียงคนเดียว
ซัน เฮาส์ (Son House) ศิลปินบลูส์ที่มีชื่อเสียง มีชีวิตร่วมยุคสมัยเดียวกันกับ โรเบิร์ต จอห์นสัน และเป็นนักดนตรีที่โรเบิร์ต จอห์นสัน ให้ความเคารพ เป็นเจ้าของคำบอกเล่าที่ว่า จอห์นสัน ตัดสินใจไปขายวิญญาณให้แก่ซาตาน เพื่อแลกกับความสามารถทางดนตรี ก่อนที่เรื่องเล่านี้จะแพร่หลายออกไปในวงกว้าง
คำถามที่สอง แล้ว โรเบิร์ต จอห์นสัน ขายวิญญาณอย่างไร
เรื่องเล่าที่บอกกล่าวกันคือ วันหนึ่งในคืนเดือนมืด โรเบิร์ต จอห์นสัน เดินไปที่สี่แยกแห่งหนึ่ง แล้วเขาได้พบกับชายผิวดำรูปร่างสูงใหญ่ ชายผู้นั้นหยิบกีตาร์ของ จอห์นสัน มาขึ้นสายกีตาร์แล้วบรรเลงให้ฟัง พร้อม ๆ กับถามว่า อยากเล่นให้ได้แบบนี้ไหม เมื่อ โรเบิร์ต จอห์นสัน ตอบตกลงยอมรับ ก็เท่ากับการขายวิญญาณให้แก่ซาตานไปโดยปริยาย
มีข้อถกเถียงกันมากว่า สรุปแล้ว โรเบิร์ต จอห์นสัน ขายวิญญาณที่สี่แยกไหน สมมติฐานแรกคือ ที่จุดตัดระหว่างถนนไฮเวย์สาย 61 และ 49 ในเมืองคลาร์กสเดล รัฐมิสซิสซิปปี ขณะที่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า น่าจะอยู่ที่จุดตัดระหว่างถนนไฮเวย์สาย 1 และ 8 ในเมืองโรสเดล รัฐมิสซิปปี (ดังคำร้องที่ปรากฏในเพลง Cross Roads Blues) มากกว่า แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สถานที่ทั้งสองก็กลายมาเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมาจนถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้ นักมานุษยวิทยาตั้งข้อสังเกตว่า ตำนานที่พูดถึงการขายวิญญาณที่สี่แยกของ โรเบิร์ต จอห์นสัน น่าจะเป็นไปตามความเชื่อแบบคติชนของคนแอฟริกันมากกว่า แทนที่จะสอดรับกับชุดความคิดของคริสตศาสนา (ว่าด้วยการต่อต้านพระเจ้า) กล่าวคือ ในกลุ่มความเชื่อแบบคนแอฟริกัน-อเมริกันนั้น พวกเขาสืบทอดชุดความเชื่อมาจากบรรพบุรุษที่ยอมรับการดำรงอยู่ของมนต์ดำ (Voodoo) หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
สำหรับโลกในยุคสหัสวรรษใหม่ ย่อมมีคำถามสุดท้ายปรากฏในทำนองว่า แล้ว โรเบิร์ต จอห์นสัน ขายวิญญาณให้แก่ซาตานจริงหรือ
เป็นไปได้หรือไม่ว่า มิใช่เพราะการขายวิญญาณ แต่ด้วยเหตุผลของความอับอายขายหน้า ทำให้ โรเบิร์ต จอห์นสัน เปลี่ยนอุปสรรคเป็นพลังบวก เขาเกิดอาการฮึดสู้ กลับไปซุ่มซ้อม ฝึกฝน วิทยายุทธอย่างหนักหน่วงในการร้องบรรเลง จนสามารถก้าวขึ้นสู่สถานะของการเป็น “มายสโตร” (Maestro) หรือ “นายแห่งเครื่องมือ” (Master of Instrument) ได้ในที่สุด
หากถามบรรดานักดนตรีทั้งหลาย ทุกคนล้วนเคยผ่านประสบการณ์อับอายขายหน้า เมื่อเล่นผิด เล่นไม่ได้ ต่อหน้าสาธารณะมาแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนสามารถใช้พลังบวกข้ามผ่านหุบเหวแห่งความอัปยศอดสูเหล่านี้ไปได้หรือไม่ อย่างไร
ดังกรณีของ เบิร์ด ชาร์ลี พาร์คเกอร์ (Bird Charlie Parker) นักอัลโตแซ็กโซโฟน ผู้สร้างสรรค์บีบ็อพแจ๊ส (Bebop) ในทศวรรษ 1940s จนบีบ็อพกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานการศึกษาแจ๊สร่วมสมัยในวันนี้ ตอนเป็นเด็กหนุ่มนั้น เบิร์ดเคยหิ้วแซ็กโซโฟนไปแจมบนเวทีที่ไนต์คลับแห่งหนึ่งในเมืองแคนซัส เขาบรรเลงหลุดออกไปนอกวงโคจร จนทุก ๆ คนต้องหยุดเล่น แต่เจ้าตัวไม่หยุด กระทั่งมือกลอง ปาปา โจ โจนส์ ต้องตัดสินใจโยนฉาบเพื่อปลุกให้เขาตื่นจากภวังค์ ท่ามกลางเสียงหัวเราะของคนทั้งไนต์คลับ
ด้วยความอับอายขายหน้าในครั้งนั้น เบิร์ด ตัดสินใจไปใช้ชีวิตในป่าของภูเขาโอซาร์ก เพื่อซ้อมเพลงอย่างหนักหน่วง กล่าวกันว่า เขาซ้อมเพลงทุกเพลง ด้วยคีย์ทุกคีย์ที่มีอยู่ในระบบ (รวมทั้งหมด 12 คีย์) เพื่อพิชิตอุปสรรค จนในที่สุด เบิร์ด ได้ก้าวมาเป็นนักดนตรีระดับยอดฝีมือของโลกในที่สุด
เหตุนี้เอง จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า ระหว่างความเชื่อที่เชื่อตาม ๆ กันมาว่า โรเบิร์ต จอห์นสัน ขายวิญญาณให้แก่ซาตานเพื่อแลกกับความสามารถทางดนตรี กับ โรเบิร์ต จอห์นสัน คนหลัง (คนแบบ ชาร์ลี พาร์คเกอร์) ที่แอบไปซุ่มซ้อมดนตรีอย่างหนัก จนกลับมาเป็นคนระดับยอดฝีมือ
สุดท้ายนี้เราควรจะเชื่อในทฤษฎีใดกันแน่
เรื่องนี้แต่ละคนต่างมีคำตอบอยู่ในใจ
ขอบคุณครับ
โฆษณา