20 พ.ค. 2021 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พอเกิดวิกฤตอิสราเอล-ปาเลสไตน์ มีคนพูดถึงประเด็นระหว่างสองชาตินี้มากมาย โดยเฉพาะเรื่อง “ชาวยิว” และ “การก่อตั้งประเทศอิสราเอลบนแผ่นดินปาเลสไตน์”
หลายคนอยากให้ผมเล่าประวัติศาสตร์ตรงส่วนนี้ ซึ่งจริงๆ ผมเคยเขียนอย่างละเอียดในหนังสือเรื่อง “โลหิตอิสราเอล” อย่างไรก็ตามวันนี้จะมาเล่าฉบับรวบรัดให้ทุกคนฟัง
ผมอยากให้ทุกคนลองอ่านที่มาที่ไปของพวกเขา รับรู้อดีต แล้วมองสถานการณ์ปัจจุบัน ตัดสินเองว่าชาวยิวเป็นอย่างไร และอะไรทำให้เขาสร้างชาติขึ้นมาได้ ท่ามกลางความขัดแย้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 โรมันไม่อาจทนการกบฏของเผ่ายิวได้ จึงบุกถล่มเมืองเยรูซาเล็ม สังหารคนยิวไปมากมาย ทำลายล้างจนสิ้นชาติ และจับคนที่เหลือขายเป็นทาส ...สิ่งที่ชาวยิวถูกบีบให้ทำในเวลาเกือบ 2,000 ปีหลังจากนั้นคือการ “อพยพ”
เมื่อศาสนาคริสต์รุ่งเรืองในตะวันตก ชาวยิวก็ถูกเหยียดหยาม ด้วยประโยคสั้นๆ ว่า “ยิวฆ่าพระเยซู” ฝรั่งรังเกียจพวกเขา เลยจำกัดเขตให้ยิวอยู่อย่างแออัดในบริเวณสลัมสกปรกของเมืองเรียกว่า “เกตโต” ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ยิวออกมาเพ่นพ่านปะปนกับชาวคริสต์
ต่อมาเมื่อยุโรปเริ่มมีแนวคิดทางสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ผู้คนก็ถามกันว่าจะจัดการอย่างไรกับชาวยิวดี ยอดขุนศึกนโปเลียนซึ่งขึ้นปกครองฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 18 มีความคิด ว่า “แม้สิ่งที่พวกยิวประพฤติอยู่นั้นจะผิดผีบ้าง แต่การยับยั้งควรทำโดยให้มันกลายเป็นพวกของเรา...”
คิดดังนั้นนโปเลียนจึงส่งเสริมการให้อิสรภาพแก่ยิวในฝรั่งเศส รวมทั้งการยกศาสนายิวให้เป็นศาสนาประจำชาติร่วมกับคริสต์นิกายต่างๆ และปลดปล่อยยิวออกจากการกักกันในเกตโตในเขตที่ฝรั่งเศสปกครอง
เมื่อนโปเลียนขยายอาณาเขตออกไป เขาก็ได้ปลดปล่อยยิวในเขตที่เขาตีได้ด้วย กลายเป็นตัวอย่างการปลดปล่อยยิวให้แต่ละชาติทำตามๆ กันแม้ภายหลังสิ้นยุคนโปเลียนแล้วก็ตาม
ในลักษณะนี้การกดขี่ยิวที่ดำเนินติดต่อกันมาหลายร้อยปีจึงได้บรรเทาลง การที่นโปเลียนปลดปล่อยยิว และกล่อมเกลาให้พวกเขาเข้ามาร่วม อยู่ในสังคมกระแสหลักทำให้พวกยิวมองเห็นแสงสว่างของการออกมาเป็น “คนปกติ”
ปัญญาชนยิวออกมาตอบรับ “สังคมยุคใหม่” โดยถีบตัวออกจากการชี้นำของแรบไบท้องถิ่น และเข้าผสมกลมกลืนกับ ชาวยุโรปอื่นๆ ร่วมศึกษาพัฒนาวิทยาการทางโลก พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุก ชนชาติมีความเท่าเทียมกัน
กระบวนการนี้ส่งผลให้ยิวแตกเป็นสองฝ่าย คือพวกที่สนใจเรื่องศาสนา (ยิวยุคเก่า) และพวกที่สนใจเรื่องทางโลก (ยิวยุคใหม่ที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยยิว)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากความรังเกียจยิวในใจชาวยุโรปยังไม่หมดไปอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาเกลียดยิวจนฝังรากลึกกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว จึงยังคงมีการเหยียดผิวอยู่เสมอ แม้ยิวจะละทิ้งประเพณี เปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์แล้วก็ยังถูกเหยียดอยู่
ต่อมามีชายคนหนึ่งชื่อว่า ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ เป็นชาวยิวในออสเตรีย-ฮังการี วัยหนุ่มนั้นเขาพยายามกลมกลืนกับชาวฝรั่งอื่นๆ โดยเข้าร่วมขบวนการชาตินิยม แต่ในที่สุดก็ถอนตัวออกมา เพราะขบวนการนั้นรังเกียจยิว
ครั้งหนึ่งเฮิร์ซล์มีโอกาสเดินทางไปทำข่าวที่ฝรั่งเศส ซึ่งเกิดคดีทหารฝรั่งเศสเชื้อสายยิวที่ต้องโทษถูกพิพากษาอย่างไม่เป็นธรรม
บัดนั้นเขาเห็นม็อบฝรั่งเศสเดินไปตามท้องถนนและตะโกนว่า “ฆ่ายิวให้หมด” ทำให้เขาเรียนรู้ว่าแม้ในประเทศที่ริเริ่มการปลดปล่อยยิวอย่างฝรั่งเศส ก็ยังมีการเหยียดผิวอย่างรุนแรง
เฮิร์ซล์คิดว่าปัญหาของชาวยิวคือเป็น “ชาติ” ที่ไม่มีประเทศ และในการที่พยายามรักษาประเพณี อัตลักษณ์ต่างๆ ของตนกลับทำให้ถูกมองอย่างหวาดระแวง ส่งผลให้ต้องถูกกดขี่ และต้องอพยพหนีร่ำไป
...ดังนี้เฮิร์ซล์จึงเห็นว่า ทางเดียวที่จะแก้ปัญหายิวได้ คือการ “ให้ยิวมีประเทศของตนเอง!”
...ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้คือรากฐานของอุดมการณ์ไซออนนิสต์…
ภาพแนบ: ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์
เมื่อเฮิร์ซล์เผยแพร่แนวคิดนี้ เขากลับถูกต่อต้านทั้งจากยิวหัวก้าวหน้าที่ต้องการผสมกลมกลืนกับสังคมที่ตนอยู่ และยิวเคร่งศาสนาที่เชื่อว่าการกลับอิสราเอลเป็นการฝ่าฝืนพระเจ้า (พวกหลังนี้เชื่อว่ายิวจะกลับ อิสราเอลได้ด้วยการชักนำจากพระเมสสิยาห์เท่านั้น)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการมีประเทศของตนเองนับเป็นความฝันของชาวยิวมาตลอด เฮิร์ซล์จึงได้รับการสนับสนุนจากยิวอื่นๆ และฝรั่งอีกมากมาย ผู้สนับสนุนเฮิร์ซล์หลายคนเป็นผู้มีอำนาจและนายทุนใหญ่ เขาจึงมีกำลังขึ้น
ตอนแรกนักหนังสือพิมพ์ผู้นี้เพียงต้องการก่อตั้งรัฐยิว โดยยังไม่ปลงใจว่าตั้งบนแผ่นดินไหน เขาเคยเล็งแถวๆ อาร์เจนตินาไว้ แต่ก็ชอบตัวเลือกปาเลสไตน์เพราะมีความผูกพันทางประวัติศาสตร์ ทั้งตัวเลือกนี้ยังใช้โฆษณาเรียกผู้สนับสนุนได้ดี เพราะยิวแทบทุกคนย่อมถูกสอนต่อๆ กันมาว่าวันหนึ่งจะได้กลับแผ่นดินแห่งพันธสัญญา
ภาพแนบ: แผนที่ปาเลสไตน์ในอดีต
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ เฮิร์ซล์จึงร่วมมือกับผู้ร่วมอุดมการณ์จัดตั้ง องค์กรไซออนนิสต์ (Zionist Organization หรือ ZO) จัดประชุมใหญ่ ครั้งแรกที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1897 และประกาศว่า “ไซออนนิสต์มีจุดประสงค์ในการแสวงหาบ้านให้กับชาวยิวในปาเลสไตน์ ภายใต้กฎหมายมหาชน”
จากนั้นไซออนนิสต์ก็ค่อยๆ จัดการส่งผู้อพยพแทรกซึมเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญาหลายระลอก
ประชากรส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ต้นศตวรรษที่ 20 นั้นเป็นชาวอาหรับซึ่งอยู่ใต้การปกครองของชาวเติร์กที่มีศูนย์กลางในตุรกี ก่อนเกิดขบวนการไซออนนิสต์ก็มีประชากรยิวอาศัยในปาเลสไตน์อยู่แล้วเล็กน้อย พวกเขาอยู่ร่วมกับชาวอาหรับอย่างสงบสุขมาตลอด
1
ภาพแนบ: การประชุมครั้งแรกของไซออนนิสต์
ชาวยิวพยายามซื้อที่ดินจากชาวอาหรับ ซื้อแม้กระทั่งทะเลทรายที่รกร้างเพื่อตั้งชุมชน เพิ่มพื้นที่ให้ตนเอง ชาวอาหรับในปาเลสไตน์มิใช่ว่าไม่ระแคะระคายเรื่องการรุกคืบของพวกยิว พวกเขาพยายามประท้วงการกว้านซื้อที่ดินต่อรัฐบาลเติร์กตั้งแต่แรกๆ ทำให้ยิวต้องประสบปัญหาบ้าง แต่ยังสามารถซึมต่อไป เพราะพวกไซออนนิสต์ดำเนินนโยบาย “เอาใจเติร์ก” เพื่อให้ทุกอย่างง่าย
รัฐบาลเติร์กเองก็ไม่สนใจปัญหาเหล่านี้นัก โดยช่วงนั้นเป็นจังหวะที่ตุรกีกำลังวุ่นวาย เกิดการปฏิวัติหลายครั้งหาความสงบมิได้
1
เมื่อเปรียบกับชาวพื้นเมืองปาเลสไตน์ซึ่งส่วนใหญ่ยากจนด้อยการศึกษา พวกยิวนั้นมีศักยภาพทางเศรษฐกิจเหนือกว่าอย่างเทียบไม่ได้ นับวันแต่จะรุกคืบยึดครองปาเลสไตน์ได้มากขึ้น
แม้เห็นยิวมีกำลังเพียงนี้ มีจุดประสงค์ชัดเจนเช่นนี้ แต่ชาวอาหรับพื้นเมืองหลายคนก็ยังยอมขายที่ดินที่คิดว่าไร้ประโยชน์ให้ยิวต่อไปเพราะต้องการเงิน หลายคนยังบอกตัวเองว่า “คงไม่เป็นไรหรอก อย่างไรรัฐบาล เติร์กคงไม่ปล่อยให้พวกไซออนนิสต์มาแบ่งประเทศแน่”
...แต่มันก็มิได้เป็นเช่นนั้น
ภาพแนบ: ชาวอาหรับในปาเลสไตน์
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น ในปี 1914 บัดนั้นมหาอำนาจของโลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายชิงความเป็นใหญ่กัน โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียรวมกันเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนตุรกีได้เข้าร่วมกับเยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการี ตั้งตัวเป็นฝ่ายมหาอำนาจกลาง ตอนนั้นพวกไซออนนิสต์เองก็แตกเป็นฝักฝ่ายเข้าข้างประเทศที่ตนอาศัย
เพื่อประโยชน์สูงสุดพวกไซออนนิสต์ส่งคนไปเจรจากับคู่สงครามทั้งสองฝ่าย สัญญาว่าประชาชาติยิวอันร่ำรวยจะให้ความช่วยเหลือใครก็ตามที่ช่วยสร้างประเทศของยิวขึ้นมาในปาเลสไตน์
ภาพแนบ: ทหารชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 1
ต่อมาอังกฤษได้ออกประกาศฉบับหนึ่ง เรียกว่า “ประกาศบัลเฟอร์” ซึ่งออกโดยอาเธอร์ เจมส์ บัลเฟอร์ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศในเวลานั้น มีใจความว่า:
“รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เห็นชอบกับการสร้างถิ่นอาศัยของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ และจะช่วยเหลืออย่างถึงที่สุดให้การนี้สำเร็จลุล่วง ทั้งนี้โดยไม่กระทบต่อสิทธิทั้งทางโลกและทางศาสนาของชุมชนที่มิใช่ยิว ทั้งยังต้องไม่กระทบต่อสิทธิหรือสถานะใดๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศด้วย”
...ประกาศนี้มีเพื่อซื้อใจพวกไซออนนิสต์ และในท้ายสุด เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ...ยิวก็เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร…
ภาพแนบ: บัลฟอร์
ตัดเข้าสู่ช่วงโฆษณา ท่านที่สนใจงานเขียนของผมแบบเจาะลึกขึ้น สามารถสมัครเข้ากลุ่มสมาคมลับ illumicorgi
กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ เนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
สมาชิกจะมีสามระดับได้แก่ Corgi Mason, Corgi Master และ Illuminated Corgi ซึ่งแต่ละระดับจะมีค่าสมาชิก และสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป
>> สมาชิกประเภทที่ 1 “Corgi Mason" (คอร์กี้เมสัน)
คุณคือ “นายช่าง” ที่ช่วยเหลือในการรังสรรค์ The Wild Chronicles เป็นผู้ที่สร้างให้เกิดผลงานต่างๆ และเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนกลุ่มนั่นเอง
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ได้เข้าถึงเนื้อหากลุ่ม illumicorgi ที่มีบทความย่อยลงอยู่เสมอ และบทความใหญ่ลงอย่างน้อยอาทิตย์ละตอน
• ส่วนลดในสินค้าของกลุ่ม The Wild Chronicles ที่จะวางจำหน่ายต่อไป
• Priority ในการรับข่าวสารและกิจกรรมของ The Wild Chronicles
ค่าสมาชิก:
1 เดือน: 50 บาท
3 เดือน: 150 บาท
6 เดือน: 280 บาท
1 ปี: 550 บาท
>> สมาชิกประเภทที่ 2 “Corgi Master" (คอร์กี้มาสเตอร์)
คุณคือ “อัศวิน” ที่คุ้มครองและนำพา The Wild Chronicles ไปสู่จุดมุ่งหมาย เป็นบุคคลสำคัญที่จะขาดมิได้ในการส่งแสงสว่างนำทางพลพรรคของเรา
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ทั้งหมดที่ Corgi Mason ได้ และ:
• ทุกๆ รอบหกเดือนจะได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ส่งให้ถึงบ้านพร้อมลายเซ็นของผม (รอบของปีนี้จะอยู่ที่ช่วงกลางปี และปลายปี โดยได้รับหนังสือความแค้นของเคิร์ดสองเล่มดังที่กล่าวไป หรือจะเปลี่ยนเอาหนังสือเล่มอื่นที่ยังมีใน stock หรือพิมพ์ใหม่ก็ได้นะครับ)
ค่าสมาชิก:
6 เดือน: 600 บาท
1 ปี: 1,100 บาท
สมาชิกประเภทที่ 3 “Illuminated Corgi" (อิลลูมิเนตคอกิ)
คุณคือหนึ่งใน “เจ้าผู้ครองนคร” แห่ง The Wild Chronicles เป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดซึ่งคอยดูแลกลุ่มของเราอยู่
สิทธิประโยชน์ที่ได้:
• ทั้งหมดที่ Corgi Master ได้ และ:
• ได้รับของที่ระลึกที่ได้จากการไปผจญภัยในสถานที่จริงที่นำมาเขียนหนังสือ เช่นโปสการ์ดจากครอบครัวของประภาการัน ผู้นำกบฏพยัคฆ์ทมิฬ, แบงค์รุ่นซัดดัมที่พบในเคอร์ดิสถานอิรัก, หรือทรายและเศษเหล็กจากหาด No Fire Zone
• มีชื่ออยู่ในหนังสือเล่มหนึ่ง ในฐานะผู้สนับสนุน
ค่าสมาชิก:
1 ปี: 3,000 บาท
...ยินดีต้อนรับสู่สมาคมลับของเรานะครับ...
สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนปาเลสไตน์ได้ตกอยู่ในอาณัติของอังกฤษ ซึ่งได้มีการตกลงกับสันนิบาตชาติ (เทียบเคียงได้กับสหประชาชาติในปัจจุบัน) ว่าจะให้สิทธิอังกฤษปกครองดินแดนดังกล่าว จนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะสร้างประเทศของตัวเองได้
หลังสงครามอังกฤษก็ทำตามสัญญาในประกาศบัลเฟอร์จริงๆ โดยตั้งยิวไซออนนิสต์คนหนึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ปกครองแดนปาเลสไตน์
การกระทำดังกล่าวเป็นการผิดรีตผิดรอย คนอาหรับต่างร้องเรียน ด้วยความเดือดดาลว่าเหตุใดอังกฤษถึงไม่ตั้งชาวอาหรับเป็นข้าหลวง เพราะตอนนั้นปาเลสไตน์มีชาวอาหรับอยู่ถึง 80%? อังกฤษรักยิวมากกว่าอาหรับใช่ไหม?
ครับ... อังกฤษมิได้รักใครมากกว่าใครหรอก แต่นี่คือนโยบาย “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ให้ชนเผ่าต่างๆ ในปกครองทะเลาะเบาะแว้ง เกลียดชังกันเอง ทำให้ไม่มีเวลามาคิดเรื่องการปลดแอกจากอังกฤษ ชาวอาหรับไม่ได้ปกครองตนเองแล้ว ยังประสบความลำบากจากการขูดรีดภาษีอย่างหนัก เพื่อชดเชยความเสียหายจากสงครามโลก
1
ภาพแนบ: เฮอร์เบิร์ต ซามูเอล ข้าหลวงชาวยิว
เมื่อประกอบกับราคาผลผลิตตกต่ำ ภัยธรรมชาติ และปริมาณสินค้านำเข้าราคาถูก ทำให้ชาวนาปาเลสไตน์ต่างเป็นหนี้สินท่วมตัว ไม่สามารถจะดูแลตนเองได้ ในที่สุดต้องยอมขายที่ดินทำกินให้กลุ่มทุนชาวยิวเพื่อล้างหนี้ แล้วอพยพเข้าไปตายดาบหน้าในเมืองใหญ่
ชาวนาเหล่านี้เมื่อมาอยู่เมืองก็กลายเป็นแรงงานราคาถูก ความที่รัฐบาลให้ชาวอาหรับมีค่าแรงขั้นต่ำน้อยกว่าชาวยิว ทำให้พวกเขาลำบากยากจน ปรากฏชุมชนแออัดขึ้นมากมาย พวกยิวก็ฉวยโอกาสนั้นกว้านซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นได้อีกมาก ชาวอาหรับปาเลสไตน์ย่อมมีความคับแค้น พาให้เกลียดชังชาวยิวนัก อารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลให้เกิดแนวคิด “ชาตินิยมปาเลสไตน์” ขึ้น ต่อต้านแนวคิดไซออนนิสต์และการปกครองของอังกฤษ
ภาพแนบ: การเดินขบวนของกลุ่มชาตินิยมปาเลสไตน์
คนอาหรับปาเลสไตน์ต้องทนเห็นบ้านเมืองตนเองถูกยึดไปเรื่อยๆ ไม่สามารถพึ่งพารัฐบาล และยิ่งพึ่งพาชาวอาหรับจากที่อื่นๆ ไม่ได้ (เพราะตอนนั้นอาหรับกำลังแบ่งเป็นหลายฝ่าย เข่นฆ่าแย่งอำนาจกันเองอยู่) พวกเขาอึดอัดนัก ในที่สุดจึงนำสู่การก่อการจลาจลต่อต้านยิวหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีคนตายไปคราวละมากๆ
อังกฤษมิได้ลงมือยับยั้งการจลาจลนี้เท่าที่ควร เพราะตามนโยบายแล้ว ยิ่งอาหรับเกลียดกับยิวก็ยิ่งปกครองง่าย
...ในลักษณะนี้ความสัมพันธ์อาหรับยิวก็ขาดสะบั้นลง ถูกแทนที่ด้วยความเคียดแค้นชิงชัง ถึงขั้นต้องล้างเผ่าพันธุ์กันให้หมด…
ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวในยุโรปถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มียิวจำนวนมากหลบหนีมาปาเลสไตน์ เมื่อพบกับบรรยากาศการสู้กันระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับในดินแดนดังกล่าว ทำให้ชาวยิวสายกลางจำนวนมากถูกดูดกลืนไปอยู่กับแนวทางไซออนนิสต์ และทำให้ไซออนนิสต์กลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของสังคม
ภาพแนบ: ชาวยิวที่อพยพมาปาเลสไตน์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งองค์กรนานาชาติที่สำคัญขึ้นมาคือ “สหประชาชาติ” ตั้งโดยกลุ่มประเทศผู้ชนะสงครามโลก มีเจตนาให้เป็นองค์กรที่ชาติทั้งหลายมาประชุมกัน เพื่อออกประชามติ ตัดสินเรื่องราวต่างๆ ในโลก
ช่วงเดียวกันนี้ อังกฤษเห็นยิวกับอาหรับในปาเลสไตน์รบพุ่งกันหนัก ไม่อาจควบคุมได้ ก็ค่อยๆ ถอนตัวออกจากภูมิภาค ให้สหประชาชาติเข้ามาจัดการแทน สหประชาชาติจึงตั้งกรรมการแบ่งแยกปาเลสไตน์ออกเป็นส่วนอาหรับและส่วนยิว เพื่อยุติปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง
ฝ่ายอาหรับต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนนี้ โดยคิดว่าผู้อพยพใหม่อย่างพวกยิวไม่ควรมีสิทธิใดๆ ในปาเลสไตน์แม้แต่นิดเดียว ส่วนฝ่ายยิวสนับสนุนการกระทำของสหประชาชาติ เพราะมันคือการทำให้เกิด “รัฐยิว” ขึ้นจากที่ไม่มีมาก่อน
คณะกรรมการสหประชาชาติที่มาเยือนปาเลสไตน์เพื่อตรวจสอบข้อมูลในการแบ่งแผ่นดิน ต้องพบกับการกดดันจากทั้งสองฝ่าย ต่างกันที่พวกอาหรับพยายามขับไล่พวกเขาไม่ให้ตรวจสอบได้ ขณะที่ฝ่ายไซออนนิสต์ให้การต้อนรับคณะกรรมการอย่างอบอุ่น ให้ความร่วมมือเรื่องข้อมูลอย่างดี ทั้งยังติดสินบนชาวอาหรับบางคนที่มีปัญหากับกลุ่มอำนาจหลักให้มาให้การเข้าข้างยิว
...พูดง่ายๆ อาหรับมุ่งแต่ล้มเลิกแผน ส่วนยิวมุ่งสนับสนุนแผนให้ เป็นไปในทางที่ได้ประโยชน์กับตนที่สุด
...บทสรุปคือคณะกรรมการของสหประชาชาติแบ่งดินแดนออกมา ให้ยิวเป็นฝ่ายได้เปรียบคือยิวจะได้แผ่นดิน 54% ของทั้งหมด ส่วนอาหรับได้เพียง 46% และในดินแดนส่วนของยิว นั้นมีชาวอาหรับอาศัยอยู่เกือบครึ่ง ขณะที่ดินแดนของอาหรับมีชาวยิวอาศัยอยู่เพียง 1%
ภาพแนบ: แผนที่การแบ่งเขตปาเลสไตน์ระหว่างชาวยิวและอาหรับ
เมื่อมาถึงการโหวตจากนานาชาติว่าจะยอมรับการแบ่งนี้หรือไม่ ดูผิวเผินฝ่ายอาหรับมีสันนิบาตอาหรับจับกลุ่มกันหนุนหลังน่าจะมีพลังมาก ...แต่เราอย่าลืมว่าอิทธิพลของไซออนนิสต์นั้นแผ่ขยายไปถึงมหาอำนาจ อันดับ 1 ของโลกในเวลาดังกล่าวด้วย
...กล่าวคือพวกยิวร่ำรวยในอเมริกาขู่ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมนว่า จะตัดการช่วยเหลือพรรคของเขาหากไม่โหวตยอมรับแผนการนี้ และเมื่อทรูแมนยอมตาม ก็มีการป่าวประกาศการตัดสินใจดังกล่าวไปยังประเทศบริวารของอเมริกาจนพากันคล้อยตามหมด
นอกจากนั้นไซออนนิสต์ยังทุ่มเททรัพยากรทุกประการ ทำการติดสินบนและข่มขู่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างหนัก เพื่อให้ได้ผลโหวตเข้าข้าง ขณะเดียวกันฝ่ายอาหรับก็พยายามล็อบบี้ด้วย แต่ทำน้อยกว่ามาก ส่วนใหญ่เอาแต่ขู่ว่า “หากโหวตสนับสนุนยิวจะได้เห็นเลือดท่วมปาเลสไตน์!”
...ซึ่งเอาจริงๆ รัฐบาลชาติต่างๆ ก็ไม่ได้แคร์ว่าเลือดจะท่วม ปาเลสไตน์หรือเปล่า มากกว่าผลประโยชน์ที่ยิวยื่นให้…
1
ภาพแนบ: แฮร์รี ทรูแมน
วันที่ 29 พฤศจิกายน 1947 การประชุมสหประชาชาติเกี่ยวกับ กรณีปาเลสไตน์ ได้ผลออกมาว่า มีเสียงโหวตสนับสนุนแผนแบ่ง ดินแดน 33 เสียง โหวตค้าน 13 เสียง ไม่ออกเสียง 10 เสียง และไม่โหวต 1 เสียง (คนไม่โหวตหนึ่งเสียงนี้คือประเทศไทยเองครับ)
ชุมชนยิวทั่วโลกเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่กับการตัดสินดังกล่าว เพราะนั่นหมายถึงพวกเขาได้รับแผ่นดินแห่งพันธสัญญาซึ่งถวิลหามานับ พันปีแล้ว
1
...มันคือประเทศ…
...มันคืออิสราเอล…
...ขณะเดียวกันฝ่ายอาหรับต่างโกรธแค้นอย่างหนัก เพราะการโหวตนี้หมายถึงชาวอาหรับจำนวนสี่แสนคนจะถูกบังคับให้อยู่ใต้การปกครองยิว อาจถูกกดขี่หรือขับไล่ออกไปจากดินแดนตนเองเมื่อใดก็ได้
...และ “เลือด” ก็นองขึ้นในทันที…
ชาวอาหรับปาเลสไตน์สู้กับยิวแต่สู้ไม่ได้ พอรบแพ้ก็แตกตื่น ปรากฏคนนับแสนพากันหนีทะลักออกนอกประเทศ ขณะที่ไซออนนิสต์ฉวยโอกาสลำเลียงชาวยิวอีกนับแสนเข้ามาอยู่แทน (คนที่ไซออนนิสต์พามาส่วนใหญ่ๆ ส่วนหนึ่งมาจากประชากรยิวพลัดถิ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง อีกส่วนหนึ่ง มาจากกลุ่มชาวยิวที่เดิมอาศัยอยู่ในประเทศอาหรับแต่ถูกกดดันรังแกจนอยู่ไม่ได้)
ฝ่ายสันนิบาตอาหรับเห็นพวกอาหรับปาเลสไตน์พ่ายแพ้ จึงระดมกำลังบุกเข้าตีอิสราเอลจากทุกทิศทาง ทำให้สงครามเปลี่ยนรูปแบบจาก สงครามกลางเมือง เป็นสงครามระหว่างประเทศ
ภาพแนบ: ชาวอาหรับอพยพ
พฤษภาคม 1948 บัดนั้นชาติอาหรับได้ระดมสรรพกำลังเข้าล้มล้างเผ่ายิว มีอียิปต์บุกเข้าอิสราเอลทางทิศใต้ จอร์แดน อิรักบุกจากทางทิศตะวันออก ซีเรียและชาติอาหรับอื่นๆ บุกจากทางทิศเหนือ
ทั้งสองฝ่ายก็เปิดฉากรบกันต่ออย่างดุเดือด ปรากฏว่าทัพยิวแกร่งกว่าชิงเป็นฝ่ายรุกตี ขณะที่อาหรับตั้งรับและแตกพ่าย ยิวยึดได้เมืองสำคัญหลายเมือง ขับไล่ประชากรอาหรับหลายหมื่นคนออกจากเมืองเหล่านั้น
หลังจากนี้ การณ์ก็ดำเนินไปโดยมีการหยุดยิงอีกหลายครั้ง และมีการกลับมาสู้ใหม่อีกหลายครั้ง การสู้แต่ละครั้งอียิปต์จะเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการต่อสู้ แต่ก็มักพ่ายแพ้เสียพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถูกตีลึกเข้าถึงคาบสมุทรไซนายซึ่งเป็นแดนอียิปต์เอง นานาชาติจึงกดดันให้ยิวถอนทหาร
ปี 1949 ในที่สุดอียิปต์ก็ถูกปิดล้อมไว้ที่ฉนวนกาซา และถูกกดดัน ให้ต้องเจรจาหย่าศึก ชาติอาหรับอื่นๆ มิได้สามัคคีพร้อมเพรียงกันแต่แรก พอเห็นอียิปต์แพ้ จึงยอมสงบศึกตาม…
...สงครามจบลงด้วยการที่อิสราเอลได้รับชัยชนะ สามารถยึดครองดินแดนได้มากกว่าที่ได้รับแบ่งจากสหประชาชาติเสียอีก ส่วนดินแดนอาหรับ ปาเลสไตน์ถูกตีจนหดเหลือใกล้เคียงกับที่เป็นในปัจจุบัน
...แต่ไม่ใช่อาหรับทุกชาติที่เสียประโยชน์กับสิ่งนี้…
จอร์แดนนั้นหมายมั่นปั้นมือแต่ต้นว่าจะผนวกแดนปาเลสไตน์ส่วน ของอาหรับไว้กับประเทศตน เพราะหมายตาเมืองเยรูซาเล็มด้านตะวันออก ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางศาสนา เมื่อได้มาครองแล้วจะยอมอยู่ร่วมกับรัฐยิวก็ไม่เป็นไร
จอร์แดนจึงถือโอกาสเข้ายึดครองแดนปาเลสไตน์ด้านตะวันออก และประกาศให้ชาวอาหรับปาเลสไตน์มาถือสัญชาติจอร์แดนได้ แต่นั้นจึงเรียกดินแดนดังกล่าว ว่า “เวสต์แบงค์” เพราะอยู่ทางตะวันตกของจอร์แดน
ในลักษณะนี้แดนอาหรับปาเลสไตน์ได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วน ฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครองทางตะวันตก และส่วนเวสต์แบงค์ที่จอร์แดน ยึดครองทางตะวันออก
...นักประวัติศาสตร์เรียกสงครามอาหรับ-ยิวครั้งนี้ว่า “สงครามประกาศอิสรภาพอิสราเอล” เพราะมันทำให้อิสราเอลได้รับเอกราชอย่างเต็ม ภาคภูมิ เป็นอันยุติความฝันหลายพันปีของชาวยิวที่ต้องการมีประเทศของตนเอง…
เดวิด เบนกูเรียน ผู้นำองค์กรไซออนนิสต์ ซึ่งขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศใหม่ ได้แถลงการณ์ประกาศเอกราช มีใจความตอนหนึ่งว่า “พวกเรา สมาชิกแห่งสภาประชาชน ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งประชาคมอิสราเอลและขบวนการไซออนนิสต์ ได้รวมกันที่นี้เพื่อถอดถอนการ ยึดครองดินแดนนี้จากอังกฤษ และขอใช้สิทธิทางประวัติศาสตร์ ทางธรรมชาติ และอำนาจของสหประชาชาติ ประกาศการตั้งรัฐของยิวขึ้นใน ดินแดนแห่งนี้
...ให้มีชื่อเรียกว่า ‘ประเทศอิสราเอล’”
:: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
1
โฆษณา