21 พ.ค. 2021 เวลา 17:00 • การศึกษา
"การสอบไม่ต้องทำลงกระดาษได้ไหม?"
ก่อนอื่นผมขอให้คำตอบไว้ก่อนเลยนะครับว่า "ได้ เราไม่จำเป็นต้องทำข้อสอบลงกระดาษเสมอไป" และขอนำเสนอในแง่มุมส่วนตัวของผมโดยอ้างอิงจากประสบการณ์การสอนของตัวเองนะครับ! ヾ(•ω•`)o
Paper-based test: ทดสอบโดยใช้กระดาษ
ในการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถในหลายๆ ด้าน ผู้จัดสอบสามารถเลือกใช้วิธีการวัดประเมินลักษณะอื่นๆ ได้ เช่น การนำเสนอโครงการ การอธิบายโดยละเอียด การตอบคำถามปลายเปิดเพื่อทดสอบความเข้าใจภายใต้หัวข้อที่กำหนด เป็นต้น
เผื่อคุณผู้อ่านจะยังเห็นภาพไม่ชัดเจน ผมขอยกตัวอย่างเป็น การสอบหัวข้อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ ครูต้องการรู้ว่านักเรียนเข้าใจความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าทั้ง 2 รูปแบบหรือไม่ จึงให้โจทย์ไปว่า "หากคฤหาสน์แห่งนึงมีดวงไฟทั้งหมด 100 ดวง แล้วเกิดไฟดับไปทั้งหมด 20 ดวง เพราะเหตุใดหลอดไฟอีก 80 ดวงจึงยังสว่างอยู่ และทำไมหลอดไฟ 20 ดวงนั้นจึงดับ" (โจทย์นี้เป็นเพียงตัวอย่างข้อคำถามเท่านั้นนะครับ)
ขอแค่เพียงการสอบนั้นสามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของผู้จัดสอบได้ จะเป้นข้อสอบลักษณะใดก็ได้ครับ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
คำถามต่อมาก็คือ
"แล้วทำไมเวลาสอบแต่ละทีถึงเป็น paper & pencil (แบบทำลงกระดาษ) ตลอดเลย?"
อย่างแรกที่ผมจะนำมาพิจารณานะครับ คือ วัตถุประสงค์ของการสอบนั้นคืออะไร ถ้าการสอบนั้นต้องการวัดความสามารถที่ต้องใช้กระดาษ เช่น ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การเขียนเชิงวิชาการ ก็มีความจำเป็นต้องใช้กระดาษครับ
แต่ถ้าไม่ใช่ ก็พิจารณาต่อ ...
ระยะเวลาในการตรวจข้อสอบ เป็นข้อต่อมาที่จะนำมาพิจารณา เพราะถ้าคาดคะเนจากโรงเรียนทั่วไปในไทยแล้ว ครูคนนึงไม่ได้สอนนักเรียนเพียงห้องเดียวแน่ๆ และจะต้องมีงานแทรกซ้อนตามมาอีกมากมาย
ดังนั้นปัจจัยในด้านจำนวนผู้เรียนและระยะเวลาในการตรวจข้อสอบก็ถือว่าเป็นข้อที่ต้องคำนึงอย่างมากสำหรับครูเลย และด้วยเหตุนี้ ข้อสอบประเภท paper-based จึงถูกนำมาเป็นตัวเลือกต้นๆ เพราะทำง่าย ใช้กับนักเรียนจำนวนมากได้ในคราวเดียว และใช้เวลาตรวจได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะข้อคำถามประเภทหลายตัวเลือก (multiple choices) ที่มีทั้งแอพพลิเคชันช่วยตรวจทาน และเครื่องตรวจข้อสอบที่หลายๆ โรงเรียนก็มีไว้เพื่อทุ่นแรง
"แล้วข้อสอบแบบกระดาษสามารถตอบวัตถุประสงค์ผู้จัดสอบได้จริงเหรอ?"
ในทางวิชาการแล้ว ข้อสอบจะต้องได้รับการประเมินความเชื่อมั่น (Reliability) ก่อนใช้งานจริงด้วยครับ เป็นการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ 3 ท่านขึ้นไป (นิยมเป็นเลขคี่) เพื่อให้ข้อสอบนั้นสามารถวัดประเมินความรู้ความสามารถที่ต้องการจะรู้ได้อย่างแท้จริง
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ครูที่มีประสบการณ์สอนมากพอ ก็คือตั้งแต่ 5-10 ปีขึ้นไป (จำนวนปีแล้วแต่สถาบันจะกำหนด ยิ่งเยอะก็ยิ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญครับ) ก็สามารถออกข้อสอบเองได้เลยโดยไม่ต้องผ่าน Reliability เพราะกว่าจะผ่านขั้นตอนการประเมินนั้น "เสียเวลามากๆ ครับ" ซึ่งมากที่ว่าเนี่ย มากจริงๆ นะ สามารถนานเป็นหน่วยเดือนได้เลยกว่าจะได้ข้อสอบ 1 ฉบับ ด้วยเหตุนี้บางครั้งก็สามารถเกิด Human errors ได้นั่นเอง
Line Sticker: Round Face Girl in Pastel
โฆษณา