20 พ.ค. 2021 เวลา 09:34 • ข่าว
ตารางการฉีดวัคซีนโควิดของประเทศไทยให้ครบ 100 ล้านเข็ม ภายในสิ้นปี 2564
6
จากสถานการณ์โควิดระบาดทั่วโลกอย่างกว้างขวางและรุนแรง ส่งผลกระทบกับมนุษยชาติทุกประเทศ ไม่แตกต่างกันเลยนั้น
เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปีเศษ ก็เหลือความหวังที่สำคัญคือ การฉีดวัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่(Herd Immunity) อย่างน้อย 60-70% ของประชากรโลก
1
จึงจะสามารยุติหรือยับยั้งการระบาดขนาดใหญ่ได้ (แต่จะยังมีการระบาดประปรายเป็นโรคประจำถิ่นเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ต่อไป)
2
ประเทศไทยก็อยู่ในบริบทเดียวกัน ยิ่งเมื่อเกิดการระบาดระลอกที่สาม ที่มีความกว้างขวางรุนแรงด้วยแล้ว วัคซีนก็จะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
1
ในวันนี้ (20 พฤษภาคม 2564) มีผู้ติดเชื้อสะสมระลอกสามแล้ว 90,722 คน และเสียชีวิตในระลอกที่สาม 609 คน
1
การฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จึงเป็นมาตรการที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุดในขณะนี้
ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่างๆเกี่ยวกับวัคซีนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับข้อมูลวิชาการของวัคซีน การขึ้นของระดับภูมิคุ้มกัน การทิ้งระยะเวลาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสอง
มาประกอบการวิเคราะห์ เพื่อจัดทำตารางดังกล่าว
เพื่อให้เห็นแนวทางความเป็นไปได้ ของความสำเร็จในการฉีดวัคซีน 100 ล้านเข็ม สำหรับประชากร 50 ล้านคน (70% ของประชากรทั้งประเทศ) จนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในปี 2564 ดังนี้
1
ข้อมูลเบื้องต้น
1) วัคซีน Sinovac ฉีดสองเข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ จึงจะป้องกันโรคได้ หลังจากฉีดเข็มที่สองไปแล้ว 2 สัปดาห์
4
2) วัคซีน AstraZeneca ฉีดเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ จะมีภูมิคุ้มกันขึ้นเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ สามารถไปฉีดกระตุ้นเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 12-16 สัปดาห์ (3-4 เดือน) และพบว่าการฉีดกระตุ้นเข็มสองที่ห่างออกไป จะได้ภูมิคุ้มกัน สูงกว่าการฉีดกระตุ้นเข็มสองที่ 4 สัปดาห์
9
3) ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีน Sinovac 4 ล้านเข็ม และสิ้นเดือนนี้จะมาอีก 2 ล้านเข็ม รวมเป็น 6 ล้านเข็ม
 
4) วัคซีน AstraZeneca ที่บริษัทสยามไบโอซายน์ผลิตได้ 61 ล้านเข็ม จะทยอยส่งมอบเดือนมิถุนายน 6 ล้านเข็ม กรกฎาคมถึงพฤศจิกายนเดือนละ 10 ล้านเข็ม และธันวาคม 5 ล้านเข็ม
 
5) จะมีวัคซีนเสริมเข้ามาปลายปีในช่วงไตรมาสสี่ ประกอบด้วยบริษัท Pfizer ,Johnson & Johnson, Sputnik V, Moderna และจะมี Sinovac ปิดท้ายในเดือนธันวาคม 2564 รวมแล้ว 35 ล้านเข็ม
 
6) ศักยภาพของระบบสาธารณสุขไทยที่จะฉีดวัคซีนได้ เฉลี่ยทุกโรงพยาบาลฉีดได้วันละ 500 เข็ม มีโรงพยาบาลของรัฐ 1000 โรง จะฉีดได้วันละ 5 แสนเข็มเป็นขั้นต่ำ สามารถระดมกำลังการฉีดเพิ่ม หรือภาคเอกชนมาร่วมฉีด ก็จะได้มากยิ่งขึ้น
 
จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ลองมาดูตารางประกอบการฉีดวัคซีน 100 ล้านเข็มดังนี้
9
พฤษภาคม 2564 วัคซีน Sinovac 6 ล้านเข็ม จะฉีดให้กับประชาชนได้ 3 ล้านคน เพราะทุกคนต้องฉีดสองเข็มจึงจะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้
มิถุนายน 2564 วัคซีน AstraZeneca 6 ล้านเข็ม ฉีดให้กับประชาชนได้ 6 ล้านคน ไม่ใช่ฉีดได้ 3 ล้านคน เพราะการฉีดกระตุ้นเข็มสองจะไปฉีดในอีก 3-4 เดือนถัดมา วัคซีนทั้ง 6 ล้านเข็ม จึงกระจายไปฉีดได้ทั้ง 6 ล้านคน
 
กรกฎาคมและสิงหาคม 2564 มีวัคซีน AstraZeneca ส่งมอบเดือนละ 10 ล้านเข็ม ก็จะฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน
 
กันยายน 2564 วัคซีน AstraZeneca 10 ล้านเข็ม จะฉีดคนใหม่เข็มหนึ่งได้ 4 ล้านคน ส่วนอีก 6 ล้านเข็มต้องไปฉีดกระตุ้นเข็มสองให้กับผู้ที่ฉีดวัคซีน 6 ล้านคนในเดือนมิถุนายน
 
ตุลาคมและพฤศจิกายน 2564 วัคซีนจำนวน 10 ล้านเข็ม จะเป็นการฉีดกระตุ้นเข็มสองให้กับผู้ที่ฉีดในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม
 
ธันวาคม 2564 วัคซีน AstraZeneca จำนวน 5 ล้านเข็ม
 
โดยจะมีวัคซีนเสริมที่ไม่ใช่ Sinovac และ AstraZeneca เข้ามาในไตรมาส 3-4 คือในเดือนกันยายนถึงธันวาคม และจะมีวัคซีนของบริษัท Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียวเข้ามาด้วย
 
จึงทำให้สามารถสรุปได้ดังนี้
 
1) สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 จะสามารถฉีดวัคซีนเข็มหนึ่งได้ถึง 19 ล้านคน คิดเป็น 27% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่สำคัญมาก
9
เพราะมีการศึกษาพบว่า ถ้าประชากรฉีดวัคซีนเข็มหนึ่งมากกว่า 25% จะสามารถชะลอการติดเชื้อรายใหม่ได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
ส่วนการยุติการระบาดใหญ่นั้น จะต้องฉีดวัคซีนให้ได้ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
 
2) สิ้นเดือนกันยายน 2564 ตามแผนนี้ จะฉีดวัคซีนได้กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศคือ 54%
 
3) สิ้นธันวาคม 2564 จะฉีดวัคซีนได้ทั้งสิ้น 100 ล้านเข็มหรือ 50 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ
 
โดยที่ศักยภาพในการฉีดนั้น จะเริ่มต้นที่
มิถุนายนวันละ 2 แสนเข็ม หรือ 6 ล้านคนต่อเดือน
 
เดือนกรกฎาคมเป็นวันละ 3.3 แสนเข็ม หรือ 10 ล้านเข็มต่อเดือน
 
และขยับขึ้นสูงสุดในเดือนกันยายนเป็นต้นไป วันละ 6.6 แสนเข็ม หรือเดือนละ 20 ล้านเข็ม
3
บทวิเคราะห์นี้ ประมาณการมาจากข้อมูลการแถลงจากท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข
 
ความแม่นยำอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง
 
ทั้งนี้มีตัวแปรที่สำคัญ ประกอบด้วย
1)การผลิตวัคซีนของบริษัทสยามไบโอซายน์ จะต้องส่งวัคซีนตามกำหนดเวลา
2) บริษัทวัคซีนนำเข้าอีกห้าบริษัทที่เสริมนั้น เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ในเบื้องต้น
3) มีประชาชนสนใจที่จะฉีดวัคซีนได้ถึง 70% ของจำนวนประชากร
4
ทุกคนจึงควรร่วมแรงร่วมใจ ศึกษาหาข้อมูล ตลอดจนทำความเข้าใจเรื่องวัคซีน ทั้งประสิทธิผล ผลข้างเคียง และประโยชน์ที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่
อันจะส่งผลดีกับประเทศชาติในอนาคต
แล้วร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน รับวัคซีนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมต่อไป
1
โฆษณา