20 พ.ค. 2021 เวลา 11:13 • ศิลปะ & ออกแบบ
ความสวยงามกับตัวเลขในงานบอนไซ
ภาพตัวอย่างของ Golden Ratio ในธรรมชาติ
สัดส่วนทองคำ (GOLDEN RATIO) กับงานออกแบบ
เพราะในวงการออกแบบ ไม่มีใครไม่รู้จัก Golden Ratio หรือสัดส่วนทองคำ รวมไปถึงทั้งวงการศิลปะแขนงต่างๆ การถ่ายภาพ การวาดรูป หรืองานสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกับสัดส่วนทองคำกันทั้งสิ้น
งานบอนไซก็เช่นกัน.
สัดส่วนทองคำนี้ไปวางบนรูปบอนไซ
Golden Ratio คือ อะไร ?
Golden Ratio หรือสัดส่วนทองคำนั้นมาจากทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่คำนวณหาสัดส่วนที่งามที่สุดในโลก เป็นสูตรคำนวณที่คิดค้นโดย ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ที่ได้พยายามใช้ตัวเลขมาอธิบายความงามของธรรมชาติ
สำหรับหลักการของสัดส่วนทองคำ (golden section) คือส่วนของเส้นที่ถูกแบ่งตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิด “อัตราส่วนทอง (golden ratio)” : อัตราส่วนของความยาวรวม a + b ต่อความยาวส่วนที่ยาว a มีค่าเท่ากับความยาวส่วนที่ยาว a ต่อความยาวของส่วนที่สั้น b. และสัดส่วนที่ดีที่สุดนั่นก็คือ 1 : 1.618
จากภาพตัวอย่าง ผมลองเอาสัดส่วนทองคำนี้ไปวางบนรูปบอนไซ
รูปสวยๆเหล่านี้กับมีขนาดที่ใกล้เคียงกับสัดส่วนนี้อย่างไม่น่าเชื่อ หรือจะบอกว่าสัดส่วนทองคำนี้แหละทำให้บอนไซน่ามอง.
ตัวอย่างบอนไซ Hiryu, Flying Dragon ที่วางเส้นสัดส่วนทองคำ
งานบอนไซ ล้วนมีสัดส่วนนี้ในการกำหนดขนาดของพุ่ม และทิศทาง
ลองมาวิเคาระห์ผลงานมังกรบิน (Hiryu, Fly Dragon) ที่ได้ชื่อเสียงว่าเป็นบอนไซของพระเจ้า *รายละเอียดจะลงตอนต่อไป
ในภาพรวมของต้นไม้ เส้นสีน้ำเงินในรูปข้างบน ถ้าไล่สายตาจากขอบกระถาง ไปโคนต้น และปลายยอด จะเห็นว่าคือสัดส่วนทองคำ เกือบจะพอดีเลย มี Shari หรือซากบริเวณต้น ดูเด่นและแปลกตา โดนถูกบังจากใบบางส่วนเพื่อให้มีเสน่ห์ มีซากชี้ลงล่างบริเวณส่วนปลาย ส่วนองศาการปลูกที่ผู้ปลูกจงใจให้ได้ขนาดตามสัดส่วนแบบพอดี
มาผสมกับใบที่ละเอียดของชิปากุสายพันธุ์นี้ทำให้ต้นดูเด่นขึ้นมาอีกเท่าตัว.
ตัวอย่างบอนไซ Hiryu, Flying Dragon ที่วางวงกลมโดยมีขนาดลดลงตามสัดส่วนทองคำ
โดยปกติสายตาคนเราจะมองที่ฐานแล้วไล่ไปยอด ผู้ปลูกยังใช้เทคนิคการโน้มโคนมาข้างหน้าเพื่อให้เกิดความลึก ใหญ่ อบอุ่น อีกด้วย
การกำหนดกิ่งขวาและซ้ายล้วนจงใจให้กิ่งหนักไปทางซ้ายและสร้างพุ่มสีเขียว
ลองมาดูในรายละเอียด วงกลมแต่ละวงจะมีขนาด 1 ต่อ 1.618 หรือสัดส่วนทองคำ ผู้สร้างยังหากระถางที่มีขนาดพอดีกับลำต้นไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ความสูงของกระถางล้วนพอดิบพอดีกับสัดส่วนนี้ ตามวงกลมในรูป
การวางกิ่งหลัก มีความจงใจให้ขนาดสัดส่วนมีความพอดีกับสัดส่วนทองคำ ดูจากรูปทางขวามือที่มีการไล่ขนาดกิ่งจากใหญ่ไปเล็กลดลงทุกๆ 1.618
ส่วนกลางต้นมีการโชว์ซากสีขาว มีบังเอิญตรงกับจนสดของกิ่งทางขนาดแบบพอดี
ความสูงของพุ่ม กับขนาดความสูงกระถางถึงโคน ยังเท่ากันแบบไม่น่าเชื่อ
พุ่มด้านซ้ายมือ 1 ส่วน ขนาดความสูงกระถางถึงโคน 1.618 ส่วน มีความพอดีแบบไม่น่าเชื่อ
เป็นงานที่สมบูรณ์มากอีกชิ้นหนึ่ง.
ต้นเชอรี่แคระ ที่ทดลองดัดตามสัดส่วนทองคำ
ลองกลับมาพิจารณาไม้ของผมที่เพิ่มดัดและเปลี่ยนกระถางมา เลยลองดัดและตัดทดให้เป็นไปตามสัดส่วนทองคำนี้ โดยให้ยอดยื่นมาข้างหน้า รอสร้างพุ่มเล็กๆไม่ให้เกินเส้นสีแดงจงใจบิดงอกิ่งหลักเพื่อให้เกิดมิติ
ถ้าไล่จากโคนจะมีความบิดที่ตรงกลางพอดี เลยเลือกกดกิ่งให้ต่ำที่สุดจนเกือบติดโคน
ส่วนยอดก็บิดให้ชูขึ้นเพื่อบอกว่านี้คือยอด และเคลียร์กิ่งหน้าที่อยู่บนลำต้นทั้งหมดเพื่อโชว์โครงสร้างให้เด่น
ผมเพิ่งลองเอาสัดส่วนนี้มาใช้ คงต้องศึกษา บันทึก และประยุกต์ใช้อีกสักพักใหญ่ๆ คงได้มาเขียนบนความอีกสักรอบหนึ่ง
ขอบคุณครับ
ผู้เขียน PALIT #195511house
โฆษณา