Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นานาสาระ by Dr. TC
•
ติดตาม
21 พ.ค. 2021 เวลา 08:14 • การเกษตร
มารู้จักโรคลัมปี สกิน’ (Lumpy Skin Disease) โรคติดต่ออุบัติใหม่ในโค-กระบือ คืออะไร? ป้องกันอย่างไร?
3
เมื่อพูดถึงชื่อโรคลัมปี สกิน’ (Lumpy Skin Disease) ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จัก เพราะเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ เกิดขึ้นและระบาดในปศุสัตว์ โดยเฉพาะโค-กระบือ โดยมีแมลงเป็นพาหะ ไม่ติดต่อสู่คน
2
และล่าสุด เมื่อวานนี้ (20 พฤษภาคม 2564) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์รายงานว่า โรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ กำลังระบาดหนักใน 20 จังหวัดทางภาคอีสาน เช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครพนม มหาสารคาม ขอนแก่น มุกดาหาร บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และเชียงราย และก่อความเสียหายอย่างหนักแก่เกษตรกรและการปศุสัตว์
เนื่องจาก เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564 กรมปศุสัตว์ ได้ตรวจพบโรคดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์ได้รับรายงานพบโคเนื้อแสดงอาการสงสัยโรคลัมปี สกิน เป็นโคที่เกษตรกรรายย่อยที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 ราย จากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จำนวน 5,000 ราย โดยเกษตรกรแต่ละรายพบโคป่วย 1-2 ตัว จึงเก็บตัวอย่างเลือด และสะเก็ดตุ่มบนผิวหนังของโคที่ติดเชื้อ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
1
ซึ่งต่อมาพบว่า เกิดจากเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน ซึ่งเกิดจากการนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงใหม่ในพื้น โดยเป็นโคเนื้อที่อาจมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
2
เรามารู้จัก‘โรคลัมปี สกิน’ โรคติดต่ออุบัติใหม่นี้กันเลยค่ะ
1
เครดิตภาพ: กรมประชาสัมพันธ์
โรคลัมปี สกิน’ (Lumpy Skin Disease)
โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy Skin Virus ในสกุล Capripoxvirus แต่ไม่สามารถติดต่อสู่คนได้
อาการ
- สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย (ตามภาพ)
- พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้
- พบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการ น้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตา
- มีอาการซึม เบื่ออาหาร
- มีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูก และมีปริมาณน้ำนมลดลง
2
เครดิตภาพ: อ้างอิง 3
การติดต่อ
- ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน เป็นพาหะนำโรคสามารถบินไปได้ไกลกว่า 50 กม. ดังนั้นทุกพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง
- ติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล
- การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
1
วิธีการป้องกันโรค
5
- การกำจัดและป้องกันแมลงในพื้นที่
- ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง
- กักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่
- ส่วนวัคซีนป้องกันโรคจะมีการนำเข้ามาในประเทศที่มีการระบาดของโรคแล้ว
การรักษา
โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ
1
การระบาด
โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดในเอเชียตั้งแต่ปี 2562 ในจีนแผ่นดินใหญ่ บังกลาเทศ และอินเดีย
หลังจากนั้น ในปี 2563 พบการระบาดในภูฏาน เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนามและพม่า
ประเทศไทยมีการติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศและเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา มีการประกาศชะลอการนำเข้าโคกระบือจากประเทศพม่า
โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) เป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 หากพบสัตว์มีอาการต้องสงสัย ต้องเเจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค
ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้เร่งรัดจัดหาวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease Vaccine, LSDV) จาก บ. Inter vet international BV ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีโรงงานผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ รวม 60,000 โดส
1
และอยู่ในขั้นตอนการประสานงานเพื่อส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศไทย ซึ่งเราจะได้รับวัคซีน LSDV ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 หลังจากนั้น จะได้กระจายวัคซีนให้ถึงเกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่เกิดโรค และในพื้นที่เสี่ยงสูง โดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ก็ดำเนินมาตรการด้านอื่นๆ ตามที่กรมปศุสัตว์ได้เผยแพร่ให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างต่อเนื่อง และเร่งสร้างความเข้าใจ พร้อมกับขอความร่วมมือในการควบคุมป้องกันเพื่อให้โรคดังกล่าวสงบลงโดยเร็ว
1
อ้างอิง:
1.
https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210520194837182
2.
https://en.wikipedia.org/wiki/Lumpy_skin_disease
3.
https://pasusart.com/ทำความรู้จัก-โรคลัมปี-ส/
4.
https://www.posttoday.com/social/general/653446
6 บันทึก
14
7
29
6
14
7
29
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย