21 พ.ค. 2021 เวลา 09:48 • อาหาร
ความเป็นมาของขนมไทย
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมในวาระสำคัญ เช่นงานบุญ ต้อนรับแขก และงานเทศกาล บางชนิดต้องใช้เวลาทำนานจึงต้องช่วยกันทำหลายคน ขั้นตอนในการทำมาก และต้องมีความปราณีตบรรจง ชื่อขนมก็ตั้งเป็นเคล็ดเพื่อความเป็นสิริมงคล จำใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด งานแต่งงาน หรือแม้แต่พิธีตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ในปัจุบัน
ส่วนใหญ่จะนำไปเลี้ยงพระกับแขกที่มาร่วมงาน ความหมายของขนมก็มีส่วนในการเลือกเหมือนกัน เช่น ขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน
ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้น เลื่อตำแหน่ง ได้เงินเดือนเพิ่ม
ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู เพิ่มพูน มีชื่อเสียง
ขนมทองเอกก็ให้ได้เป็นเอกเป็นผู้นำ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่ามีการบันทึกวัฒนธรรมขนมไทยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกนี้ชื่อว่าแม่ครัวหัวป่าก์ จากเสน่ห์ปลายจวักของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้ซึ่งมีความเป็นเอกในวิชาการบ้านการเรือน และมีฝีมือเป็นเลิศในการทำอาหาร ท่านเป็น ศรีภรรยาหนึ่งเดียวของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
โฆษณา