23 พ.ค. 2021 เวลา 03:57 • สุขภาพ
ข้อมูลจริงในทวีปเอเชีย
ในประเทศเกาหลีใต้ ได้เพิ่มให้ การฉีดวัคซีน human papillomavirus (HPV) ในเด็กผู้หญิง เป็นหนึ่งในโปรแกรมการฉีดวัคซีนของประเทศในปี 2016 แต่ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่มาจากงานศึกษาแบบ real world data ส่วนใหญ่ได้จากทางยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้หลักฐานในคนเอเชียยังมีอยู่จำกัด ดังนั้น Dongwon Yoon และคณะจาก Sungkyunkwan University ประเทศเกาหลีใต้ จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อตรวจหาความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีน HPV และอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (serious adverse reaction) 33 ประการ ในประเทศเกาหลีใต้ และรายงานผลการศึกษาในวารสาร BMJ (2021; 372: m4931) ว่า การฉีดวัคซีน HPV ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ
|------------------------------------------|
📌สนับสนุนเเอปฯ ดีๆ เพื่อการเเพทย์เพียง
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >>https://bit.ly/3fZUcFe << 🙀📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|-------------------------------------------|
อัตราการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ในปี 2018 อยู่ที่ 87.2%
ในปี 2012 มีผู้หญิงกว่า 630,000 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV จากจำนวนดังกล่าวมี 530,000 ราย (84%) ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงออกมาแนะนำให้มีการฉีดวัคซีน HPV โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 9 - 14 ปี ต่อมาในปี 2019 มี 124 ประเทศทั่วโลกได้เพิ่มวัคซีน HPV เป็นส่วนหนึ่งในโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ในปี 2016 ประเทศเกาหลีใต้ได้เพิ่มตารางการฉีดวัคซีน HPV 4 สายพันธุ์จำนวน 2 ครั้งให้กับเด็กผู้หญิงอายุ 12 - 13 ปี ในโครงการฉีดวัคซีนของประเทศ ทำให้อัตราการฉีดวัคซีนเข็มแรกเพิ่มขึ้นจาก 61.5% ในปีที่ดำเนินโครงการ เป็น 87.2% ในปี 2018
อย่างไรก็ตาม ความกังวลในแง่ความปลอดภัยของวัคซีน HPV ก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลการสำรวจของประเทศเกาหลีใต้พบว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองกว่า 73.5% ไม่ต้องการให้บุตรเข้ารับวัคซีน HPV เพราะความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง
ดังนั้น Yoon และคณะ จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีน HPV และอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงในเด็กผู้หญิงชาวเกาหลีใต้ โดยคัดเลือกข้อมูลระหว่างปี 2017 – 2019 มาจาก Korea Immunization Registry Information System และ National Health Information Database
การวิเคราะห์ในเด็กผู้หญิงจำนวน 441,399 คน
การวิเคราะห์ดังกล่าวได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มเด็กผู้หญิงที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV,​ วัคซีนไข้สมองอักเสบ หรือวัคซีน DTP (วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน) และทำการคัดเลือกเด็กผู้หญิง อายุ 11 - 14 ปีที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 441,399 คน โดยแบ่งออกเป็น
กลุ่มที่ฉีดวัคซีน: เด็กผู้หญิงที่มีประวัติการฉีดวัคซีน HPV จำนวน 382,020 คน (จำนวนการฉีดวัคซีนทั้งหมด 492,377 ครั้ง)
กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน: เด็กผู้หญิงที่ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน HPV จำนวน 59,379 คน
ทางคณะวิจัยได้ระบุอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 33 รายการสำหรับใช้ในการประเมิน อันได้แก่ endocrine diseases (เช่น Graves' disease,​ Hashimoto's disease ฯลฯ), gastrointestinal diseases (เช่น Crohn's disease, ulcerative colitis ฯลฯ), cardiovascular diseases (เช่น Raynaud's disease, venous thromboembolism ฯลฯ), musculoskeletal diseases (เช่น ankylosing spondylitis, Behcet's disease ฯลฯ), haematological diseases (เช่น idiopathic thrombocytopenic purpura ฯลฯ), dermatological diseases (เช่น erythema nodosum ฯลฯ), และ neurological diseases (เช่น Bell's palsy, epilepsy, narcolepsy ฯลฯ) รวมถึงระยะเวลาติดตามการเกิดอาการเหล่านี้คือ 1 ปีหลังการฉีดวัคซีน
ความเสี่ยงต่อการเกิดไมเกรนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ผลการวิเคราะห์เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนพบว่า อาการไม่พึงประสงค์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ฉีดวัคซีน คือ ไมเกรน (adjusted incidence ratio: 1.11, 95% CI: 1.02 - 1.22) แต่ความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ไม่พบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับอีก 32 รายการ
นอกจากนี้การวิเคราะห์ทุติยภูมิ (secondary analysis) โดยใช้ self-controlled risk interval design ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญของวันซีน HPV ที่มีต่ออาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมด รวมถึงไมเกรนเช่นกัน (adjusted relative risk ของไมเกรน: 0.67, 95% CI: 0.58 - 0.78)
Yoon และคณะกล่าวถึงการประเมินผลกระทบของการงดฉีดวัคซีน HPV ในปี 2013 - 2019 ในประเทศญี่ปุ่น ต่ออัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน (excess mortality) จากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5,000 ราย (Lancet Public Health 2020; 5: e223-e234) โดยชี้ให้เห็นว่า “เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงของผลกระทบที่การงดฉีดวัคซีน HPV มีต่อการเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกแล้ว เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความปลอดภัยของวัคซีน HPV และลดความวิตกกังวลของประชาชน” นอกจากนี้ทางคณะวิจัยได้สรุปว่า “ผลการประเมินความปลอดภัยของวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงเกาหลีใต้ที่นำเสนอในครั้งนี้ สอดคล้องกับหลักฐานในกลุ่มประชากรของประเทศตะวันตก”
ที่มา:
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >>https://bit.ly/3fZUcFe << 🙀📲
MLT - วัคซีน HPV ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรง
โฆษณา