21 พ.ค. 2021 เวลา 12:14 • สุขภาพ
เหนื่อยแบบไหน ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ?
- ตอนถอดก็ไม่ง่าย ตอนใส่ก็ทรมาน - 😰
1
Endotracheal Tube Intubation
“ผู้ป่วยเหนื่อยมาก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ”
“ผู้ป่วยหมดสติ ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ”
“ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจนาน ต้องเจาะคอ”
“ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ถอดท่อช่วยหายใจได้แล้ว”
3
เราอยู่กับโควิด-19 มาเป็นปีแล้ว
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดแบบนี้ 👆
จากข่าว หรือจากแถลงการณ์ทุกวัน
อย่างน้อยก็พอสรุปได้ว่า
ท่อช่วยหายใจ ช่วยให้หายเหนื่อย
และใช้กับคนอาการหนักแน่นอน 🤒
1
ฟังดูผิวเผิน ได้ยินจนคุ้นหู
อาจดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย
เหมือนแค่เปิดหลอด แล้วจิ้มลงไป
ในแก้วชานมไข่มุกแค่นั้น
พอเลิกใช้ ก็แค่ดึงออก แล้วโยนทิ้ง !
ถ้าท่อช่วยหายใจ ใส่เข้าง่าย
ถอดออกสบาย เหมือนหลอดชานมไข่มุก
ก็คงดีสิน้า
ปอดนะ! มะใช่ชานม!
📣 อ่างอยากเล่าบทความนี้ เพราะ ?
👉อยากให้เห็นขั้นตอนการใส่ท่อช่วยหายใจ
แบบเข้าถึงได้ง่าย
👉 อยากให้เข้าใจว่า ถ้าถูกใส่ท่อช่วยหายใจ
ตอนยังมีสติ มันอาจเป็นความทรงจำที่เลวร้าย
ครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะฉะนั้นระวังตัวกันเถิดหนา
2
👉 อยากให้ตระหนัก ถึงความยากลำบาก
ในการใช้ชีวิต หากติดโควิดจนปอดพัง
แล้วต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
👉 อยากให้ทุกคนดูแลตัวเอง และคนใกล้ชิด
ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังนะค้า 🤗🙏
🚨 เมื่อไหร่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก
(Endotrachel Intubation)
เพราะเชื้อไวรัสโคโรนา (SAR-CoV-2)
มุ่งทำลายปอดเป็นหลัก
เพราะฉะนั้น คนที่ติดโควิด
มักมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจไม่สุด 😩
1
อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ
ถ้ายึดตามเกณฑ์สมาคมเวชบำบัดวิกฤติฯ
จะมีข้อบ่งชี้ต่อไปนี้
👉 ออกซิเจนปลายนิ้ว (SpO2) < 94%
👉 ออกซิเจนในเส้นเลือดแดงต่ำ
(PaO2/FiO2 < 300 mmHg)
👉 หายใจเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที
👉 มีการหายใจและหัวใจล้มเหลว
(Cardiopulmonary Arrest)
👉 มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
🚨 ขั้นตอนการใส่ท่อช่วยหายใจ
แบบ RSI (Rapid Sequence Intubation)
และข้อจำกัดบางประการ 🤦
เป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้ทั่วโลก
เพราะจะช่วยลดความบาดเจ็บของอวัยวะ
และลดความทรมาน 🤗👍
รวมถึงป้องกันการสำลักของผู้ป่วยได้ดี
ส่วนสำคัญคือ มีการให้ยาเพื่อให้คนไข้
หลับ หรือเคลิ้ม จากนั้นก็ให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
NMBA (Neuromuscular Blocking Agent) 💉
จะเป็นการใส่ท่อช่วยหายใจในฝัน 😊
ที่ผู้ป่วยจะนอนนิ่ง ๆ ทำให้ใส่ได้ง่าย
ไม่ดิ้น ไม่กระชากท่อ ไม่กัดท่อ
ที่สำคัญ ไม่ทุรนทุราย
1
RSI Technique
แต่วิธีการนี้ต้องมีทีมวิสัญญี หรือผู้เชี่ยวชาญ
ที่ Stand by มี Backup Team ที่พร้อมช่วยเหลือ
หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
จึงมักทำได้ใน รพ.ขนาดใหญ่ หรือ รพ.รร.แพทย์
และไม่เหมาะกับการใช้บนรถพยาบาล 🚑
2
แปลว่า ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคน
ที่จะได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการนี้
🚨 การใส่ท่อช่วยหายใจแบบมาตรฐาน
นึกภาพ ถ้าคุณต้องขอร้อง
ให้คนที่กำลังเหนื่อยหอบ
หรือ นั่งหายใจตัวโยนให้นอนลงสิคะ
นั่งหายใจยังไม่ไหว ใครจะนอน !?
เหนื่อยมาก จนนอนไม่ได้
👉 จากนั้นก็เอาท่อดูดเสมหะ
แหย่เข้าไปในลำคอ เพื่อให้ลำคอเปิดโล่ง
ถึงไม่ได้ตั้งใจให้ขย้อน แต่หลายครั้ง
มันก็มีผลข้างเคียงแบบนั้นตามมา
👉 ส่วนใหญ่ในภาวะเร่งด่วน
อาจมีการฉีดยานอนหลับบ้าง
เพื่อแค่ให้ผู้ป่วยเคลิ้ม ๆ
เพราะถ้าให้ยามากไป
คนไข้อาจไม่ทรมานก็จริง
แต่ยาจะทำให้ความดันร่วงลงไป
กลายเป็นได้รักษาภาวะช็อกอีกเรื่อง 😱
1
Macintosh Blade (เบลด)
👉 จากนั้นแพทย์จะเปิดปากคนไข้ด้วยเบลด
เป็นอุปกรณ์โลหะที่ใช้ยกลิ้นขึ้น
เพื่อให้มองเห็นเส้นเสียง และหลอดลม
ถ้าใช้เบลดแบบมาตรฐาน (Macintosh Blade)
ก็อาจใช้เวลา 0.5-3 นาที ขึ้นอยู่กับความชำนาญ
หาเส้นเสียง เพื่อสอดท่อช่วยหายใจ เข้าไปในหลอดลม
ยิ่งใช้เวลานาน คนไข้ก็จะยิ่งทรมาน
เพราะขาดอากาศ ประกอบกับปลายเบลด
ที่จะระคายคอตลอดเวลา
🚩 ในส่วนของบุคลากร
ช่วงนี้อาจเป็นช่วงเสี่ยงที่สุด
ที่จะทำให้ติดเชื้อได้
1
นอกจากจะต้องยื่นหน้าเข้าไปใกล้แล้ว
เสมหะ สารคัดหลั่งต่าง ๆ
จะพุ่งออกมาจากส่วนลึกของปอด
เชื้อโรคทั้งหมดที่มีจะกระโจนมาแปะ
ลงบน Face Shield แบบเต็ม ๆ
2
ใกล้ชิดมากมายยย 🤤
แต่หลายที่มีการใช้เบลด แบบติดกล้องที่ปลายเบลด (Videolaryngoscopes) ก็ทำให้ใส่ได้ง่ายขึ้น
และคนใส่ ก็เสี่ยงน้อยลง 👇
ชมสาธิตการใส่ท่อช่วยใจ เพิ่มเติมได้ค่ะ
แบบเรียบง่าย ไม่สะเทือนใจ 👇
นาทีที่ 3:08 เริ่มใส่ท่อค่า
จากนั้นต้องเอกซเรย์ ตรวจตำแหน่งท่อ
ตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจ
และมีการดูแลอีกมากมายที่ตามมา
🚨 ที่เล่ามาทั้งหมดข้างบน เป็นพอสังเขป
ยังไม่ได้ชวนให้คิด ถึงความทุลักทุเล
ของการใส่ท่อช่วยหายใจ
ด้วยชุดป้องกันพีพีอี (PPE) เลยน้า
1
🚨 กว่าจะถอดท่อช่วยหายใจ
ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีข้อบ่งชี้
ในการถอดท่อ (Weaning Protocols)
ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
มีการเจาะเลือดแดงที่ข้อมือ เพื่อดูออกซิเจน
ดีไม่ดี ถ้าคนไข้หายใจไม่ไหว
ต้องใส่ใหม่อีกรอบ 😢
1
👉 ถึงบอกตั้งแต่ตอนต้นว่า
“ตอนถอดก็ไม่ง่าย ตอนใส่ก็ทรมาน”
ใส่แล้วก็พูดไม่ได้ ทานข้าวไม่ได้
แถมยังต้องดูดเสมหะบ่อย ๆ
ยังไม่นับว่า ถ้าใส่นานเกิน 2 สัปดาห์
อาจต้องเจาะคอแทน (Tracheostomy)
ไม่อย่างนั้นเส้นเสียงอาจมีปัญหา
หรือปอดอาจติดเชื้อจาก
การท่อช่วยหายใจแทน
1
https://entokey.com/intubation-injuries-and-airway-management/
เพราะฉะนั้นดูแลตัวเองกันเถอะค่ะ
ตอนนี้บ้านเราเข้าระยะ 3 แล้ว
ระยะที่ติดเชื้อได้ แบบไม่มีที่มาที่ไป
1
เพราะฉะนั้น คุณอาจรับเชื้อเมื่อไหร่
จากใครที่ไหนก็ได้
ถึงฉีดวัคซีนแล้ว ก็ต้องรักษาระยะห่างอยู่ดี
เพราะวัคซีนที่ใช้อยู่ตอนนี้ กันหนัก กันตาย
แต่ยังกันการแพร่กระจายได้ไม่ค่อยดีนะคะ
🤗 ไม่มีเจตนา ทำให้กลัวแต่ประการใด
แค่อยากให้เห็นว่า ที่เราได้ยินว่า
ใส่ท่อ, ถอดท่อ มันเป็นอย่างนี้นะเออ
ขอบพระคุณที่อ่านจนถึงตรงนี้นะคะ
ย่อไหว้ค่า 🧜🙏
อ่างสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา