21 พ.ค. 2021 เวลา 16:56 • ธุรกิจ
นักวิจัยญี่ปุ่นพบว่าคนเอเชียตะวันออก 1 ใน 5 ที่ติดเชื้อโควิดจะมีอาการรุนแรงขึ้น 2 เท่า เพราะกรรมพันธุ์
3
Source:  inf.news
จากสถิติการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดพบว่าส่วนมากมีโรคแทรกซ้อน อาทิเช่น โรค เบาหวาน ความตันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอดและโรคอ้วน เป็นต้น แต่จากการศึกษาของทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบว่าความแตกต่างด้านพันธุกรรม ทำให้มีโอกาสสูงในการเพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้อโควิดได้
3
จากการชี้แจงจาก Professor Takanori Kanei จาก School of Medicine of Keio University ที่เป็นผู้อํานวยการงานหน่วยงานวิจัยการควบคุมการแพร่ระบาดของของไวรัสสายพันธุ์โคโรนา (Corona Virus) ได้แถลงว่า ทีมงานวิจัยยังได้ทำงานร่วมกับสถาบันทางการแพทย์กว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ในการร่วมตรวจสอบยีนส์ในเซลล์ของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นจำนวน 3,400 ราย เป็นกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี
2
ที่มา  Dek-D.com
”พบว่าความแตกต่างของยีนส์มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของเชื้อโควิด ซึ่งเป็นความแตกต่างในลําดับที่เรียกว่า "DOCK2" มีความเสี่ยงของความรุนแรงของโรคสองเท่าของคนทั่วไป”
DOCK2 หรือ Dedicator Of Cytokinesis 2 คือ เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายการส่งสัญญาณภูมิคุ้นกันภายในเซลล์ กับโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และภูมิคุ้มกันบกพร่องร่วม (ที่มา wikipedia.org)
Professor Takanori Kanei ได้ให้ข้อมูลว่า ได้ทำการศึกษากับผู้ป่วยจำนวน 440 รายที่มีอาการหนัก กลุ่มนี้อายุต่ำกว่า 65 ปี เปรียบกับคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี 2,377 คน (ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด) พบว่าความเสี่ยงของโรครุนแรงประมาณสองเท่าหากมีการกลายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจงใกล้ยีน DOCK2 ซึ่งจะพบได้ประมาณ 1 ใน 5 ในคนญี่ปุ่น ซึ่งก็อาจเกิดขึ้นกับคนในเอเชียตะวันออกด้วยเช่นกัน ไม่แต่ไม่ค่อยพบในชาวตะวันตก
4
ที่มา 日本人5人に1人・・・重症化“遺伝子”研究責任者が解説(2021年5月17日)
การตรวจ DOCK2 สามารถใช้การตรวจแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) ก็จะพบได้ แต่เราพบว่าเรื่องนี้มีความสัมพันธ์กับกรุ๊ปเลือด และความเสี่ยงกับกับการเกิดความรุนแรงของโรค จากการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง 440 รายและ 2,377 รายข้างต้น
ผลวิจัยพบว่าคนที่มีเลือดกรุ๊ป AB เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงกว่าคนอื่นๆถึง 1.4 เท่า แต่คนที่เลือดกรุ๊ป O ความรุนแรงจะน้อยที่สุด ตามรายงานไม่ได้ระบุว่าแต่ละกรุ๊ปเลือดติดง่ายหรือยาก ปัจจุบันก็ยังไม่รู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม
2
หากท่านใดสามารถแปลภาษาญี่ปุ่นได้สามารถรับชมได้ที่
1
เรื่องนี้หากประเทศไทยเราจะนำมาใช้ในการวางแผนในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด โดยเฉพาะการลดอัตราการใช้เตียงของผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่เราจะใช้ข้อมูลนี้ได้ เพราะเป็นการศึกษาจากทางฝังเอเชียที่มียีนส์ลักษณะใกล้เคียงกัน ที่เดิมส่วนมากเราจะใช้งานวิจัยจากทางฝั่งตะวันตกเป็นหลัก ซึ่งหลายๆอย่างระหว่างคนเอเชียและตะวันตกก็แตกต่างกันในรายละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของยีนส์ (Genes)
ในเบื้องต้นที่เราสามารถนำมาปรับใช้งานได้คือการตรวจหายีนส์ DOCK2 สำหรับรายที่ใช้วิธีการตรวจแบบ RT-PCR จะเป็นการลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์และอัตราการใช้เตียงได้เป็นจำนวนมาก เพราะจะทำให้สามารถรู้ได้ถึงโอกาสที่คนกลุ่มไหนจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อแล้วมีความรุนแรง
ที่มา:  NEB Choice Of One Step RT-qPCR Or Two Step RT-qPCR
อีกเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายกว่านั้นยั่นก็คือการตรวจกรุ๊ปเลือด เราสามารถใช้กรุ๊ปเลือดมาวางแผนในการให้วัคซีนก่อนได้ นอกจากกลุ่มที่มีโรคประจำตัวและอายุมากกว่า 60 ปี หรือคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง เพราะเราสามารถเปิดให้คนที่มีเลือดกรุ๊ป AB เข้ามารับวัคซีนในกลุ่มแรกๆได้เลย โอกาสที่จะพบผู้ป่วยที่มีความรุนแรงก็จะลดลง ภาระของบุคลากรทางการแพทย์ก็ลดลง
2
หากงานวิจัยนี้มีการศึกษาเพิ่มเติมแล้ว เชื่อว่าในอนาคตเราอาจจะควบคุมไวรัสโควิดได้ไม่ยาก และอาจหมายถึงไวรัสหรือเชื้อโรคอื่นๆด้วยที่เราสามารถจัดการได้ ที่นี้ก็อยู่ที่เราแล้วว่าถ้าหากเราไม่ป่วยจากเชื้อโรคแล้ว เรามีอายุยืนยาวขึ้นได้แล้ว เราจะทำอย่างไรให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใสแข็งแรงและเด็กลง
1
ที่มา:  Thailand Online Hospital
เสียดายที่ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ยังไม่มีโอกาสที่จะได้รับวัคซีนในช่วงนี้ นั่นก็เพราะไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และไม่ได้อยู่ในสถานที่เสี่ยงและมีโรคประจำตัวด้วย ยกเว้นโรคหัวใจ(หว่าเหว่)ไม่รู้หมอจะจัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการเสี่ยงไหม นอกจากนี้อายุก็เกิน 18 มาแล้วนิดหน่อย ที่สำคัญยังไม่ถึง 60 ด้วย ซึ่งก็อีกนานหลายปีทีเดียว
ที่มา:
Facebook Page: อาจารย์ฟูจิ สอนทำธุรกิจ
新型コロナ 遺伝子の“配列違い”で重症化リスク2倍に…血液型との関連性も研究(ABEMA TIMES) - Yahoo!ニュース
YouTube Channel: ANNnewsCH (ANNnewsCH)
 
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com
โฆษณา