22 พ.ค. 2021 เวลา 05:02 • การศึกษา
3 เทคนิคการจำศัพท์ตามหลักของสมอง
คำศัพท์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ ยิ่งเรารู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เราเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้มากขึ้นเท่านั้น
3
ไม่ว่าจะเป็นในการสื่อสารหรือการอ่านบทความภาษาอังกฤษต่าง ๆ บ่อยครั้งเรามักจะพบกับความท้าทายเพราะไม่รู้คำศัพท์ นึกคำศัพท์ไม่ออก หรืออ่านแล้วจับใจความไม่ได้เพราะไม่รู้ความหมายของคำ
1
วันนี้ Engvolution จะมาแชร์เทคนิคดี ๆ ที่จะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ทีละมาก ๆ อยากรู้แล้วไปดูกันเลย
ที่มา: Freepik
1. เทคนิคการจำเป็นก้อนแบบ “Chunking”
1
แทนที่จะท่องจำทีละคำเดี่ยว ๆ ให้เปลี่ยนมาเป็นจำเป็นกลุ่มก้อน เพราะเวลาที่เราจำข้อมูล จำคำศัพท์ สมองจะพยายามหาความเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิม ในคลังคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ คลังคำศัพท์เกี่ยวสถานที่ เป็นต้น
2
ถ้าเราท่องคำศัพท์แบบเดี่ยว ๆ แล้วไม่สามารถเกี่ยวโยงกับอะไรได้เลย คำนั้นจะถูกเก็บอยู่ในความจำระยะสั้น (Short-term memory) หมายความว่า เราจะลืมในเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้นถ้าจะจำคัพท์ คุณควรจำเป็นก้อน ทั้งแบบคำที่มีความหมายเหมือนกัน (synonyms) และคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน (antonyms)
เช่น big - huge - gigantic - enormous - large - colossal - immense - bulky - tremendous ทุกคำล้วนมีความหมายว่า ‘ใหญ่’
 
พอท่องหมวดคำศัพท์ที่แปลว่าใหญ่ได้แล้ว ควรท่องศัพท์ในหมวดที่แปลว่าเล็กด้วย
3
small - tiny - petite - miniature - teeny - itsy- bitsy - mini - minute - microscopic ซึ่งทุกคำล้วนมีความหมายว่า ‘เล็ก’
1
ถ้าท่องแบบนี้สมองจะจัดเก็บคำศัพท์ไว้ในคลังเดียวกัน ซึ่งเทคนิคในการจำแบบ Chunking นี้ ตามหลักการสมองควรจำคำศัพท์ไม่เกิน 7 คำ ใน 1 กลุ่ม เพราะจะช่วยให้จำได้เร็วและดียิ่งขึ้น
1
คุณสามารถหาคำที่มีความหมายเหมือนกันและตรงข้ามกันโดยเข้าไปที่ www.thesaurus.com ค่ะ หรือ https://www.synonyms.com/synonym/big
2. เทคนิคการจำรากศัพท์
หากคุณรู้ความหมายของรากศัพท์ภาษาอังกฤษ คุณจะสามารถเดาความหมายของคำใหม่ ๆ ที่มีรากศัพท์นั้นได้ เช่น
aqua = water = น้ำ
aquarium = พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ/ ตู้ปลา
aquamarine = พลอยสีน้ำทะเล
dict = tell = พูด,บอก
predict = ทำนาย
dictation = เขียนตามคำบอก
photo = light = แสงสว่าง
graph = write = การเขียน
photograph = เขียนด้วยแสงสว่าง = ภาพถ่าย
ped = foot = เท้า/ ขา
centi = 100
milli = 1,000,000
centipede = 100 ขา = ตะขาบ
millipede = 1,000,000 ขา = กิ้งกือ
หากสังเกตจะเห็นว่า รากศัพท์ ทำให้เราสามารถต่อยอดคำศัพท์ต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น หากเราไม่รู้คำศัพท์ การรู้รากศัพท์ ก็จะช่วยให้เราสามารถเดาความหมายของคำศัพท์ใหม่ ๆ นั้นได้มากขึ้น
ภาพจากหลักสูตร Engvolution: 7 เคล็ดลับพูดอังกฤษได้...ง่ายจัง
3. จำเป็นภาพ
การจำเป็นภาพ เป็นการลดขั้นตอนในการจำคำศัพท์ ที่อาจเริ่มจาก เห็นศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทย แล้วจึงเห็นภาพนั้นในหัว
หากเราจำคำศัพท์ในหมวดสัตว์แล้วสามารถจำเป็นภาพ เห็นสัตว์เป็นตัว ๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ดังภาพตัวอย่าง
วิธีการคือ เมื่อเราพบคำศัพท์ที่เราไม่รู้จัก เข้าไปที่ Webster Visual Dictionary Online คุณก็จะเห็นภาพและสามารถจำคำศัพท์ได้อย่างง่ายดาย
2
หรือเข้าไปกดฟังเพื่อฝึกออกเสียงตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่
เป็นยังไงบ้างคะกับสองเทคนิคการจำคำศัพท์ตามหลักของสมองตามที่ Engvolution ได้อธิบายมานี้
เห็นไหมว่าหากเรารู้และเข้าใจหลักการทำงานของสมองก็จะช่วยให้การจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเรานั้นง่ายและสบายยิ่งขึ้น แล้วพบกันพรุ่งนี้ค่ะ
ติดตามและติดต่อเราได้ที่
Facebook: Engvolution
Line: @engvolution
โฆษณา