24 พ.ค. 2021 เวลา 03:42 • สุขภาพ
ตอนที่1 : ใช้โควิดสร้างจุดเปลี่ยน พิชิตความเครียดด้วยสิ่งสร้างสรรค์ในตัวเรา
https://georgiannplc.ca/site/manage-anxiety-stress-during-covid-19/
บางคนบอกว่าโควิด-19 คือ จุดเปลี่ยนในชีวิต คือความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อชะตากรรม คือตัวเร่งที่ทำให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ คือหายนะที่พรากทุกอย่างไป สุดแท้แต่ว่าคนคนนั้นจะตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด หลายคนเติบโตขึ้นจากความสูญเสีย ได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ แม้จะตกงาน หลายคนดึงเอาศักยภาพด้านที่ตัวเองไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะทำได้ดีออกมาใช้ได้ในยามคับขัน สามารถสร้างรายได้ ส่งตัวเองไปถึงจุดที่ไม่เคยคาดหมายมาก่อน ที่สุดแล้วเราไม่เพียงใช้หัวใจแกร่งกล้าของเรารับมือกับมันเท่านั้น หากยังต้องอาศัยสติและปัญญาเป็นสิ่งนำทางด้วย
https://www.keyassetskentucky.com/emotional-wellness-6-tips-for-managing-stress-in-the-era-of-covid-19/
เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การต่อสู้อย่างยาวนานกับวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งต่อมาถึงสภาพจิตใจของผู้คน ทั้งความกดดัน ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะหมดไฟ
เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเวลานี้ของกรมสุขภาพจิตอยู่ใน 4 ประเด็นหลักคือ ภาวะเครียด (Stress) ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ (Burnout) การฆ่าตัวตาย(Suicide) และโรคซึมเศร้า (Depression)
https://www.medlife.com/blog/suicidal-thoughts-cause-of-extreme-depression/
แต่ก่อนที่อะไรๆ จะไปไกลกว่านี้ ในสภาวะเช่นนี้ นอกจากความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตาปราณีที่เราพึงมีให้กันแล้ว เรามาสำรวจกันว่า เราจะรับมือกับความเครียดที่ประดังเข้ามาอย่างไร เชื่อว่า หลายคนคงรู้จักหน้าค่าตาของเจ้าความเครียดกันดี
แต่ในที่นี้ ก่อนที่เราจะหาทางจัดการกับความเครียด เรามาทำความรู้จักเจ้าตัว ‘ความเครียด’ กันอย่างถ่องแท้ดีกว่า จะได้หาทางรับมือกับความเครียดได้ด้วยศักยภาพทางปัญญาของเราเอง เหมือนที่ซุนวูกล่าวว่า ‘รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง’
Hans Selye ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาผู้โด่งดัง
เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะผู้สร้างทฤษฎีความเครียด
หรือได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘บิดาแห่งความเครียด’ ได้เคยกล่าวว่า “ความเครียดเป็นรสชาติแห่งชีวิต” - ไม่ใช่ความเครียดหรอกที่ฆ่าเรา
แต่เป็นปฏิกิริยาของตัวเราที่มีต่อมันต่างหากที่ทำร้ายตัวเราเอง
https://www.concordia.ca/alumni-friends/applause/search/hans-selye.html
แต่ความเครียดก็ไม่ใช่รสชาติที่เราอยากชิม เพียงแต่ในโลกนี้ไม่เคยมีใครไม่พบเจอความเครียดและรับมือกับมัน แน่นอนว่า ผู้ที่รับมือได้ดีก็ย่อมจัดการชีวิตและจิตใจได้ดี
Hans Selye ได้ให้คำจำกัดความว่า “ความเครียดเป็นกลุ่มอาการตอบสนองของร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำเพาะเจาะจงต่อสิ่งที่มาคุกคามหรืออันตราย
โดยสิ่งนั้นมีสาเหตุ หรือผลมาจากสิ่งที่พึงประสงค์ หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม”
ความเครียด แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
ความเครียดเฉียบพลัน (acute stress) เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นกระทันหัน เช่น การตกใจจากเสียงดัง ร่างกายพบสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ได้แก่ ความร้อน ความเย็น ความเครียดประเภทนี้ร่างกายจะค่อยๆ ปรับให้เข้าสู่ภาวะปกติได้เอง ซึ่งเป็นการรักษาดุลยภาพ (homeostasis) ของร่างกายมนุษย์ให้อยู่ในภาวะปกติ
https://www.bioexplorer.net/importance-of-homeostatis-examples.html/
ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) เป็นความเครียดที่สะสมเป็นระยะเวลานาน เช่น ปัญหาในครอบครัว ปัญหาในการทำงาน ความเครียดประเภทนี้ขจัดออกได้ยากหากปล่อยทิ้งไว้นานมักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถรักษาดุลยภาพให้อยู่ในภาวะปกติเองได้ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และบุคลิกภาพ อาการของความเครียดนี้จะรุนแรงกว่าความเครียดชนิดที่ 1 หากเป็นมากต้องเข้าพบนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ความเครียดยังมีอีก 2 ระดับหากจัดการได้ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
Selye ยังได้จําแนกความเครียดออกเป็น Stress Eustress และ Distress คําว่า Eustress หมายถึง ความเครียดระดับต่ำ ที่ไม่มากเกินไปและไม่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะช่วยกระตุ้นให้คนทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความกระตือรือร้น เช่น ขยันในการศึกษาเล่าเรียน การปรับปรุงนิสัย และการขยายธุรกิจ เป็นต้น
https://www.researchgate.net/figure/As-the-stress-level-increases-from-low-to-moderate-so-does-performance-eustress-At_fig3_291348598
เป็นความเครียดที่สร้างสรรค์ (Constructive stress or eustress) เป็นพลังกระตุ้นให้เพิ่มความพยายามในการทำงาน เป็นสิ่งเร้าให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นให้มีความขยันหมั่นเพียร
ระดับความเครียดที่มากเกินไป (Distress) เป็นความเครียดที่ไม่ดี เป็นความเครียดที่บ่อนทำลาย (Destructive stress or distress) มีผลต่อสุขภาพของเราทั้งกายและใจ เบื่อหน่ายในการทำงาน (Bumout) ขาดงาน หย่าร้าง ถูกออกจากงาน ความเจ็บป่วย ถูกจําคุก ไปจนถึงมีพฤติกรรมทางจริยธรรมแย่ลง ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์พยายามหลีกเลี่ยง
สรุปได้ว่า ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าเรามีความเครียดในระดับที่เหมาะสมก็จะเป็นการกระตุ้น หรือส่งเสริมให้คนคนนั้นสามารถคิดค้นวิทยาการใหม่ๆ ทำให้รู้จักคิดแก้ปัญหา หรือทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถปรับตัวเองให้เผชิญกับสิ่งที่มาคุกคามได้ ปรับสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
https://uxdesign.cc/designing-happiness-ac9c56359df
โฆษณา