23 พ.ค. 2021 เวลา 13:03 • การศึกษา
10 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
หลายคนก็อาจจะมีความฝันในการไปมหาวิทยาลัยที่ดี ที่ตัวเองชื่นชอบ แต่บางคนก็ไม่รู้ว่าตัวเองอยากไปที่ไหนกันแน่ วันนี้เราจะมาจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกกัน และที่สำคัญคืออย่ากลัวที่จะไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการแต่จงให้กลัวว่าเราอาจจะต้องเสียใจที่เราไม่ได้ลองทำมัน
1
อันดับ 10
University College London – UK
1
University College London (UCL) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ ตั้งอยู่ ณ​ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัย UCL ยังเป็นสถาบันหนึ่งในสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน UCL ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลกของคอกโครัลลีไซมอนส์ในปี
1
มหาวิทยาลัย UCL ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1826 ในฐานะมหาวิทยาลัยลอนดอน และ UCL ได้ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในกรุงลอนดอน และมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศอังกฤษที่รับนักศึกษาเข้าเรียนโดยไม่คำนึงถึงศาสนา และเพศของผู้เข้าเรียน โดยให้สิทธิสตรีเทียบเท่ากับบุรุษ ในปี ค.ศ. 1836 UCL ได้เปลี่ยนฐานะเป็นวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยลอนดอนซึ่งเกิดจากการรวมตัวของวิทยาลัยอื่นๆในกรุงลอนดอนเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน
2
วิทยาเขตหลักของ UCL ตั้งอยู่ที่ Bloomsbury ในพื้นที่ลอนดอนส่วนกลาง Central London นอกจากนี้ยังมีสถาบันต่างๆ และโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ในที่ต่างๆ ทั่วกรุงลอนดอนที่เป็นของ UCL รวมไปถึงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในวิทยาเขตในเมืองแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย และกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
1
UCL เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงในการสมัครเข้าศึกษา และได้ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับสูง ทั้งในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ ศิษย์เก่าของ UCL ที่เป็นบุคคลสำคัญ เช่น ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ รวมไปถึงผู้ก่อตั้งกาน่า, ญี่ปุ่นสมัยใหม่ และไนจีเรีย ผู้ค้นพบแก๊สมีตระกูล ถึงปัจจุบัน UCL มีอาจารย์ ศาสตราจารย์ และนักวิจัย ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล รวมทั้งสิ้น 29 ท่าน
1
อันดับ 9
University of Chicago – USA
มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ตั้งอยู่ในชุมชนไฮด์พาร์ก (Hyde Park) ซึ่งอยู่ทางใต้ของใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประมาณ 6 ไมล์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย (Research University) ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และผลงานวิจัยต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เกี่ยวข้องได้รับรางวัลโนเบลเป็นจำนวนมากที่สุด
6
มหาวิทยาลัยชิคาโกได้ชื่อว่าเป็น "teacher of teachers" (อาจารย์ของหมู่อาจารย์) เนื่องจากมีศิษย์เก่าประมาณหนึ่งในเจ็ด ที่ประกอบอาชีพเป็นครูอาจารย์ตามสถาบันต่าง ๆ
2
มหาวิทยาลัยชิคาโกได้ให้กำเนิดสำนักความคิด (School of Thought) ในหลายสาขาวิชา อาทิ สำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก (The Chicago School of Economics) สำนักวรรณคดีวิจารณ์ชิคาโก (The Chicago School of Literary Criticism) สำนักสังคมวิทยาชิคาโก (The Chicago School of Sociology) และการบุกเบิกในด้าน กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) ในทางวิทยาศาสตร์ ได้มีการคิดค้นปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในโลกในบริเวณมหาวิทยาลัย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย ศ. เอนริโก เฟอมิ (Enrico Fermi) ภายใต้โครงการแมนฮัตตัน
2
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยชิคาโกมีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับรางวัลโนเบลเป็นจำนวน 79 คน ทั้งในฐานะเป็นศิษย์เก่า อาจารย์ หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยรวมแล้วถือว่าเป็นโรงเรียนที่ผลิตผู้ได้รับรางวัลโนเบลจำนวนมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา
4
อันดับ 8
Imperial College London – UK
1
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) เป็นมหาวิทยาลัยใจกลางกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน บุคลากรของอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัล อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสถาบันมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์
3
ปี ค.ศ. 2010 The Complete University Guide ได้จัดให้อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 แรกในสหราชอาณาจักร ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นนานาชาติอันดับ 1 ของสหราชอาณาจักร และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์เดลิเทเลกราฟต์ว่าเข้าศึกษาต่อ ยากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในสหราชอาณาจักร
2
ปี ค.ศ. 2018 สำนักข่าวรอยเตอส์ จัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่สุดของโลกอันดับที่ 2 และได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์คลินิกและวิทยาศาสตร์สุขภาพดีที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก และอันดับที่ 6 ของโลกด้านวิศวกรรมศาสตร์
ปี ค.ศ. 2020 อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 10 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ และคอกโครัลลีไซมอนส์
1
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัสเซลล์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำในสมาพันธ์มหาวิทยาลัยยุโรปและสมาพันธ์ประชาคมมหาวิทยาลัย
ในช่วงแรก อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนเป็นสมาชิกในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนที่จะแยกออกมาเป็นอิสระในครั้งฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย (8 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) โดยสมเด็จพระราชินีอลิธาเบธที่ 2 พร้อมด้วย เจ้าชายฟิลลิปดยุคแห่งเอดินเบอระ เสด็จพระราชดำเนิน ณ อิมพิเรียลคอลเลจ ลอนดอนในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2007
2
อันดับ 7
University of Cambridge – UK
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกที่ยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า ออกซบริดจ์ ในปีพ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ รั้งตำแหน่งอันดับที่สองของโลก ในบรรดามหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด กล่าวคือ 118 รางวัล
7
นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College) จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอรัม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้วย
5
อันดับ 6
ETH Zurich – Switzerland
1
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (Swiss Federal Institute of Technology in Zurich) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
1
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นสมาชิกของ IDEA League และ International Alliance of Research Universities IARU
2
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1854 โดยสมาพันธรัฐสวิส และเริ่มดำเนินการเรียนการสอนในปี ค.ศ. 1855 ในชื่อ Eidgenössische Polytechnische Schule ขณะนั้นสถาบันมีการจัดการเรียนการสอนเพียง 6 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล เคมี การป่าไม้ ส่วนคณะสุดท้ายเป็นการรวมตัวกันของภาควิชาย่อยต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นสถาบันการของสมาพันธรัฐ (federal institute) อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยซูริกที่เป็นเพียงสถาบันการศึกษาของรัฐ (cantonal institute) ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐซูริก ณ ช่วงเวลาของการก่อตั้งนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งสมาพันธรัฐ โดยการโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มนักเสรีนิยมซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งสมาพันธรัฐ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อต้องการให้เกิดเสรีทางความคิดโดยไม่มีการปิดกั้น และฝ่ายของกลุ่มอนุรักษนิยมที่ต้องการให้แต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแต่ละรัฐ ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ตั้งอยู่ร่วมกันในอาคารของมหาวิทยาลัยซูริก
3
ในปี ค.ศ. 1909 สถาบันได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อยกระดับสถาบันให้มีความเทียบเท่ากับระดับมหาวิทยาลัย และในปีเดียวกันนี้เอง สถาบันยังได้รับอนุญาตให้สามารถประสาทปริญญาบัตรการศึกษาระดับปริญญาเอกได้อีกด้วย ในปี ค.ศ. 1911 สถาบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก ซึ่งเป็นชื่อที่ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1924 สถาบันได้จัดระเบียบโครงสร้างภายในองค์กรอีกครั้ง ทำให้มีคณะวิชามากขึ้นถึง 12 คณะวิชา
อันดับ 5
University of Oxford – UK
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ทำให้ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเก่าแก่เป็นอันดับสองในบรรดามหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังเปิดสอน ออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีสภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองออกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง "มหาวิทยาลัยโบราณ" มักจะถูกเรียกว่า "ออกซบริดจ์"
9
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่ออกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
1
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน ออกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก ออกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ
3
อันดับ 4
California Institute of Technology – USA
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค (California Institute of Technology) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแพซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1891
2
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียมีชื่อเสียงในด้านงานวิจัยหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอากาศยาน และวิศวกรรมเครื่องกล ในการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลกของคอกโครัลลีไซมอนส์ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ที่ 5 ของโลก ส่วนในการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลกของไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ที่ 2 ของโลก ในปี ค.ศ. 2020 สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียมีจำนวนผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากเป็นจำนวนหนึ่ง
4
ผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากผลงานเรื่อง The Development of the Space-Time View of Quantum Electrodynamic เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่ง ไฟน์แมน ได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโรและ ยังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี นอกจากนี้เขายังเป็นที่รู้จักในวงกว้างในสังคมอเมริกันอันเนืองมากจากบุคลิกภาพอันเต็มไปด้วยอารมณ์ขันแต่เปื่ยมไปด้วยแง่คิดและรูปแบบการสอนเนื้อหาทางฟิสิกส์ขั้นสูงที่ยากในเข้าใจและเข้าถึงได้โดยง่าย ดังจากเห็นได้จากหนังสือชุด The Feynman Lectures on Physics
1
อันดับ 3
Harvard University – USA
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549
1
ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี พ.ศ. 2552-2553 มหาวิทยาลัยฮาร์ยาร์ดยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิว และได้รับการจัดอันดับโดยไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 7 ของโลกในปีพ.ศ. 2562-2563
1
กลุ่มผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดดคือ คณะนักบวชที่เรียกตนเองว่า "เพียวริตัน" ซึ่งอพยพมาจากประเทศอังกฤษโดยได้มีตั้งวิทยาลัยขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะสร้างนักบวชเพื่อให้สามารถเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของลัทธิของตนได้ โดยเริ่มต้นในชื่อว่า "เดอะ นิว คอลเลจ" (The New College) ในปี พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ฮาร์วาร์ด นักบวชเพียวริแตนท่านหนึ่ง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเอมมานูเอล (Emmanuel College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ได้ทำพินัยกรรมบริจาคหนังสือจำนวนประมาณ 400 เล่มและเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักแก่ทางวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) วิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ในชั้นแรกนั้นวิทยาลัยมีครูเพียงคนเดียว และมีนักเรียนชุดแรก 12 คน โดยเป็นลักษณะโรงเรียนกินนอน
5
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีชื่อเสียงมากในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพของอาจารย์ที่สอนและคุณภาพของนักศึกษา โดยศิษย์เก่าและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับรางวัลโนเบลรวมกัน 75 รางวัล และรางวัลพูลิตเซอร์ 15 รางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 มีคณาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายท่าน และได้ผลิตผู้บริหารองค์การทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจจากทั้งในและนอกประเทศได้เข้ามาเรียนกันมาก
1
ในปัจจุบัน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (15,555,533 เล่ม) และฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินกองทุน (Endowment) สูงที่สุดในโลก คือ 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2550)
อันดับ 2
Stanford University – USA
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมืองสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม. (37 ไมล์) สแตนฟอร์ดตั้งอยู่ในศูนย์กลางของซิลิคอนแวลลีย์ในเคาน์ตีซานตาคลารา และมหาวิทยาลัยอยู่ในบริเวณเมืองพาโลอัลโต มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1891 โดยเริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1885
5
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับสองของโลกโดย Academic Ranking of World Universities, QS World University Rankings และ Times Higher Education มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดถูกจัดให้อยู่ในระดับเดียวกับ Harvard, Yale, Princeton, MIT, Caltech บางครั้งเรียกย่อ ๆ ในกลุ่มเด็กนักเรียน High School ว่ากลุ่ม HYPSMC หมายถึงกลุ่มมหาวิทยาลัยที่สมัครเข้าเรียนยาก นอกจากนี้สแตนฟอร์ดยังได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งในสามมหาวิทยาลัยชั้นนำทางเทคโนโลยี นอกเหนือจาก MIT และ Caltech และมีนักวิจัยรางวัลโนเบลจำนวนมาก โดยเฉพาะในสาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ สแตนฟอร์ดยังมีคลังข้อมูลและศูนย์เก็บเอกสารทางด้านศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับสากล เช่น US Federal Government Archive ห้องเก็บหนังสือโบราณ และยังมีบุคลากรชั้นแนวหน้าในสาขาต่าง ๆ ทุกสาขา
3
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เตรียมพร้อมให้นักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ เช่น Nike, Hewlett-Packard, Electronic Arts, Sun Microsystems, Nvidia, Yahoo!, Cisco Systems, Silicon Graphics และ Google เป็นต้น
อันดับ 1
Massachusetts Institute of Technology – USA
3
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (อังกฤษ: Massachusetts Institute of Technology เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ
4
MIT ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861 เพราะการพัฒนาทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐ MIT ใช้รูปแบบมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคของยุโรป ที่เน้นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และเพราะเน้นเรื่องเทคโนโลยีประยุกต์ในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามาตั้งแต่ต้น จึงมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ภายใต้การดูแลของอธิการบดีคาร์ล คอมป์ตัน และรองอธิการบดีแวเนวาร์ บุช สถาบันได้เริ่มเปลี่ยนไปเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในปี ค.ศ. 1934 MIT ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความกว้างขวางและคุณภาพของโปรแกรมงานวิจัยและการศึกษาของสถาบัน
3
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น นักวิจัยในสถาบันทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เรดาร์ และระบบนำวิถีอาศัยหลักความเฉื่อย (inertial navigation system) ภายใต้การนำของอธิการบดีเจมส์ คิลเลียน ในช่วง ค.ศ. 1948-1959 MIT ได้ขยายทั้งคณะศึกษาและทั้งสิ่งก่อสร้างในบริเวณมหาวิทยาลัยออกอย่างรวดเร็วโดยอาศัยงานวิจัยทางการทหาร วิทยาเขตในปัจจุบันที่มีขนาด 425 ไร่ได้เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1916 ที่ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 1.6 ตาราง กม. ทางด้านทิศเหนือของแม่น้ำชาลส์
5
ในปัจจุบัน MIT มีคณะถึง 32 คณะรวมอยู่ใน 5 โรงเรียน (school) เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เลิศที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยปี ค.ศ. 2014 มีบุคคลผู้สืบเนื่องกับมหาวิทยาลัยผู้ได้รับรางวัลโนเบลถึง 91 คน ได้รับเหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Medal of Science) 58 คน ได้ทุนการศึกษาโรดส์ สคูลาร์ส 48 คน เป็น MacArthur Fellow 50 คน เป็น Fields Medalists 8 คน
3
MIT เป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรุ่นนักศึกษาปริญญาตรีปี ค.ศ. 2018 (ปีรับ 2014) มีผู้สมัคร 18,356 คน สถาบันรับไว้ 1,447 คน คือมีอัตราการรับผู้สมัคร (ระดับปริญญาตรี) ที่ร้อยละ 7.9
1
นอกจากการศึกษาและงานวิจัยแล้ว MIT ยังมีวัฒนธรรมในการเริ่มกิจการธุรกิจอีกด้วย รายได้ของบริษัทที่ศิษย์เก่าช่วยกันตั้งขึ้น รวมทั้งหมดจะประกอบเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก
3
ทีมกีฬาของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า "ดิเอนจิเนียส์" (the Engineers) แข่งขันในกีฬา 31 ประเภท โดยมากแข่งในภาค 3 ของสมาคมกีฬาวิทยาลัยแห่งชาติ (National Collegiate Athletic Association) และในภาค 1 เฉพาะในกีฬาพายเรือ โดยเป็นโรงเรียนหนึ่งในสมาคมวิทยาลัยเพื่อกีฬาพายเรือทิศตะวันออก (Eastern Association of Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือชาย และสมาคมวิทยาลัยเพื่อกีฬาพายเรือหญิงทิศตะวันออก (Eastern Association of Women's Rowing Colleges) สำหรับนักกีฬาพายเรือหญิง
2
ฝากกดติดตามทุกๆช่องทางเพื่อรับรับข่าวสารที่น่าสนใจ
.
.
.
.
.
.
.
ที่มาของข้อมูล
โฆษณา