Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
7Block Metrology
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2021 เวลา 05:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดที่มีความถูกต้อง (Accuracy) และความเที่ยงตรง (Precision) โดยเมื่อนำไปใช้งานในการวัดขนาดหรือค่าที่ต้องการ ค่าที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขบนเครื่องมือวัดเหล่านี้ต้องมีความเชื่อถือได้ เพื่อรักษามาตรฐานของการผลิตเอาไว้
บทความนี้จะนำเสนอ 5 เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่คุณต้องทำความรู้จักและควรมีไว้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและช่วยควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน
1. ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)
ไมโครมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดความละเอียดที่สามารถวัดได้ทั้งความกว้าง ยาว หรือความหนาของวัตถุที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียดสูง โดยพื้นฐานการทำงานของไมโครมิเตอร์อาศัยหลักการเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว แล้วแสดงผลจากระยะที่เคลื่อนไปได้ออกมาเป็นตัวเลขของขนาดวัตถุที่ทำการวัด
ปัจจุบันนี้ไมโครมิเตอร์มีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลายลักษณะ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยแบ่งตามชนิดของไมโครมิเตอร์ตามระบบการทำงานได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ไมโครมิเตอร์ระบบสเกล และไมโครมิเตอร์ระบบดิจิทัล
2. เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ (Vernier Caliper)
เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือวัดพื้นฐานมีการใช้งานมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับวัดขนาดทางด้านมิติ ที่ให้ความละเอียดในการวัดเป็นค่าตัวเลขออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตรและนิ้ว และสามารถใช้วัดได้หลากหลายลักษณะรวมอยู่ในเครื่องมือชิ้นเดียวทั้งขนาด ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง รวมถึงความลึกของวัสดุ
นอกจากนี้ยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและให้ค่าที่แม่นยำ เหมาะกับงาน เช่น งานกลึง งานประกอบชิ้นส่วน โดยในปัจจุบันมีเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไดอัลคาลิปเปอร์ และดิจิทัลคาลิปเปอร์
3. ไฮเกจ (Height Gauge)
ไฮเกจ เป็นเครื่องมือวัดขนาดความสูงสำหรับงานโมเดลหรืองานร่างแบบ (Lay-out) ก่อนทำการผลิตจริง โดยที่ผู้ทำการวัดสามารถขีดรอยเพื่อกำหนดระยะ ขนาด หรือความสูง บนผิวงานได้ด้วยเหล็กบาก สามารถใช้งานคู่กับโต๊ะระดับหรือแท่นระดับ (Surface Plate) เพื่อให้ได้ระนาบผิวอ้างอิงในการวัด
ในปัจจุบันไฮเกจมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างและระบบการทำงาน โดยถูกแบ่งออก 3 ชนิด ได้แก่ เวอร์เนียรอไฮเกจ ไดอัลไฮเกจ และดิจิทัลไฮเกจ
4. ไดอัลเกจ (Dial Gauge)
ไดอัลเกจ หรือนาฬิกาวัดเป็นเครื่องมือวัดที่มีหน้าปัดคล้ายนาฬิกา โดยจะแสดงค่าการวัดจากการเคลื่อนที่ของเข็มที่ติดตั้งบนหน้าปัดเมื่อวางหัวสัมผัสของเครื่องวัดบนวัตถุ ใช้สำหรับวัดความเป็นระนาบ ความขนาน ระยะเยื้องศูนย์ เช่น วัดหาศูนย์ของวัตถุก่อนทำการกลึง ตรวจสอบความเที่ยงศูนย์ ตรวจสอบความขนาน ตรวจสอบขนาด และวัดความเยื้องศูนย์
ในปัจจุบันไดอัลเกจได้รับการจำแนกออกเป็น 2 ชนิดตามหลักการทำงาน ได้แก่ ไดอัลเกจระบบสเกลอนาล็อก และไดอัลเกจระบบดิจิทัล
5. ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ (Dial Test Indicator)
ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ นาฬิกาวัดที่เหมาะกับงานวัดแบบเปรียบเทียบพื้นที่แคบ มีหัวสัมผัสวัดและแกนวัดเป็นลักษณะคานยื่นออกมาจากชุดนาฬิกาวัดเพื่อทำการวัดและตรวจสอบ มีค่าความละเอียดและความถูกต้องสูง
เครื่องมือวัดนี้เหมาะกับงาน เช่น ตรวจสอบความเรียบ ตรวจสอบความขนาน วัดความเยื้องศูนย์ และวัดขนาด
สิ่งสำคัญของการใช้เครื่องมือวัดให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดมีอยู่ 3 ข้อ คือ
1. เลือกเครื่องมือวัดให้ถูกและเหมาะสมกับงาน ความถูกต้องของเครื่องมือวัดต้องดีกว่าเกณฑ์การยอมรับของชิ้นงานเสมอ
2. ใช้เครื่องมือวัดให้ถูกวิธี ผู้ใช้งานต้องมีทักษะการใช้งานพื้นฐานที่ดี รู้หลักและเข้าใจเทคนิคของการวัด
3. ดูแลรักษาเครื่องมือให้ได้ เพราะจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือไปได้อีกนาน
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย