23 พ.ค. 2021 เวลา 15:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Book Review # 8: Quantitative Momentum: A Practitioner's Guide to Building a Momentum-Based Stock Selection System
by Wesley R. Gray(2016)
หากเป็นคนที่ได้ลงทุนในหุ้นหรือได้ฟังการวิเคราะห์เกี่ยวกับหุ้นมาพอสมควรน่าจะเคยได้ยินการลงทุนที่เรียกว่า "Momentum investor" หรือ MI ซึ่งเป็นวิธีที่มีการถูกใช้ในหลากหลายนิยามมาก ไม่ว่าจะเป็นคนที่เล่นหุ้นตามรอบของกลุ่ม sector จะเล่นหุ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจ หรือแม้แต่คนที่เทรดตามกราฟก็ยังอาจถูกเรียกว่าเป็น MI เช่นกัน
แต่การลงทุนแบบ Momentum ในมุมมองของด้านการศึกษาหรือการทำวิจัยทางการเงิน มักจะหมายถึงการซื้อหุ้นที่กำลังมีราคาปรับขึ้นถึง
"จุดๆหนึ่ง" จนเกิดแรงส่งและทำให้ราคามักจะเพิ่มไปต่อได้อีก
เหมือนกับเวลาเราขับรถแล้วปล่อยคันเร่งรถก็ยังวิ่งต่อไปได้อีกระยะ
สิ่งนี้แหละคือ Momentum การซื้อหุ้นที่วิ่งขึ้นมาแล้วแบบนี้ก็เหมือน
"ซื้อแพงเพื่อไปขายแพงกว่า" แม้จะฟังดูประหลาดแต่มันกลับได้รับการทดสอบและยอมรับไม่แพ้กับการลงทุนแบบ Value investing จนแทบจะนับเป็น Factor การลงทุนที่พิสูจน์มาแล้วตัวนึงทีเดียว และจะว่าไปแล้วหลักการของกราฟ หรือการซื้อที่ break แนวต้าน หรือทำ All time high ก็เรียกได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จาก momentum เช่นกัน
หนังสือเล่มนี้จะตอบคำถามที่มากกว่าว่าจะดูกราฟยังไง หรือต้องเอาเส้นอะไรไปตัดเส้นอะไร
แต่พยายามจะหาเหตุผลว่าทำไมการลงทุนแบบนี้ถึึงทำกำไรได้ และชนะตลาดในระยะยาว ผ่านการทำ Back-Testing ในรูปแบบของทฤษฤีต่างๆ
1. Momentum ไม่เท่ากับ Growth
เนื่องจากหุ้นที่เติบโต และมีกำไรก้าวกระโดด หรือหุ้นที่มีข่าวใหม่ๆด้านบวกเข้ามามักจะทำให้ราคามีการขยับได้มากทำให้มักเกิดความสับสนว่าคนที่ลงทุนแบบ Momentum ก็คือคนที่ลงทุนหุ้นเติบโต
"ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมาก"
หากเรามองให้แง่ของ Academics หรือทางวิชาการมักจะนิยามหุ้น Growth ด้วยหุ้นที่มีการเติบโตของ EPS หรือ กำไรต่อหุ้นระดับสูง หรืออาจจะเป็นหุ้นที่มี PE หรือ PBV สูง ซึ่งผลลัพธ์ของการลงทุนแบบนี้ มักจะทำได้แย่กว่าตลาดโดยรวม เพราะตลาดมักจะเอาความคาดหวังไปใส่ในราคาที่สูงหมดแล้ว
แต่ Momentum นั้นต่างออกไป เพราะจะสนใจแค่เฉพาะการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเท่านั้น โดยอาจจะเลือกหุ้นที่ขึ้นมากที่สุดในรอบ 1เดือน/3เดือน/1ปี หรือ 52 Week high ก็แล้วแต่ จะเห็นได้ว่าไม่ได้สนใจเลยว่าหุ้นจะเติบโตหรือไม่ เป็นหุ้นดีหรือไม่ มีข่าวอะไรหรือไม่ เรื่องพวกนั้นไม่ได้ถูกทำมาคิดด้วยเลย
แกน x เรียงลำดับความถูกแพง โดยแกน Y คือการเติบโตของกำไรในอดีต จะเห็นได้ว่าหุ้นที่่โตเร็วจะถูกให้ราคาแพงๆ และหุ้นที่ไม่โตจะได้ราคาที่ถูก
แต่เมื่อตามไปในอนาคตหุ้นที่เคยโตดีและได้ราคาแพงๆกลับไม่ได้ มีการเติบโตในอนาคตที่ีดีอย่างคาด กลับกันกลุ่มที่คนไม่คาดหวังกลับทำได้ดี
จะเห็นได้ว่าหุ้นที่ถูกเลือกเข้ามาใน Port Momentum อาจจะเป็นหุ้น PE สูงก็ได้ ต่ำก็ได้ จะโตหรือขาดทุนก็ได้ทั้งนั้นครับ
2. Momentum เป็นเหมือนอีกด้านของเหรียญ กับ Value
ถ้าหากเรามองว่าทำไม Value Investing ถึงสามารถชนะตลาดได้ในระยะยาว มักจะมีคำอธิบายว่า ผู้คนมักจะตอบสนองต่อข่าวร้าย หรือ การตกลงของราคาในแบบ "Overreaction" ทำให้ราคาจะต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น การที่ VI เข้าไปซื้อหุ้นเหล่านี้และรอให้ราคากลับสู่พื้นฐานจึงทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาด
แต่ขณะเดียวกันหากมองอีกด้านละ?
คุณอยากจะซื้อหุ้นที่วิ่งมาแล้ว 2 เท่า หรือ 10 เท่า หรือเป็นหุ้นที่ขึ้นมากที่สุดในตลาดหรือเปล่าครับ?
-ส่วนใหญ่หลายคนคงไม่อยากแน่ๆ-
มันต้องบ้าไปแล้ว หรือ มันต้องแพงไปแน่ๆ หลายคนจะต้องคิดแบบนี้แน่นอน
ตรงนี้แหละที่เป็นคำตอบว่าทำไม MI จึงเป็นเหรียญอีกด้านของ VI เพราะคนมักจะถูก Bias และ "อาจจะ" ตอบสนองน้อยเกินไปต่อข่าวที่เป็นบวก หรือกำไรที่เติบโต หรือก็คือตอบสนองแบบ "Underreaction" ทำให้ราคาเพิ่มน้อยกว่าพื้นฐาน และการเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้และรอให้วิ่งเข้าหาพื้นฐานจึงทำให้ชนะตลาดครับ
เราน่าจะเคยเห็นหุ้นแบบที่แพงแล้วแพงอีก ราคาขึ้นไปไม่หยุด งบออกมาก็โตดี ข่าวก็ดี แต่เราก็เห็นมันขึ้นมาแล้วก็ไม่อยากไปซื้อใช่มั้ยละครับ นี่แหละคือ Bias และ MI ได้ประโยชน์จากจุดนี้
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า MI อยู่บนพื้นฐานที่ว่าราคาตอบสนองต่อข่าวดีซึ่งอาจจะเป็น กำไรโตก็ได้(Growth) หรือ ขาดทุนน้อยลงก็ได้ (Value) หรือ ข่าวใหม่ๆก็ได้(Event-drive) แต่เรามักจะตอบสนองน้อยเกินไปใน Trend ที่ราคากำลังขึ้นครับ
สรุปแล้ว MI กับ VI เล่นกับตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นกันครับ
เมื่อทำการ Back Testing ในเวลาเกือบ 90 ปี ผลตอบแทนนั้นสุดยอด
CAGR หรือผลตอบแทนรายปีทบต้น Momentum ชนะอย่างขาดลอย และเห็นได้ว่า Growth นั้นแย่ที่สุด
3. Momentum มีกี่แบบ?
หลักการในการสร้างพอร์ตในหนังสือจะเป็นลัักษณะของการซื้อหุ้นตาม criteria โดยเรียงลำดับหุ้นตาม Criteria และมีการเปลี่ยนไปทุกๆ 1 เดือน
 
โดยได้กล่าวถึง Momentum ในระยะเวลา 3 แบบคือ
1. ระยะสั้นคือมองย้อนไป 1เดือน : มีงานวิจัยที่ืทำการทดลองสร้างพอร์ตเปรียบเทียบซื้้อกลุ่มผู้ชนะ และผู้แพ้ในกรอบ 1 เดือน ทำซ้ำไปเรื่อยๆตั้งแต่ 1927-2014 ผลกลับเป็นว่าพอร์ตที่ประกอบด้วยหุ้นที่ผลตอบแทนแย่สุดใน 1เดือนกลับทำผลตอบแทนได้ชนะตลาด และหุ้นที่วิ่งที่สุดในรอบ 1 เดือนกลับแพ้ตลาและยังแพ้ตราสารหนี้อีกด้วย ซึ่งถูกเรียกว่า "Short-term reversal"
2. ระยะยาวคือ มองย้อนไป 5ปี หรือ 60 เดือน เช่นเดียวกันกลับระยะสั้นถ้าซื้อผู้ชนะในรอบ 5 ปี เทียบกับผู้แพ้แล้วนั้น ผู้ชนะกลับแพ้ตลาดอีกเช่นกันนี่ก็คือ Mean reversion ในกรอบระยะยาว
3. ระยะกลางคือ มองย้อนไป 1ปี หรือ 12เดือน
มาถึงสิ่งที่หนังสือต้องการจะสื่อโดนหลังจากนี้จะเป็นการพูดถึง Momentum ที่สำเร็จก็คือ ระยะกลางนั้นเอง โดนในการทดลองเปรีบยเทียบการถือหุุ้นที่ผลตอบแทนสูงสุดมองย้อนไป x เดือนและถือไปอีก y เดือน ทำตั้งแต่ 3,6,9,12 เดือน ผลก็คือ การถือหุ้นที่ผลตอบแทนดีที่สุดในรอบ 12เดือน และถือต่ออีก 3 เดือนจะทำผลงานดีที่สุด เร่ื่องที่น่าสนใจคือ พบว่าผลตอบแทนจะยิ่งน้อยลงถ้าเราถือหุ้นนานกว่า 3 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของ Long-term reversal ผลตอบแทนที่ได้จาก Momentum ระยะ 1 ปี ย้อนหลัง ชนะตลาดอย่างงดงามโดยยังมี Drawdown ที่น้อยกว่าตลาดอีกด้วย!!
ซื้อหุ้นที่ขึ้นมากที่สุดในรอบ 1 ปี และเปลี่ยนตัวหุ้นไปเรื่อยๆทำผลงานได้อย่างสุดยอด
อีกประเด็นที่ขาดไม่ได้ของการทำพอร์ตก็คือ จะถือหุ้นกี่ตัวดี และจะปรับทุกกี่เดือนดี?
เมื่อทำการทดลองจาก S&P 500 พบว่ายิ่งเราถือหุ้นน้อยตัวเท่าไหร่กลับทำให้พลังของ Momentum ทำงานมากเท่านั้น และเช่นกันการเปรีบยเทียบการปรับพอร์ตตั้งแต่ทุก 1-12เดือนก็พบว่ายิ่งปรับถี่เท่าไหร่ก็ยิ่งได้ผลตอบแทบที่ดีขึ้น
ยิ่งถือน้อยตัว และเปลี่ยนบ่อยยิ่งผลตอบแทนสูง
ถ้างั้นทำไมไม่ปรับมันทุกวันไปเลยล่ะ?
อีกเรื่องที่ต้องคิดถึงก็คือต้นทุนการเทรดครับ
4. Momentum ต้องคำนึงถึงต้นทุน
เวลาที่เราเทรดจะมีค่าธรรมเนียมหรือต้่นทุนที่เกิดขึ้น 2 อย่าง
1. ต้นทุนค่าธรรมเนียมอย่างในไทย อาจจะเป็นได้ตั้งแต่ 0.1%-0.3% หากรวมทั้งการซื้อขายก็อาจจะตก ประมาณ 0.2-0.6%
2. ต้นทุกของ Spread หรือก็คือช่องของราคา bid - offer เช่นเราซื้อหุ้นที่ราคา bid 0.99บาท และ 1 บาท
เราจะต้องเคาะซื้อที่ราคา 1 บาท และเกิดอยากขายเลยก็ต้องไปเคาะขายที่ 0.99 หรือก็คือขาดทุน 1% ซึ่งเรื่องนี้ในไทยคิดเป็นต้นทุนมหาศาล เพราะบ้านเรา Spread กว้างมาก ทำให้รวมๆแล้วต่อในเราเลือกหุ้นที่ราคา Spread น้อยๆ ก็ยังไม่พ้นต้องโดนอย่างน้อย 0.4% จึงมองได้ว่าต้อทุนกาซื้อขายแต่ละรอบจะเป็นประมาณ "1%"
การปรับพอร์ตถี่ๆจะยิ่งกัดกร่อนผลตอบแทนของเราลองคิดว่าเราปรับพอร์ตุกเดือน ก็เป็นต้นทุน 12% แล้ว!!!!
เช่นเดียวกับในหนังสือจึงแนะนำว่าจุดสมดุลจะอยู่ที่ราวๆ 3เดือนนั้นเองครับ
5. Momentum แบบมีคุณภาพ
  เวลาคิดถึงหุ้นที่ Momentum แรงๆ หรือ ราคาเพิ่มขึ้นเร็วๆ สิ่งที่จะเข้ามาในใจเราก่อนเลยก็คือ หุ้นพวกนี้มันหุ้นปั่นรึเปล่า? เจ้าจะลากไปทุบรึเปล่า? จะมีอะไรบ้างที่จะช่วยกรองหุ้นกลุ่มนี้ที่ อาจจะ พุ่งแรงสั้นๆ แค่ไม่กี่วันแล้วกลับที่เดิม หุ้นแบบนี้เรียกว่า หุ้นถูกหวย หรือ Lottery stock ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในพอร์ต Momentum ของเรา และ การเอาหุ้นพวกนี้ออกไปจะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นอีกด้วย
ในหนังสือได้พยายามหาตัววัดหุ้นกลุ่มนี้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Information discreteness (ID) โดยคำนวณจากจำนวนสัดส่วนวันที่หุ้นมีราคาขึ้นกับลงในช่วงก่อนหน้า หุ้นที่มีความต่อเนื่องของ Return จะแสดงค่าช่วงที่เป็นบวกเยอะกว่าลบ (มีการบวกที่จะน้อยๆ แต่ต่อเนื่อง) กลับกันหุ้นเป็นถูกหวยจะมีช่วงบวกบ้างลบบ้าง และอาจมีช่วงที่ราคาบวกรวดเดียวจนเกิด momentum (มีวันกระชากแรงๆ ไม่ต่อเนื่อง) ในลักษณะนี้หุุ้นที่มี "ความต่อเนื่อง" จะโอกาสที่ทำให้ได้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นที่วูบวาบ และเมื่อเอาไป กรองในพอร์ต Momentum ทำให้ได้ Return สูงขึ้นโดยความเสี่ยงลดลงอีกด้วย!!
เลือกหุ้นที่ไม่สวิงแรงแต่ขึ้นแบบต่อเนื่องทำได้ดีกว่า
6. Momentum มีเดือนที่ดีที่สุด?
 
เมื่อเราตั้งหลักการของการ Rebalance พอร์ตทุกๆ 3เดือนแล้วคำถามที่ตามมาก็คือควรจะทำตอนทุกเดือนไหนถึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด
เราคงเคยได้ยินคำพูดติดตลาดอย่าง January effect, Sell in May and go away ซึ่งกล่าวถึงผลของเดือนต่อการลงทุนทั้งนั้น โดยส่วนมากจะอิงกับเรื้่อง 2 เรื่องคือ
 
1. Window Dressing :  กองทุนเมื่อใกล้ช่วงแสดงผลตอบแทนย่อมอยากที่จะให้ผลตอบแทนดี และต้องอยากให้หุ้นที่เป็นผู้ชนะ อยู่ในพอร์ตมากกว่าหุ้นติดแดง ทำให้มีแรงจูงใจที่จะขายหุ้นขาดทุนมาเพิ่มสัดส่วนหุ้นที่กำไร
2. Tax incentive : ในต่างประเทศหุ้นที่ขาดทุนทำให้เกิด Capital loss ซึ่งเมื่อขายสามารถนำมาคำนวณหักภาษีได้ทำให้เกิดแรงขายในหุ้นที่กำลังดิ่งลง ซึ่งทำให้แรงขายในกลุ่มพุ่งขึ้นน้อยกว่า และ อาจจะ ได้รับแรงซื้อบ้าง
เมื่อประกอบ 2 เรื่องเข้าด้วยกันทำให้เห็นว่าเดือนก่อนปิดไตรมาศ น่าจะมีโอกาสที่จะได้ Return มากกว่าเดือนอื่นๆ เมื่อทำการ Back testing 1984-2007 พบกว่ากำไรการถือ 1เดือนเฉลี่ยนของเดือน 3-6-9-12 เป็น 3.1% ขณะที่เดือนอื่นๆ จะเป็นแค่ 0.59% เท่านั้น!!
 
และเมื่อเจาะเข้าไปอีกเฉพาะในกลุ่มหุ้น momentum ตามที่เราคาดว่าน่าจะถูกซื้อมากกว่าพบว่า Return ของหุ้น Momentum สูงเทียบกับต่ำ จะต่างกันมากๆในเดือน 3-6-9-12 โดยเฉพาะเดือนธันวาซึ่งมีทั้งเรื่อง Window Dressing และ Tax incentive แล้วส่วนต่างนั้นมากกว่า 2.76 % และมากที่สุด
 
เมื่อนำเรื่องที่มารวมกับพอร์ต momentum จะได้สิ่งที่เราเรียกว่า Smart Rebalance โดยจะทำการปรับพอร์ตในปลายเดือน 2-5-8-11 เพื่อจะได้รับ momentum เต็มๆของเดือนปิดไตรมาศเมื่อทำ Back-testing ทำให้ return สูงขึ้นกว่าพอร์ตปรับเดือน 1-4-7-10 และพอร์ตที่แย่ทีี่สุดคือ เดือน 3-6-9-12 เพราะทำให้ผลของ momentum ไปเลย 1 เดือนตามที่เราเคยพูดไปว่า อาจจะ เป็นเดือนที่เกิด reversion
จากข้อมูลแสดงว่า Window dressing น่าจะมีจริงๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มหุ้นผู้ชนะ หรือ high momentum มากกว่าหุ้นอื่นๆ และทำให้เพิ่มผลตอบแทนของพอร์ต momentumได้
เราสามารถเพิิ่ม Return ได้จากการเลือกเวลาที่ดีที่สุด
7. Momentum ชนะตลาด
เมื่อรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันพอร์ต Quantitative momentum จะใช้หลักการ 5 ข้อ เพื่อคัดหุ้นที่จะลงทุน
1. เลือกหุ้นที่ลงทุนได้ เช่น เอาหุ้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่และมีสภาพคล่องพอสำหรับพอร์ต 1000 ตัว
2. เรียงหุ้นที่ผลตอบแทนย้อนหลังสูงสุด ในรอบ 1 ปี 100 ตัวแรกเป็นหุ้น Momentum
3. เรียงหุ้นที่เป็น High quality momentum จาก information discreteness เอา 50 ตัวแรก
4. เลือก Rebalance ในเดือนก่อนปิดไตรมาศ  หรือ Smart Rebalance
5. เชื่อและทำตามระบบไปเรื่อยๆ
Quantitative Momentum ชนะตลาด
8. Momentum ผสาน Value = Diversification
ถึงจะดูเมื่อเป็นเรื่องง่ายในการจัดพอร์ตแบบ Momentum เพื่อชนะตลาด แต่จะมีบางช่วงเวลาที่ พอร์ตแบบ Momentum จะแพ้ตลาดต่อเนื่องยาวนานกว่า 7ปี คือ 2008-2014
การทำผลตอบแทนที่แพ้ตลาดต่อเนื่องขนาดนี้ย่อมทำให้เกิดความสงสัย และทำให้เราอาจจะเปลี่ยน model ที่ชนะในระยะย้อนไปกว่า 100 ปี ไปได้ ซึ่งปรากฎการณ์นี้เองก็เกิดกับ พอร์ตแบบ Valueในช่วงปั 1994-1999 ดังนั้นแล้วเนื่องจากกว่าเกี่ยวข้องของพอร์ตทั้ง 2 แบบค่อนข้างจะไปคนละทางคือ เวลาที่ momentum มา  value มักจะแย่ และ Value มาในเวลาที่ momentum แย่ แต่ทั้ง 2 พอร์ตก็ชนะในระยะยาวเหมือนกัน การผสม 2 พอร์ตนี้โดยต่างมี Correlation กันไม่มากจะทำให้เกิด Effective allocation และทำให้ Sharpe ratio สูงขึ้น พร้อมกับ ทำให้เราอยู่ในกลยุทธฺ์ได้ในเวลาสุดขั้วของทั้ง 2 พอร์ตครับ
Value กับ Momentum เป็นของดีที่มาคนละเวลาครับ
9. Momentum ควรมีติดพอร์ต
สุดท้ายแล้ว momentum เป็นอีกหนึ่ง factor ที่ได้รับพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริงๆ โดยมีข้อกำหนดเรื่องกรอบเวลาและการคัดเลือก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างพอร์ต การเก็งกำไร เราสามารถจะพิจารณาว่าตอนนี้เราได้ประโยชน์จาก momentum factor หรือ ช่วยเตือนใจเราว่าการไล่ซื้อหุ้นที่กำลังขึ้นของเรานั้นไดเ้ประโยชน์จาก momentumที่ได้รับการพิสูน์แล้วรึเปล่า นอกจากนั้นแล้วสำหรับ Value investor การที่ราคาขึ้นมาอาจจะไม่ได้หมายความว่าหุ้นนั้นแพงเสมอไปหากเราได้หุ้นที่เข้าเกณฑ์ VI และ MI ก็น่าจะทำให้มั่นใจมากขึ้น หรือจะผสมพอร์ต 2 แบบ เป็น Asset allocation ก็น่าจะมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ
มาถึงตรงนี้ก็รู้แล้วนะครับว่า สมมุติถ้าเราจัดพอร์ต Momentum ไว้ล่ะก็เราจะต้องมี Delta หรือ JMTหรือ Com7 ติดพอร์ตแน่นอน และเราจะถือมันตลอดทางโดยไม่สนใจว่ามันจะขึ้นมาจากอะไรเพราะเราแค่ทำตาม Momentum เท่านั้นและเราค่อยปรับพอร์ตเมื่อถึงเวลาครับ ถ้าแบบนี้ช่วงที่ผ่านมาก็น่าจะทำได้ดีนะครับ
โฆษณา