24 พ.ค. 2021 เวลา 06:04 • ประวัติศาสตร์
🇮🇱🇵🇸 ภาพของแผนที่โลกที่แสดงถึงประเทศที่ให้การรับรองสถานะความเป็นประเทศอย่างถูกต้องของอิสราเอลและปาเลสไตน์
1
โดยแบ่งออกเป็นประเทศที่รับรองอิสราเอลเท่านั้น (สีฟ้า) , รับรองปาเลสไตน์เท่านั้น (สีเขียว) และรับรองทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ (สีเหลือง)
Credit | India In Pixels
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์นับเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่าหลายทศวรรษแล้ว (จริง ๆ อาจจะเรียกได้ว่าเกิดขึ้นเป็นพัน ๆ ปีแล้วก็ได้)
ในปี 1948 ชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ได้สถาปนาประเทศของพวกเขาซึ่งก็คือรัฐอิสราเอล (State of Israel)
ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ภายใต้การนำของกลุ่ม PLO ก็ได้สถาปนารัฐปาเลสไตน์ (State of Palestine) ครอบคลุมบริเวณฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์ในปี 1988 ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็อ้างสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์
แน่นอนว่าการที่อิสราเอลและปาเลสไตน์จะสถาปนารัฐหรือประเทศของตนได้นั้น จะต้องผ่านการรับรองและเห็นชอบจากชาติสมาชิกของสหประชาชาติเสียก่อน
โดยในปัจจุบันสหประชาชาติประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 164 ประเทศ ที่ให้การรับรองความเป็นประเทศอย่างถูกต้องของอิสราเอล
ภายใน 164 ประเทศที่รับรองอิสราเอลนี้ ก็มีอยู่บางประเทศที่รับรองให้เฉพาะอิสราเอล แต่ไม่รับรองความเป็นประเทศของปาเลสไตน์ (เอาอิสราเอล ไม่เอาปาเลสไตน์) อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างเมียนมา เป็นต้น
1
ในขณะที่ปาเลสไตน์ก็มีชาติสมาชิกของสหประชาชาติจำนวน 138 ประเทศ ที่ให้การรับรองความเป็นประเทศอย่างถูกต้องของปาเลสไตน์
1
ซึ่งใน 138 ประเทศนี้ ก็มีอยู่บางประเทศที่รับรองให้เฉพาะกับปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ไม่รับรองอิสราเอล (เอาปาเลสไตน์ ไม่เอาอิสราเอล) ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็เป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
สำหรับประเทศไทยของเราก็ประเทศที่ให้การรับรองทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ เช่นเดียวกับประเทศอย่างจีน รัสเซีย อินเดีย บราซิล เป็นต้น
2
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา