25 พ.ค. 2021 เวลา 06:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Perovskite Solar Cell (เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์) เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง โดดเด่นและแตกต่าง
1. โครงสร้างใหม่เป็นผลึกเซลล์ CaTiO3
1
2. โค้งงอหรือบิดได้อิสระ ดีไซน์ใช้งานได้ตามต้องการ
3. กับเก็บแสงได้ดีกว่า "ซิลิกอน" ที่นิยมใช้กันตอนนี้
4. ราคาถูกกว่าโซลาร์เซลล์ทั่วไป 30-50% ผลึกเซลล์ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1893 บนยอดเขา Ural ในรัสเซีย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพัฒนาคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเหนือคาด (ข้อมูลจาก สวทช.)
หลายคนคงรู้จัก Solar Cell (​โซล่าเซลล์) ในฐานะพลังงานสะอาดแห่งอนาคต แต่คุณรู้หรือไม่ว่า​โซล่าเซลล์นั้นมีมากมายหลายชนิด และในปัจจุบันมี Solar Cell ชนิดหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมาในตลาด ด้วยอัตราการผลิตที่สูง และรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ Perovskite Solar Cell
Perovskite Solar Cell คือโซล่าเซลล์อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยมันผลิตขึ้นจากแร่ธรรมชาติที่พบในยอดเขา Ural ประเทศรัสเซีย ซึ่งชื่อของ Peroveskite นี้ก็ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ Lev Paroveski ผู้ชำนาญด้านวิชาแร่จากรัสเซียนั่นเอง
แร่ Perovskite จะประกอบด้วยตะกั่วหรือดีบุกกับเฮไลด์ สามารถผสมกับสารละลายเพื่อแปรรูปทำเป็นโซล่าเซลล์ได้ด้วยการพิมพ์สามมิติ ที่สามารถเคลือบสารนี้เป็นแผ่นลงบนวัสดุ เพื่อทำเป็นโซล่าเซลล์ได้ มีความโดดเด่นคือน้ำหนักเบา สามารถดัดให้โค้งงอ ขึ้นรูปได้ง่าย และมีต้นทุนทางวัสดุที่ต่ำ สิ่งสำคัญคือสามารถดูดซับแสงได้ในระดับเดียวกับซิลิกอน
ด้วยการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและความสามารถในการดูดซับแสงที่แทบไม่แตกต่างจาก Solar Cell ในปัจจุบัน คืออยู่ในช่วง 15-20% และถูกพัฒนาให้ได้ประสิทธิภาพสูงถึง 27.3% โดยฝีมือของบริษัท Oxford PV ในช่วงปี 2018 ซึ่งสูงเป็นสถิติโลกเลยทีเดียว
ทว่าภายใต้ประสิทธิภาพที่สูงก็ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องให้ความสำคัญ แม้ว่าต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าโซล่าเซลล์แบบซิลิกอน แต่ยังมีต้นทุนด้านอุปกรณ์การใช้และการแปรรูปไฟฟ้าที่มีราคาที่ค่อนข้างสูง รวมถึงประเด็นด้านความทนทานและความปลอดยภัย ทำให้ทางนักวิจัยยังต้องมีการพัฒนาโซล่าเซลล์ชนิดนี้ไปอีกสักระยะหนึ่ง ก่อนจะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายก็ให้ความเห็นว่า Perovskite Solar Cell เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก สำหรับการพัฒนาพลังงานสะอาดในอนาคต
ข้อมูลจาก
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
PTT ExpresSo (Express Solution)
โฆษณา