3.แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อเท็จจริง / สิ่งที่วิเคราะห์ได้ และแนวทางปฏิบัติ
.
ข้อเท็จจริง คือ เนื้อหาบนกระดานหรือข้อมูลที่มีอยู่
สิ่งที่วิเคราะห์ได้ คือ ประเด็นสำคัญหรือสิ่งที่ฉุกคิดได้
แนวทางปฏิบัติ คือ ข้อสรุป
.
สมุดโน้ตที่ไม่มีหัวเรื่อง ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ช้าลง ไม่ต่างอะไรกับหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีพาดหัวข่าว
.
สิ่งที่ต้องระวังคือ เราต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะพบว่าชีวิตการเรียนหรือการทำงานของเรามันดีขึ้น อย่าคาดหวังว่าทำครั้งเดียวแล้วจะเห็นผลเลย
.
หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของสมุดโน้ต คือ ช่วยทบทวนความจำ แต่เมื่อไรก็ตามที่สมุดโน้ตของเราคือ การลอกทุกอย่างบนกระดาน หรือการจดๆไปก่อน จะทำให้ฉุดรั้งความสามารถ
.
สิ่งที่แบ่งแยก คนเก่ง กับ คนไม่เก่ง ออกจากกัน คือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หรือความสามารถในการเรียบเรียงข้อมูล
.
คนเก่งจะเรียบเรียงข้อมูลในหัวก่อนเสมอ เขาจะไม่จดทุกอย่างที่ได้ฟังหรือได้ยินลงไปแบบเป๊ะๆ แต่จะจดโดยเรียบเรียงข้อมูลในหัวก่อน แล้วค่อยถ่ายทอดออกมาในแบบของตัวเอง
.
ต่อให้มีความรู้หรือข้อมูลมากแค่ไหน ถ้าไม่มีกรอบมาจัดระเบียบ ข้อมูลเหล่านี้จะปนเปกันจนยากที่จะนำมาใช้งาน
.
คนที่หัวดีหรือหัวไว คือคนที่มีกรอบ หรือมี flam ความคิดอยู่เสมอ
.
สิ่งที่คนจำนวนมากทำพลาดอยู่บ่อยๆ เวลาคิดวิเคราะห์คือ เอาแต่จดจ่อกับเรื่องตรงหน้าจนลืมมองภาพรวม
.
เปรียบได้กับ คนที่มองแต่ต้นไม้จนไม่เห็นป่า ในขณะที่คนเก่งๆจะมองทั้งต้นไม้และป่าเสมอ
.
โครงสร้างของดวงตา มีอิทธิพลต่อความคิดมนุษย์ การจดบันทึกและวางสมุดในแนวนอน ทำให้เรามองเห็นภาพกว้างกว่าแนวตั้ง
.
สมุดโน้ตที่อยู่ในมือคุณตอนนี้จะกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง อย่าลืมเปลี่ยนสมุดโน้ตในมือให้เป็นสมุดกราฟ และเริ่มต้นด้วยการจดโน้ตอย่างถูกวิธี
.
เพราะความสำเร็จครั้งใหญ่ เริ่มต้นจากวิธีที่คุณใช้ในการจดบันทึก