25 พ.ค. 2021 เวลา 11:52 • สุขภาพ
เราจะฉีด Vaccine COVID-19 เข็มแรก กับ เข็มสอง คนละชนิดได้หรือไม่
https://www.scmp.com/news/world/europe/article/3133959/coronavirus-mixing-pfizer-shot-and-astrazeneca-safe-and-effective
เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยมาก
ถ้าเกิดเราฉีดวัคซีนเข็ม 1 กับเข็ม 2 เป็นคนละยี่ห้อ
หรือคนละ platform ผลจะเป็นยังไง
ซึ่งเป็นปัญหายอดฮิตของผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ
ไม่ว่าจะไปทำงานหรือเรียนต่อ ทางฝั่ง US หรือ ยุโรป
ที่มีวันเดินทางอีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้า
ทำให้อยากฉีดวัคซีนสักเข็ม 2 เข็ม
เพื่อลดโอกาสในการป่วยหนักหรือเสียชีวิต
เนื่องจากไม่มั่นใจว่าจะรอดจากโควิดจนถึงวันเดินทางหรือไม่
1
แต่ Vaccine หนึ่งเดียวที่เรามี+พร้อมฉีด ณ ขณะนี้
คือ Sinovac
ซึ่งยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็น Vaccine Passport ของ US EU
หรือคนที่ อยากฉีดกันไว้ก่อนที่จะเดินทางไป ฉีด Vaccine tourism
หรือ ประชาชน ที่ไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของ vaccine
ตัวแรกที่ได้ไป อยากจะหาฉีดเพิ่ม เพื่อให้มั่นใจมากขึ้น
ทั้งที่ได้ Sinovac หรือ AZ ไปแล้ว
2
ก่อนหน้านี้จะไม่แนะนำการฉีดวัคซีนลักษณะนี้
เนื่องจาก ไม่ทราบถึงประสิทธิภาพและผลข้างเคียงที่ชัดเจน
ส่วนมากจะทำในรายที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วมีปัญหา
เช่นแพ้รุนแรง หรือปัญหาเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ
แต่ เร็วๆนี้ คำถามนี้มีคำตอบใหม่
โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัย 2 งานวิจัยที่ทำใน Spain และ UK
2
ที่มาของงานวิจัยนี้เกิดจาก
คนอายุน้อยในEU ที่ตอนแรกฉีด astrazeneca ไปแล้ว
แล้วปรากฏว่าถูกยกเลิกไม่ให้ฉีดAstra เข็มที่ 2
เนื่องจาก ปัญหาของเรื่องลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ
ทำให้วัคซีนเข็มที่ 2 ถูกเปลี่ยนไปฉีดวัคซีน mRNA
ซึ่งพอเปลี่ยนไปฉีดคนละชนิด
ผลวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่ากระตุ้นภูมิได้ดี
โดยเฉพาะถ้าเข็มแรกเป็นวัคซีนชนิด viral vector
ทำให้มีการขยายผลการศึกษาเพิ่มเติม
1
งานวิจัยแรก ทำใน ประเทศ Spain
เพิ่งรายงานผลการศึกษาข้างต้นในเวปกระทรวง สธ. ของสเปน
การศึกษา Combi-VacS (Ref 1+2)
ทำในคนอายุ< 60 ปี ที่ได้รับ AZ Vaccine มาแล้ว 8 สัปดาห์ จำนวน 633 คน
ทดสอบโดย Boost immunity ใช้ Pfizer vaccine แล้วตรวจระดับ Antibody และNeutralizing antibody +ดูผลข้างเคียงหลังฉีด
เทียบกับ ผู้ที่ได้วัคซีนAZ 1 เข็ม มาแล้ว 8 สัปดาห์
ที่ไม่ได้รับ booster vaccine จำนวน 232 คน
ผลข้างต้นพบว่า
Antibody titers ขึ้นสูง 123 เท่า ใน 7 วันแรกและสูงถึง 150 เท่า
ใน 14 วันหลังฉีด Pfizer booster เมื่อเทียบกับไม่ได้ฉีด Booster
และตรวจหา Neutralizing Ab
โดยใช้ Pseudovirus ที่มี SARS-CoV-2 Spike protein
พบว่ามี ระดับ Neutralizing Ab เพิ่มขึ้น > 7 เท่า
เมื่อเทียบกับคนที่ได้Astra 2 เข็มครบ
และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงทำให้นอนโรงพยาบาลหรือต้องรักษาเพิ่ม
1
งานวิจัย ที่ 2 (Ref 3+4)
COM-COV ทำในประเทศอังกฤษ
ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาเบื้องต้นใน Lancet
ทำในอาสาสมัคร อายุ > 50 ปี ที่ แข็งแรงดี
ถ้ามีโรคประจำตัวต้องคุมได้ดี จำนวน 830 คน
โดย เทียบระหว่าง ฉีดแบบเดียวกัน ทั้งเข็ม 1 และ 2
กับ ฉีดเข็มแรกกับเข็มที่ 2 คนละชนิด
วัคซีนที่ใช้คือ Astrazeneca (AZ) + PFizer (PF)
ทำให้มี การฉีด 4 แบบ คือ AZ+AZ กับ AZ+PF กับ PF+AZ และ PF+PF
และเทียบระหว่าง ฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์ (463 คน)กับ 12 สัปดาห์ (367คน)
ทำให้มีกลุ่มทดลอง ทั้งหมด 8 กลุ่ม
เทียบกันเองภายใน 8 กลุ่มทดลอง ไม่มี Placebo group
ผลการศึกษาในขั้นต้นของผู้เข้าร่วมการวิจัย 4 กลุ่มแรก
ที่ฉีดครบ 2 เข็มใน 4 สัปดาห์พบว่า
การฉีดวัคซีน 2 ชนิดที่แตกต่างกัน
มีผลข้างเคียงด้าน systemic มากกว่า แบบ การฉีดชนิดเดียว
แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงทำให้นอนโรงพยาบาล
ไม่พบอุบัติการณ์ของลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ
https://www.bbc.com/news/health-57075503
อย่างไรก็ตามก็เป็นการศึกษาในขั้นต้นแค่ระดับ 463 คน
ทำให้อาจจะยังไม่พบ incidenceของ VITT ได้
โดยสรุปแล้ว
งานวิจัยทั้ง 2 งาน
แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการฉีดวัคซีนข้ามแพลตฟอร์ม
น่าจะมีผลดีด้านการกระตุ้นภูมิที่ดีขึ้น
แต่มีกลุ่มตัวอย่างคนละกลุ่ม
Spain คนอายุน้อย Uk คนอายุเยอะ
Spain ฉีด กระตุ้น 8 wk แต่ Uk ฉีด ใน 4 wk
ทำให้ การศึกษาใน UK เหมือนจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อยที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามผลการศึกษาทั้ง 2 งานวิจัยนั้น
ยังเป็นผลการศึกษาในขั้นต้นที่ยังไม่เสร็จสิ้น
อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างยังมีปริมาณน้อย
แค่ หลักร้อย รวมกัน 2 งานวิจัย ไม่ถึง 2 พันคน
ทำให้อาจจะยังไม่เจอผลข้างเคียงรุนแรง ที่พบน้อย
ดังนั้นปัจจุบันจึงยังแนะนำให้ใช้วัคซีนเข็ม 1 และ 2 เป็นชนิดเดียวกันตามเดิมก่อน เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัย
แต่
คงต้องติดตามการศึกษาทั้งสองการศึกษาต่อไป
ว่าจะส่งผลให้เปลี่ยน วิธีการฉีดวัคซีนหรือไม่
1
และจากข้อมูลข้างต้น การฉีดวัคซีนข้ามแพลตฟอร์ม
น่าจะส่งผลดีต่อการกระตุ้นภูมิ
โดยเฉพาะกลุ่มViral vector Vaccine
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
Viral vector เข็มที่ 2 จะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิที่ลดลง
เนื่องจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อViral vector แล้ว
ทำให้ส่งยีน spike proteinเข้า cell ได้ลดลง
Viral vector Vaccine อย่าง Spunik V
จึงใช้ Viral vectorในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แตกต่างกัน
เพื่อลดภูมิคุ้มกันที่เกิดต่อตัวViral vector
ดังนั้น การข้ามไปใช้ vaccine คนละชนิดเลย
จึงน่าจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ดีมาก
ส่งผลให้น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพของ vaccine ได้
จึงมีโอกาสที่ Booster เข็ม 3 ของคนที่ฉีดครบ
น่าจะต้องเปลี่ยนชนิดของ Vaccine
1
ดังนั้น คนที่ยังรอ หรือ ลังเลว่าจะฉีดหรือไม่
จากข้อมูลนี้ คงไม่ต้องลังเล ฉีดไปก่อน
แล้วค่อยไป boost เพิ่ม เป็น Vaccine คนละประเภทที่หลัง
โดยที่เงื่อนไข เข็มแรก ต้องเป็น AZ
เพราะมีข้อมูลจากงานวิจัยอ้างอิง
2
สำหรับ Sinovac ยังไม่มีข้อมูลสำหรับการ combination ณ ขณะนี้
1
ส่วนรัฐบาลคงต้องรีบเร่งให้ SiamBioScience
รีบส่งมอบวัคซีนAZ ให้ได้ตามที่วันที่นัดหมายโดยเร็ว
เพราะ Early delivery ที่สัญญาไว้ 1.7 ล้าน
น่าจะไม่มีแล้ว คงต้องรอลุ้นว่า 1มิ.ย.64
ว่าจะจัดส่ง 6 ล้าน dose ได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
3
รวมถึงการจัดหา Vaccine ทางเลือก
โดยเฉพาะ m-RNA เข้ามาให้มากที่สุด
เพื่อรองรับการ Booster เข็ม 3 หรือ
เผื่อในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ B1351
1
โฆษณา