26 พ.ค. 2021 เวลา 07:39 • สิ่งแวดล้อม
สวัสดีครับ ถ้าใครที่เป็นแฟนอนิเมะผมคิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยเห็นดอกไม้ชนิดนี้ ดอกไม้สีแดงที่มักจะโผล่มาให้เห็นบ่อยๆในอนิเมะ เช่น ในเพลงปิดของดาบพิฆาตอสูร ฉากกลายร่างเป็นกูลของคาเนกิในโตเกียวกูล หรือจะเป็นเรื่องอื่นๆก็มักจะมีดอกไม้ชนิดนี้โผล่มาบ่อยๆ แล้วทุกคนเคยสงสัยมั้ยครับว่าดอกไม้ชนิดนี้มันมีความหมายว่ายังไง ทำไมมันถึงโผล่มาในอนิเมะบ่อยๆ แต่ละเรื่องที่โผล่มามีจุดร่วมอะไรกันบ้าง วันนี้ผมโอตาคุใส่แว่นจะมาเล่าให้ฟังครับ
🙏 ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://cities.trueid.net
#KimetsunoYaiba #TokyoGhoul #อนิเมะ #Anime
#โอตาคุใส่แว่น
ดอกฮิกันบานะ มีถิ่นฐานอยู่ที่ญี่ปุ่นถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พลับพลึงสีแดง” หรือในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Red spider lilies ในญี่ปุ่นต่างก็มีชื่อเรียกดอกไม้ชนิดนี้แตกต่างกันออกไปแต่ทุกชื่อก็สื่อไปในทางที่ไม่ดีหรืออาจเกี่ยวกับความตายและความโชคร้าย ฮิกันบานะเป็นดอกไม้สีแดงที่จะบานในช่วงวันวสันตวิษุวัตในฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือและเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันจะยาวเท่ากับช่วงกลางคืน ซึ่งดอกฮิกันบานะจะบานในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
ความพิเศษของดอกฮิกันบานะคือเป็นดอกไม้มีพิษ ในกระเปาะของมันจะมีสารพิษที่เรียกว่า แอลคาลอยด์ หากจะนำมารับประทานก็ต้องละลายพิษให้สะอาดก่อน หากล้างไม่สะอาดจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น อาเจียนและท้องเสีย จนถึงเสียชีวิตได้ และเพราะพิษของมันคนญี่ปุ่นมักจะปลูกฮิกันบานะไว้รอบๆหลุมศพเพื่อป้องกันไม่ให้มีสัตว์ต่างๆเข้ามาทำลายหลุมศพจึงทำให้ดอกฮิกันบานะถูกเรียกว่าเป็นดอกไม้ที่อยู่คู่กับหลุมศพ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าสีแดงของดอกฮิกันบานะมาจากการที่ดอกไม้ดูดเลือดของศพขึ้นมาจึงกลายเป็นสีแดงและถูกนิยมใช้สำหรับงานศพ ในงานเขียนของชาวพุทธโบราณเองก็มีการกล่าวถึงดอกฮิกาบานะไว้ว่าจะนำทางวิญญาณคนตายสู่วัฏจักรของการเกิดใหม่อีกด้วย
ที่มาของความหมายการจากลาของดอกฮิกันบานะคือ เนื่องจากดอกและใบของมันจะไม่ขึ้นพร้อมกัน เมื่อดอกไม้เหี่ยวแห้งและลำต้นผุพังไป เราจึงจะเห็นใบไม้ขึ้นมา ทำให้เราไม่มีทางมองเห็นทั้งดอก ลำต้น และใบในเวลาเดียวกัน ดอกฮิกันบานะจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการจากลาที่ไม่มีวันได้พบเจอกันอีกนั่นเองครับ
โฆษณา