ถ้วยกาแฟของฉัน ☕️
.
ในปี 1991 Daniel Kahneman และทีมงานนักเศรษฐศาสตร์ได้ทดลองแบ่งนักเรียน Cornell University ออกเป็น 2 กลุ่ม
.
พวกเขามอบแก้วกาแฟให้กับนักเรียนกลุ่มแรกเป็นเจ้าของ ส่วนกลุ่มที่สองให้มองเห็นแก้วกาแฟนั้นแค่ผ่านตาเท่านั้น
.
หลังจากที่ให้นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มลองตั้งราคาให้กับแก้วกาแฟใบนี้ ปรากฏว่ากลุ่มแรกโดยเฉลี่ยจะตั้งราคาแก้วนี้ไม่ต่ำกว่า 5.25 เหรียญ แต่กลุ่มที่สองจะตั้งราคาให้มันไม่เกินไปกว่า 2.75 เหรียญ
.
นี่คือพลังของความรู้สึกการเป็นเจ้าของ แน่นอนว่าปรากฏการณ์นี้มีนัยสำคัญในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก ลองมาดูกันว่า เราจะนำมันไปประยุกต์ใช้ในการทำการตลาดได้อย่างไร
========================
“Endowment Effect” และกลยุทธ์การทำการตลาด 🔥
.
ในเชิงการตลาด เราสามารถใช้ประโยชน์จาก Endowment Effect ได้มากมาย อาทิ การแจกสินค้าตัวอย่าง (product samples) การให้เวลาทดลองใช้สินค้าฟรี (trial period) การให้ทดลองขับ ( test drives) หรือแพคเกจบริการที่ให้ใช้ฟรีแล้วค่อยคิดเงินเพิ่มต่างๆ (Freemium)
.
ยกตัวอย่าง เช่น Google Drive มีพื้นที่ 15 GB ให้เราใช้กันฟรี แต่พอเราใช้ไปนานๆ เก็บข้อมูลจนเต็มแล้ว เราก็มีแนวโน้มอยากจะอัพเกรด เพราะไม่อยากสูญเสียข้อมูลมากมายของตัวเองที่เก็บไว้
.
ร้านแว่นตา ที่ส่งแว่นตาให้ลูกค้าได้ทดองใส่ก่อนเป็นเวลา 7 วันแล้วค่อยส่งคืน การ Test Drive หรือแม้กระทั่งให้รถยนต์ไปลองขับหลายๆ วันแล้วค่อยส่งคืน
.
ร้าน iStudio ที่ให้ลูกค้าได้จับ สัมผัส ทดลองเล่นมือถือ iPad และคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระ รวมถึงซอฟท์แวร์โปรแกรมต่างๆ ที่มักให้เราทดลองใช้ฟรีแบบ 30 วัน พอเราใช้ไปนานๆ มีการปรับ setting ต่างๆ ให้เหมาะกับตัวเรา เราก็มีแนวโน้มอยากจะใช้มันต่อ ไม่อยากทิ้งมันไป
========================
หัวใจสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ ยิ่งเราให้เวลาและมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้ามากเท่าไหร่ สินค้านั้นก็จะยิ่งรู้สึกเป็น “ของๆเรา” มากขึ้นเท่านั้น และก็นั่นแหละค่ะ.. เราจะไม่อยากสูญเสียมันไป (loss aversion)
.
รู้แบบนี้แล้ว ก็ลองนำแนวคิด Endowment Effect นี้ ไปลองประยุกต์ใช้กันดูนะคะ และในทางกลับกัน เราเองในฐานะผู้บริโภคก็จะได้รู้เท่าทันกลยุทธ์นี้ของเหล่าธุรกิจต่างๆ ด้วยค่ะ 😉