28 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • ข่าว
ลูกหนี้ กยศ. อเมริกันฝันถล่ม ไบเดนยกเลิกนโยบายล้างหนี้
42 ล้านคนต้องใช้หนี้นับหมื่นดอลลาร์ จากค่าเทอมแสนแพง
4
ชาวอเมริกันที่ติดหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการเรียน (Student Loan) คล้ายๆ กับเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ของไทยจำนวนกว่า 42 ล้านคน ซึ่งเฝ้ารอว่านโยบายที่ ‘โจ ไบเดน’ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยหาเสียงไว้สมัยเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งที่สัญญาว่าจะล้างหนี้ กยศ. ให้กับชาวอเมริกันสูงสุดถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน หรือราว 3.1 แสนบาท ซึ่งนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่เลยทีเดียว โดยที่ในสัปดาห์หน้าจะมีการประกาศงบประมาณประจำปีของรัฐบาล และหลายฝ่ายต่างเฝ้ารอว่า นโยบายล้างหนี้ กยศ.จะผลักดันผ่านงบประมาณให้คนอเมริกันได้หายใจหายคอโล่งๆ ด้วยหรือไม่
2
แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะต้องฝันค้าง ฝันสลาย ฝันถล่มเสียแล้ว เมื่อไบเดนให้สัมภาษณ์กับ The New York Times โดยเป็นการกลับคำพูดที่เคยหาเสียงเอาไว้ สั่งยกเลิกนโยบายล้างหนี้ กยศ. และจะไม่มีการผ่านร่างกฎหมายนี้ในการประกาศงบประมาณแน่นอน
1
“ผมเองได้ทบทวนดีแล้วต่อนโยบายนี้ คุณคิดว่าการที่คุณได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและจ่ายค่าเล่าเรียนปีละ 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.18 ล้านบาท) แล้วคุณจะให้สาธารณชนคนอื่นมาจ่ายให้คุณเหรอ? ผมไม่เห็นด้วยหรอก”
1
จริงๆ แล้วนโยบายล้างหนี้ กยศ. ของไบเดนเคยเสนอให้ยกหนี้สูงสุดถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน หรือราว 1.56 ล้านบาท แต่ได้รับเสียงคัดค้านกดดันจากสมาชิกพรรคเดโมแครต รวมทั้ง ‘ชัค ชูเมอร์’ ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา เนื่องจากมูลหนี้นั้นสูงเกินไป
ภายหลังมีการปรับลดให้เหลือเพียงแค่คนละไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเสียงสนับสนุนในพรรคส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภา
ก่อนหน้านี้ตัวแทนของทำเนียบขาวเคยกล่าวว่า ไบเดนต้องการเห็นสภาคองเกรสผ่านกฎหมายเพื่อล้างหนี้ กยศ. มากกว่าผ่านคำสั่งในระดับผู้บริหารในรัฐบาล โดยได้ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษา ‘มิเกล คาร์โดนา’ พิจารณาว่าประธานาธิบดีมีอำนาจตามกฎหมายในการออกคำสั่งเพื่อการล้างหนี้ กยศ.หรือไม่
1
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 'เจน ซากี' โฆษกทำเนียบขาวกล่าวว่า มีความพยายาม 'สำรวจทางเลือก' ที่เกี่ยวกับนโยบายเงินกู้ กยศ.
'ประธานาธิบดียังคงเรียกร้องให้สภาคองเกรสยกเลิกหนี้ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา นั่นเป็นสิ่งที่สภาสูงสามารถดำเนินการได้และเขายินดีที่จะลงนาม'
3
'การที่ไบเดนสามารถที่จะผลักดันนโยบายล้างหนี้ กยศ. ได้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นไม้ตายสำคัญที่ทำให้ชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนเทคะแนนเสียงสนับสนุนในทันที และช่วยปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของคะแนนเสียงในหลายๆ พื้นที่ พร้อมกับเสียงชื่นชมว่า นี่เป็นการดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่'
1
แต่สุดท้ายก็อย่างที่เป็นข่าวออกมาว่า นโยบายดังกล่าวได้ถูกยกเลิกกลางคัน ซึ่งสร้างความผิดหวังอย่างมากสำหรับชาวอเมริกันที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการเงินจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ผู้คนมีรายได้ลดลง ตกงาน ถูกฟ้องขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัย แต่หนี้สินต่างๆ ยังคงเท่าเดิม
1
สำหรับชาวอเมริกัน 42 ล้านคนที่เป็นหนี้ กยศ. โดยเฉลี่ยแล้วมีหนี้สินคงค้างต่อคนราว 36,520 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.14 ล้านบาท ซึ่งค่าเทอมสำหรับการเรียนในระดับอุดมศึกษาในสหรัฐฯ นับว่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และระยะเวลาในการใช้คืนหนี้ กยศ. ทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 ปี มิเช่นนั้นจะเจอกับดอกเบี้ยและค่าปรับหลายหมื่นดอลลาร์สหรัฐ
3
🔵 รูปแบบ กยศ. อเมริกันเป็นอย่างไร?
ในประเทศไทยหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ขอใช้สิทธิ์ในการกู้ยืมเงินผ่านกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ซึ่งในตรงนี้จะไม่ขออธิบายเพิ่มเติม เพราะเป็นสิ่งที่น่าจะทราบกันดีว่า ถ้าจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นแต่อาจจะไม่ได้มีทุนทรัพย์มากเพียงพอ ระบบการศึกษาของไทยก็มีเงิน กยศ.ให้กู้เรียน โดยการสมัครแจ้งความประสงค์ พร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆ กับสถาบันการศึกษา แล้วก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนจนได้เงินกู้เรียนมากระทั่งจบการศึกษา หลังจากนั้นก็ผ่อนใช้คืนจนหมดเมื่อได้งานทำมีเงินเดือน (แต่ก็มักมีคนเห็นแก่ตัวไม่ยอมใช้คืนอยู่ไม่น้อย) นั่นเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีสิทธิ์ตัดสินใจได้เองว่าจะกู้หรือไม่
แต่ในสหรัฐฯ แตกต่างกันออกไป ข้อมูลจากนักศึกษาชาวไทยที่ไปเรียนในระดับปริญญาที่สหรัฐฯ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับ Reporter Journey ว่า ทุนกู้ยืมเรียนของสหรัฐฯ ก็มีให้สำหรับนักทั้งคนอเมริกันและศึกษาต่างชาติเช่นกัน โดยเป็นรูปแบบ Private Loan หรือเงินกู้ส่วนบุคคล กับ Institutional Loan หรือเงินกู้สถาบัน
2
โดยส่วนใหญ่นักศึกษานิยมกู้เรียนแบบ Institutional Loan คือ ต้องได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยที่จะกู้ก่อน เป็นหนึ่งในเงินช่วยเหลือเพื่อการศึกษามาเป็นแพ็คเกจที่เรียกว่า Financial Aid ซึ่งรัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้บางส่วนให้ ที่เหลือจะต้องกู้อัตโนมัติ
1
ถ้าผู้เรียนประสงค์ที่จะรับแพ็คเกจนั้นๆ ทางมหาวิทยาลัยที่สอบติดจะเป็นคนเลือกให้ว่า แผนการกู้แบบใดมีความเหมาะสม โดยแต่ละแผนก็จะกู้ไม่เท่ากัน บางส่วนอาจต้องออกเงินสมทบเอง 10% 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับความเก่งของแต่ละคนตามเกรดเฉลี่ยตอนจบไฮสคูล ผู้เรียนจะไม่สามารถเลือกนอกเหนือแพ็คเกจได้ ซึ่งก็เหมือนกับเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนเลือกที่จะเรียนต่อ
2
ในกรณีที่อยากศึกษาต่อแต่ฐานะทางบ้านไม่ดี หรือไม่มีทุนมากเพียงพอที่จะส่งเรียน ก็ต้องไปหาทุนการศึกษาอื่นๆ แยกต่างหากเอง เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่กู้มา ซึ่งสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ค่าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแพงสุดในโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทำไมนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องรับจ้างทำงานพิเศษ
2
ผู้ให้ข้อมูลเล่าว่า เขาจบจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) โดยมีค่าเรียนต่อปีที่ 38,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.18 ล้านบาท เรียนทั้งหมด 4 ปี ก็มีค่าใช้จ่ายราว 152,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 4.75 ล้านบาท เขาได้แพ็คเกจแบบให้ทุนเต็มจำนวนไม่ต้องเสียแต่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยรัฐบาลจะออกให้ 70% อีก 30% ต้องกู้ยืม
5
สรุปก็คือ เขาเป็นหนี้กับรัฐบาลสหรัฐฯ รวม 100% โดยเป็นเงินกู้ราว 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 125,160 บาท ซึ่งหลังจบการศึกษาจะต้องใช้คืนภายใน 10 ปี เฉลี่ยเดือนละ 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 470 บาท ไม่รวมดอกเบี้ย และมีดอกเบี้ยปรับถ้าผ่อนเกิน 3 เดือนหลังจบ ซึ่งเขาจบในปี 2015 เลยเลือกที่จ่ายเต็มจำนวนไปเลย เพราะการผ่อนชำระมีดอกเบี้ยแพงมาก ถ้าจ่ายตามแบบแผน 10 ปี ซึ่งดอกเบี้ยที่เพิ่มมาจากเงินต้น 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ อาจจะรวมกันแล้วต้องจ่ายเป็นหมื่นดอลลาร์สหรัฐ ก็เลยจ่ายให้หมดไปทีเดียวเลย ยอมกัดก้อนเกลือกินภายใน 3 เดือนหลังเรียนจบ
4
ผู้ให้ข้อมูลยอมรับว่า ระบบนี้ค่อนข้างน่ากลัวมาก คนอเมริกันส่วนใหญ่ติดหนี้ กยศ. ไปจนตาย เพราะมีหนี้หลายก้อนเหลือเกิน ยังไม่พูดถึงคนที่เกรดเฉลี่ยไม่สูง ก็ต้องกู้มากกว่าเป็นหมื่นดอลลาร์สหรัฐ คือจะไม่กู้ก็ไม่ได้ เพราะถ้าไม่กู้ก็ต้องโปะเงินตั้งแต่ตอนรับแพ็คเกจ Financial Aid แล้ว อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า รัฐบาลออกเงินให้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ตัวเองจ่ายแค่ 20% หรือประมาณ 10,000 - 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 312,900 – 625,800 บาท รัฐบาลออกให้เป็นล้านบาทแล้วคงไม่เป็นไรหรอก ผ่อนจ่ายตั้ง 10 ปี แต่หารู้ไม่พอเรียนจบมาแล้วเจอดอกเบี้ยบานสะสม ซึ่งปกติไม่ค่อยมีใครจ่ายรวดเดียวทั้งหมดแบบเขา เพราะส่วนใหญ่ก็ผ่อน 10 ปี กัน สุดท้ายมารู้เอาตอนโตทำงานแล้ว จึงได้รู้ว่ามันคือการหลอกให้จ่ายดอกเบี้ยล้วนๆ เพราะถ้าจ่ายเงินก้อนหลังเรียนจบอาจจะถูกกว่าครึ่งหนึ่งเลย
3
ดังนั้นคนอเมริกันที่ไม่ได้มีฐานะ มักเลือกที่จะไม่เรียนต่อในระดับปริญญาทันทีหลังเรียนจบไฮสคูล หรืออาจไม่เรียนแล้วไปทำงานเลย หรือถ้าอยากเรียนต่อก็จะเรียนระดับอนุปริญญาก่อน 2 ปี แล้วค่อยมาต่อมหาวิทยาลัย เพื่อเอาใบปริญญาตรีอีก 2 ปี ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณหนึ่ง โดยปกติมีไม่ถึง 50% ของเด็กจบไฮสคูลที่จะต่อมหาวิทยาลัย เพราะค่าเรียนมันแพง อย่างโรงเรียนที่ผู้ให้ข้อมูลเรียนจบมามีนักเรียนไม่ถึง 30% ในรุ่นเรียนที่เรียนต่อระดับมหาวิทยลัย ที่เหลือไปทำงานเก็บเงินแทน
1
🔵 มหาวิทยาลัยไม่ใช่สำหรับทุกคน
1
นับตั้งแต่ปี 2016 หนี้สินเพื่อการศึกษาของสหรัฐฯ มีมูลค่าหนี้พุ่งทะยานสูงขึ้นเป็น 1.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 47.87 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าหนี้บัตรเครดิตและหนี้กู้ยืมเพื่อซื้อรถยนต์ กลายเป็นหนี้ที่มูลค่าสูงอันดับ 2 รองจากหนี้กู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 62.58 ล้านล้านบาท ในปี 2022
1
โดยผู้ที่เป็นหนี้ กยศ. ส่วนใหญ่คือกลุ่มคนในครอบครัวที่เป็นชนชั้นกลาง หรือชนชั้นแรงงานที่มีรายได้ไม่สูง และมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาแพงขึ้นเกือบ 400% ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
1
ความเชื่อที่ว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะไต่เต้าสู่อนาคตที่รุ่งโรจน์กว่าเดิมจึงอาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะต้องแบกหนี้สินก้อนใหญ่ติดตัวไปอีกนับสิบปีหากต้องการเรียนจบปริญญา
1
โดยเฉลี่ยแล้ว คนอเมริกันมักแบ่งรายได้ราว 10% เข้าบัญชีเงินออมเพื่อการเกษียณ แต่ผู้มีหนี้การศึกษาจะเก็บออมได้ไม่ถึง 5% บางคนถึงกับต้องระงับการเก็บออมเพื่อการเกษียณไปก่อน เป็นผลให้ชีวิตหลังเกษียณของคนกลุ่มนี้มีความน่าเป็นห่วงไม่น้อย
หนี้การศึกษายังทำให้โอกาสที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองของคนกลุ่มนี้ลดน้อยลงมาก รายงานของสมาคมนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติระบุว่า ประชากรอเมริกันราว 45 ล้านคน มีหนี้สินจากการศึกษา และราว 1 ใน 5 มีหนี้การศึกษาสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่านั้น โดย 83% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 22-35 ปี กล่าวโทษว่าหนี้สินการศึกษาทำให้ตนไม่สามารถซื้อบ้านได้ ไม่เพียงเท่านั้น ราว 16% เปิดเผยว่าพวกเขาจำเป็นต้องพักเรื่องการขยายครอบครัวไว้ก่อน เนื่องจากการมีลูกย่อมทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก
2
ทั้งนี้ลูกหนี้ กยศ. จำนวนมากมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด สัดส่วนของการผิดนัดชำระหนี้ จนทำให้ต้องเสียค่าปรับ หรือถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยเพิ่งสูงขึ้น กระทบต่อเครดิตทางการเงิน ซึ่งอัตราการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ระหว่างปี 2003 และ ปี 2011 คาดการณ์กันว่าเมื่อถึงปี 2023 จำนวนผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 40%
ดังนั้นจึงเป็นนโยบายที่ไบเดน พยายามชูขึ้นมาตอนหาเสียง เพราะเล็งเห็นถึงปัญหานี้ที่สั่งสมมายาวนาน และมันทำให้เขาได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นจนชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2020
1
แต่สุดท้ายฝันของผู้ที่ต้องการจะลดหนี้ กยศ.ลงอาจเป็นต้องพังทลาย เพราะดูเหมือนว่าจะไม่มีการผลักดันนโยบายอย่างที่เคยให้คำมั่นสัญญา และลูกหนี้ กยศ. 42 ล้านกว่าคนก็ต้องก้มหน้าก้มตาใช้หนี้กันเหมือนเดิมต่อไป
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา