5 มิ.ย. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
《หมังจ้ง ร้อนมา ท้องนาเปลี่ยนเป็นสีทอง(芒种节气)》
ความเป็นมาพอสังเขป(历史渊源简介)
.
“หมังจ้ง(芒种)” ถ้าแปลตามรูปศัพท์หมายถึง “ข้าวมีหนวดนั้นพร้อมเก็บเก็บ ข้าวมีหนวดก็พร้อมปลูก【有芒的麦子快收,有芒的稻子可种】” ดังนั้นจึงสามารถเรียกอนุฤดูนี้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า “หมังจ้ง(忙种)” ที่หมายถึงช่วงวุ่นๆ ของการเพาะปลูก
.
อนุฤดูหมังจ้ง(芒种节气)เป็นอนุฤดูที่ 9 จากทั้งหมดและยังเป็นอนุฤดูที่ 3 ของฤดูร้อนอีกด้วย โดยปกติแล้วอนุฤดูนี้จะตรงกับวันที่ 5 หรือ 6 มิถุนายนของทุกปีตามปฏิทินสากล เมื่อดวงอาทิตย์ทำมุมที่ 75 องศาจึงถือว่าเข้าสู่หมังจ้งแล้ว อุณหภูมิในช่วงนี้ก็ร้อนขึ้นกว่าช่วงเสียวหม่านและมีปริมาณฝนค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน
ที่มาของฤดูกาล(节气由来)
.
“หมังจ้ง(芒种)” มีปรากฎในตำราพิธีที่กรรมราชวงศ์โจว(《周礼》)อันเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดได้ระบุความตอนหนึ่งว่า: “กอหญ้าเติบโตข้างริมน้ำ ข้าวที่ปลูกก็สุกเต็มที่【泽草所生,种之芒种。】” ต่อมาในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกมีนักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อคนหนึ่งนามว่า “เจิ้งเซวียน(东汉末年—儒家郑玄)” ได้ทำการขยายความเพิ่มเติมไว้ว่า: “กอหญ้าที่เติบโต ที่ไหนก็ปลูกพืชได้ เข้าสู่หมังจ้งก็หว่านข้าวสาลี【泽草之所生,其他可种芒种,芒种,稻麦也。】”
.
หมังจ้ง(芒种)ยังเป็นหนึ่งในคำศัพท์จากหนังสือ “อภิธานศัพท์ 72 ช่วงฤดูกาล《月令七十二候集解》” โดยได้ระบุไว้ว่า: “ในยามเดือนห้า ว่ากันว่าหากมีหนวดข้าวก็เริ่มเก็บและเพาะใหม่【五月节,谓有芒之种谷可稼种矣。】” ความหมายก็คือหากพบว่าข้าวที่ปลูกไม่ว่างจะต้นเล็กหรือใหญ่เมื่อมีหนวดยื่นยาวออกมา จึงสามารถทำการเก็บเกี่ยวและเพาะปลูกใหม่ได้ ดังนั้นนี่จึงเป็นที่มาของชื่ออนุฤดู “หมังจ้ง(芒种)” หรือสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หมังจ้ง(忙种)” แม้ว่าจะเป็นคำพ้องเสียงแต่ความหมายนั้นต่างกัน เหตุที่เรียกแบบนี้ก็เป็นเพราะว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวนาวุ่นๆ อยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวที่สุกและปลูกข้าวที่ยังอ่อนอยู่ ดังนั้นเป็นความหมายตามรูปศัพท์ “忙种” ที่หมายถึงช่วงวุ่นวายของการเพาะปลูก
.
นอกจากนี้หมังจ้งยังอยู่ระหว่างอนุฤดูเสียวหม่าน(小满)และเซี่ยจื้อ(夏至)ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของจุดเปลี่ยนตามวิถีดาราจักรคือ กำลังจะสู่ช่วงที่กลางวันยาวนานกว่ากลางคืนนั่นเอง
หมังจ้งสามช่วง(芒种三候)
.
ช่วงที่ 1 ตั๊กแตนตำข้าวเกิด(一候螳螂生):ตั๊กแตนตำข้าวจะวางไข่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงของปีก่อนหน้า และเมื่อถึงช่วงหมังจ้งไข่ที่วางไว้ก็จะฟักออกมาเป็นตั๊กแตนตัวเล็กๆ
.
ช่วงที่ 2 นกอีเสือซ้องเสียง(二候䴗始鸣):นกอีเสือเป็นนกประเภทนักล่าขนาดเล็กและรักสงบ เมื่อเข้าหมังจ้งก็จะพบพวกมันร้องส่งเสียงอยู่บนต้นไม้และที่ร่มเงา
.
ช่วงที่ 3 นกม็อกกิ้งไร้เสียง(三候反舌无声):ม็อกกิ้งเบิร์ดเป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษกว่าชนิดอื่นคือมันสามารถเลียนเสียงนกชนิดอื่นได้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงหมังจ้งมันกลับไม่แม้แต่จะส่งเสียงออกมา
ประเพณีนิยมในช่วงอนุฤดูหมังจ้ง(芒种节气习俗)
.
ส่งผกาแห่งเทพเจ้า(送花神):วันที่ 20 เดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติจีนคือเทศกาลบุปผาสะพรั่ง(花朝节)หรือพูดได้ว่าเป็น “วันเกิดของมวลดอกไม้” เป็นเวลากว่าห้าเดือนกว่าจะถึงช่วงหมังจ้ง มวลดอกไม้ก็เริ่มเหี่ยวเฉาไปตามกาลเวลา แต่เพื่อไม่ให้ดอกไม้เหล่านั้นต้องเฉาไปมากกว่านี้ ชาวจีนจึงจัดเทศกาลดอกไม้ขึ้นเพื่อนำดอกไม้ที่ตนปลูกมาบูชาแก่เทพแห่งดอกไม้(花神)เพื่อตอบแทนบุญคุณและเป็นสื่อกลางว่าเราจะพบกันใหม่ในปีหน้า
.
เทศกาลอันเหมียว(安苗节):อันเหมียวเป็นเทศกาลเก่าแก่ทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุย(安徽省皖南)ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงตอนต้น ทุกปีเมื่อเข้าสู่หมังจ้ง หลังจากที่ชาวนาปลูกข้าวเสร็จแล้ว เพื่อขออธิษฐานให้ได้ผลผลิตที่ดีในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ทั่วทุกหนแห่งจึงจัดพิธีบวงสรวงอันเหมียวขึ้นมา โดยบนโต๊ะบูชาจะมีเนื้อสัตว์ปีก 6 ชนิด(六畜)ธัญพืชทั้ง 5 (五谷)และรวงข้าวอ่อนๆ
.
สงครามโคลน(打泥巴仗):เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของกุ้ยโจว(贵州东南)โดยเป็นกิจกรรมที่ชายหนุ่มหญิงสาวเล่นกันระหว่างปลูกต้นข้าว หากบนร่างกายใครมีโคลนแปะมากที่สุดจะถือว่าเป็นที่ฮอตมากที่สุด ซึ่งสงครามโคลนนี้ยังแฝงไปด้วยความเชื่อเรื่องมนุษย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูล:
宋英杰.节选自《二十四节气》—芒种节气[M].[2021-05-28].
โฆษณา