Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ajarn Run
•
ติดตาม
29 พ.ค. 2021 เวลา 08:46 • การศึกษา
HACCP คือ อะไร ?
คือ ระบบการวิเคราะห์อันตราย
และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
(Hazard Analysis and
Critical Control Points (HACCP))
เป็นระบบการวิเคราะห์และประเมินอันตราย
ของอาหารที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค
ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต
การขนส่งจนถึงกระทั่งถึงมือผู้บริโภค
และกำหนดมาตรการการควบคุม
เพื่อขจัด หรือ ลด สาเหตุที่ทำให้เกิด
อันตรายต่อผู้บริโภค
=====================
ประกอบด้วย 12 ขั้นตอน (7 หลักการ)
=====================
ขั้นตอนที่ 1 การจัดตั้งคณะทำงาน HACCP
การจัดตั้งทีมงาน HACCP ทีมงานที่
หลากหลายความรู้และประสบการณ์
อาจมาจากบุคลากรฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
เช่น ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายประกันคุณภาพ
ฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์
ฝ่ายสุขาภิบาล ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
และควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต
อันตรายในอาหาร
GMP HACCP เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 2 การบรรยายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์และ
ข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เช่น
ลักษณะทางกายภาพ/เคมี (เช่น water activity
, pH เป็นต้น) ภาชนะบรรจุ อายุการเก็บรักษา
และสภาวะการเก็บรักษา เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งาน
และกลุ่มผู้บริโภค
และระบุวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์และ
กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
รวมถึงผู้บริโภคบางกลุ่มที่มีความเสี่ยง
เช่น ผู้ที่แพ้สารอาหารบางประเภท เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 4 จัดทำแผนภูมิการผลิต
ทีมงาน HACCP จัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต
ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการทำงานของ
แต่ละผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมเช่น ขั้นตอนผลิต
ตามลำดับ วัตถุดิบ ส่วนผสมทุกรายการ
บรรจุภัณฑ์ รวมถึงสาธารณูปโภค
กระบวนการที่มีการทำใหม่
และนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 5 ทวนสอบ แผนภูมิการผลิต
ณ จุดผลิตจริง
ทีม HACCP นำแผนภูมิกระบวนการผลิต
ที่จัดทำขึ้น ไปทวนสอบความถูกต้อง
โดยเปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตจริง (On-site)
=====================
ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดอันตราย
และมาตรการควบคุม (หลักการที่ 1)
ทีมงาน HACCP ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย
ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงในแต่ละขั้นตอน
กระบวนการผลิต ครอบคลุมอันตรายทั้ง 3 ประเภท
คือ
อันตรายชีวภาพ (Biological Hazards)
เช่น เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนจาก
พนักงาน เป็นต้น
อันตรายเคมี (Chemical Hazards) เช่น
ยากำจัดศัตรูพืช สารหล่อลื่นเครื่องจักร เป็นต้น
(รวมถึง สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในอาหาร
สารกัมมันตภาพรังสี )
อันตรายกายภาพ (Physical Hazards)
เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติกแข็ง เป็นต้น
และประเมินความเสี่ยงของโอกาสการเกิดอันตราย
(Likelihood) และความรุนแรงของผลเสีย
ที่มีต่อสุขภาพ (Severity) พร้อมทั้งกำหนด
มาตรการควบคุมอันตราย
และกำหนดมาตรการควบคุม
กำจัดหรือลดปริมาณอันตรายลงไปสู่
ระดับที่ยอมรับได้ ตามความเหมาะสม
ในแต่ละอันตราย
=====================
ขั้นตอนที่ 7 กำหนดจุด CCP (หลักการที่ 2)
ขั้นตอนหรือจุดวิกฤต
(CRITICAL CONTROL POINT : CCP)
ทีม HACCP ดำเนินการวิเคราะห์หาขั้นตอน CCP
โดยอาจประยุกต์ใช้หลักการของแผนภูมิการตัดสินใจ
(decision tree) เพื่อหาขั้นตอนซึ่งสามารถ
ทำการควบคุมได้ และเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกัน
หรือกำจัดอันตราย หรือลดระดับที่ยอมรับได้
=====================
ขั้นตอนที่ 8 กำหนดค่าวิกฤตสำหรับ CCP
แต่ละจุด (หลักการที่ 3)
ทีม HACCP ต้องกำหนดค่าวิกฤต (critical limit)
และตรวจสอบความถูกต้องใช้ได้ (Validation)
ในแต่ละ CCP
เกณฑ์ที่มักใช้รวมทั้งการตรวจวัดค่า
เช่น อุณหภูมิ เวลา ระดับความชื้น
pH aw ปริมาณคลอรีน (available chlorine)
และค่าที่วัดได้จากประสาทสัมผัส
เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 9 กำหนดมาตรการตรวจติดตาม
จุด CCP (หลักการที่ 4)
กำหนดการตรวจวัดค่าวิกฤตในแต่ละ CCP
กำหนดรายการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบ
ความถี่ ผู้รับผิดชอบ และบันทึกการเฝ้าระวังจุดวิกฤต
=====================
ขั้นตอนที่ 10 กำหนดวิธีการแก้ไขเมื่อเบี่ยงเบน
(หลักการที่ 5)
ทีม HACCP ต้องมีการกำหนดการปฏิบัติการแก้ไข
และป้องกันการเกิดซ้ำ เมื่อจุด CCP
เกิดการเบี่ยงเบนจากค่าวิกฤตที่กำหนด
=====================
ขั้นตอนที่ 11 กำหนดมาตรการทวนสอบ
(หลักการที่ 6)
ทีม HACCP กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน
ในการทวนสอบเพื่อประเมินประสิทธิผล
ของแผน HACCP
เช่น HACCP review , Validation ,
Internal audit , Product testing ,
Management review เป็นต้น
=====================
ขั้นตอนที่ 12 จัดทำระบบเอกสารและ
การเก็บบันทึก (หลักการที่ 7)
ระบบ HACCP ต้องจัดทำเป็นเอกสาร
และต้องเป็นฉบับปัจจุบัน
รายการเอกสารของระบบ HACCP
เช่น บรรยายรายละเอียดผลิตภัณฑ์และ
วัตถุประสงค์การนำไปใช้
แผนภูมิกระบวนการผลิต
การวิเคราะห์อันตรายและ
หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
แผนปฏิบัติการ HACCP
(HACCP PLAN)
เป็นต้น
ส่วนบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบ HACCP ที่มีการบันทึกแล้ว
ให้มีการจัดเก็บไว้เป็น
หลักฐานการปฏิบัติงาน
และสามารถเรียกหา
และสอบย้อนกลับได้
เช่น บันทึกการตรวจติดตามจุด CCP
บันทึกการแก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่อง
บันทึกการของกิจกรรมการทวนสอบต่างๆ
เป็นต้น
=====================
ขอให้พวกเราจงเรียนรู้และพัฒนา
ความรู้จะทรงคุณค่า
ถ้าเราพัฒนาและแบ่งปัน
Aj.Run
#HACCP
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย