29 พ.ค. 2021 เวลา 13:43 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า ‘Range’
หรือในภาษาไทยคือ ‘วิชารู้รอบ’
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณ David Epstein
นักเขียนและมีผลงานก่อนหน้านี้คือ The Sports Gene
แปลโดย คุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล
สรุปโดยย่อ
หนังสือเล่มนี้เป็นการบอกว่า
ทำไมรู้กว้างถึงดีกว่ารู้ลึก
โดยใช้งานวิจัยมากมายมายกตัวอย่าง
ก็อย่างที่บอกครับ
หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเป็นคนที่รู้กว้างจะดีกว่าคนที่รู้ลึกอย่างไร
รู้กว้างในที่นี้คือ เก่งในหลายเรื่อง แต่ถ้าเทียบแล้วอาจจะไม่ได้ลึกมาก
รู้ลึกในที่นี้ก็หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ
หนังสือเล่มนี้จะยกงานวิจัยมากมายมารองรับ
และทำให้เห็นว่าสิ่งที่เราเชื่อบางอย่างมันผิด
เช่น การให้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจเรื่องที่ตนเองถนัด
มีความแม่นยำน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ผมได้นำเรื่องที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังกันครับ
จากที่ผมยกตัวอย่างยังเป็นแค่ส่วนเล็กๆในหนังสือ
แต่ผมคิดว่าครอบคลุมเหตุผลที่จะบอกว่าทำไม ‘รู้กว้าง’ ถึงดีกว่า ‘รู้ลึก’
หากใครเห็นว่าไม่ครอบคลุมประเด็นไหน
คอมเมนท์บอกกันได้นะครับ
1
ความคิดเห็นหลังอ่าน
เป็นหนังสือที่อ่านสนุกดีครับ
แต่รู้สึกอ่านไม่ง่ายขนาดนั้น
ตอนผมอ่านผมรู้สึก
เอ้ คนนี้คือใคร
กล่าวไปตอนไหน
เปลี่ยนเรื่อง เปลี่ยนงานวิจัยอีกแล้ว 555
ครอบคลุมตั้งแต่ กีฬา ดนตรี
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์
จิตรกรรม การศึกษา แพทย์ ทหาร ฯลฯ
ใครอ่านเล่มนี้แล้วรู้สึกอย่างไรบอกผมได้นะครับ
2
ชอบในความที่คุณเอปสตีน
หาตัวอย่างมาได้เยอะมาก
กว่าจะเขียนออกมาเป็นเล่มนี้
สมแล้วที่บิลเกตต์แนะนำให้อ่าน
ในส่วนแรก คือ
การเลือกฉพาะทางเร็ว ไม่ดีเสมอไป
🟤 ในบทนำเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง
นักกีฬา 2 คนคือ ไทเกอร์ วูด และ โรเจอร์เฟเดอเรอร์
เป็นตัวแทนของคนรู้ลึก และ รู้กว้างตามลำดับ
ไทเกอร์วูด เล่นกอล์ฟมาตั้งแต่ยังเด็กมากๆ
และฝึกฝนจนประสบความสำเร็จ
เป็นตัวแทนของคนรู้ลึก เพราะฝึกด้านเดียวตั้งแต่อายุน้อย ๆ จนมีความเชี่ยวชาญ
ส่วนโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ เล่นกีฬาหลายอย่างมาก
เล่นทุกชนิดที่มีลักษณะเป็นกลมๆ
จนมาจริงจังกับเทนนิส
เป็นตัวแทนของคนรู้กว้าง
4
จะทำให้คิดว่า เอ้ การเริ่มทำอะไรก่อนอย่างเฉพาะทางเร็ว ๆ มันก็ดีนิ
ถ้าเป็นแบบนี้แล้วทำไมหนังสือเล่มนี้ยังบอกว่า
คนรู้กว้างดีกว่ารู้ลึกละ ?
เพราะว่า กอล์ฟเป็นส่วนยกเว้นครับ
เป็นสถานการณ์ที่อ่อนโยน (kind)
เพราะมันมีกฎเกณฑ์ ที่ชัดเจนเหมือนกับหมากรุก
หากฝึกซ้ำๆ ก็จะเชี่ยวชาญได้
ถ้าเป็นลักษณะนั้นฝึกตั้งแต่เล็กจะดีมากครับ
1
แต่ในความเป็นจริง ทุกๆสถานการณ์
มันไม่ได้อ่อนโยน
แต่เป็นแบบโหดร้าย(wicked)
เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์
มีแต่ความคลุมเครือ ไม่แน่นอน
ความรู้ลึกหรือเชี่ยวชาญอย่างเดียวคงยังไม่พอ
ผมมีตัวอย่าง 2 เรื่อง มายกตัวอย่างครับ
🟤 คนเลือกสายงานเร็วและสายงานช้า
จากการวิเคราะห์ของคุณ โอเฟอร์ มาลามัด
นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
ได้ศึกษาการเปลี่ยนสายงานของนักศึกษาใน 3 ประเทศ คืออังกฤษ เวลส์และสกอตแลนด์
2 ประเทศแรกมีการบังคับเลือกทักษะเฉพาะทางก่อนจะเรียนมหาวิทยาลัย
หรือประมาณเลือกคณะแบบประเทศไทยครับ
ส่วนสกอตแลนด์จะให้เรียนหลายหลายวิชาใน
2 ปีแรก และค่อยเลือกเฉพาะตอนหลัง
ผลปรากฏว่า นักศึกษาอังกฤษและเวลส์มีการเปลี่ยนสายงานจำนวนมาก
ซึ่งต่างจากสกอตแลนด์แทบจะไม่มีเลย
ที่เป็นแบบนี้เพราะนักศึกษาอังกฤษและเวลส์ ไม่เจออาชีพที่ต้องการหรือคุณภาพการเข้าคู่ (match quality)
จากการที่เลือกเร็วไป แล้วมาเจอในสายงานที่ชอบมากกว่าในภายหลัง
ดังนั้นการเลือกเฉพาะทางเร็วไป ไม่มีผลดีเสมอไป
อีกตัวอย่างคือ การเรียนรู้ครับ
จากงานวิจัยได้บอกว่า
เมื่อเทียบครูที่โหดสอนแต่ยากๆ กับ ครูที่ใจดีและสอบผ่านง่ายๆ
ครูในแบบแรกจะให้ประโยชน์กับนักเรียนได้มากกว่า
แม้ช่วงแรกจะยากลำบากมากกว่า
เพราะมันเกิด การเรียนรู้เชิงลึกขึ้นมา
ทำให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้
จึงเกิดคำพูดที่ว่า ‘ทักษะที่ซับซ้อนที่สุดจะเติบโตเชื่องช้าที่สุด’
1
การคิดนอกกรอบจากคนรู้กว้าง
ตัวอย่างที่ผมจะยกมานี้คือ อีกเหตุผลว่าทำไม รู้กว้างจึงดีกว่ารู้ลึก
🟤 การรู้ลึกทำให้ยึดติดกับวัฒนธรรมเดิม ๆ
และมองปัญหาเพียงด้านเดียว
เรื่องนี้เกี่ยวกับอุบัติเหตุของนาซาเกี่ยวกับการปล่อยกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากการยึดติดของนาซาที่ถ้าคนไม่เห็นด้วยมาแย้ง
จะต้องมีข้อมูลเชิงปริมาณ(ตัวเลข) มาด้วย
มีวิศวกรที่พบความผิดปกติของยานแต่ไม่มีข้อมูลมากพอ จึงหาเหตุผลยุติการขึ้นบินครั้งนี้ไม่ได้
ส่งผลให่การปล่อยครั้งนี้
ยานระเบิดและนักบินอวกาศเสียชีวิตทั้งหมด
นี่เป็นตัวอย่างของการยึดติดในมุมมองเดียวของผู้เชี่ยวชาญ
ความยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
และอย่าลืมว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะแก้ไขได้ทุกสิ่ง
การมีความรู้กว้างจะมีประโยชน์มากครับ
2
🟤 การแก้ปัญหาจากคนภายนอก
การผลิตอาหารกระป๋องของนิโกลา อาแปร์
เขาเป็นคนแก้ปัญหาเรื่องถนอมอาหารในยามสงครามให้กับนโปเลียน
เขาใช้ความรู้จากหลากหลายด้านที่เขาสั่งสมมา
ทั้งพ่อค้าไวน์ เชฟ นักทำของดอง คนหมักเบียร์ ฯลฯ
เขาเปรียบเสมือนเป็ด ที่รู้กว้างแต่ไม่มีรู้ลึกเท่าผู้เชี่ยวชาญ
แต่เขานั้นสามารถดึงข้อดีของแต่ละสิ่งที่เขารู้มาผลิตอาหารกระป๋อง
เอาชนะนักวิทยาศาตร์ที่มุ่งเน้นแค่ศาสตร์การถนอมอาหารเพียงอย่างเดียว
1
🟤 วิธีคิดแหวกแนวด้วยเทคโนโลยีขาลง
เรื่องราวของโรงงานผลิตไพ่
ที่จ้างบัณฑิตสาขาอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อว่า กุนเป โยโกอิ
งานของเขาคือดูแลเครื่องผลิตไพ่
ซึ่งหน้าที่มีไม่มาก
เขาจึงมีโอกาสได้ทดลองทำอะไรต่างๆมากมาย
จนถึงวันหนึ่ง
เขาได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยีขาลง มันคือเทคโนโลยีที่ไม่ใหม่ ออกมานานพอที่คนจะรู้จักหมดว่ามันคืออะไร
ค่อยๆปรับ ค่อยๆทำจนออกมาเป็นนินเทนโด เกมบอยในสมัยนั้นที่แพร่หลาย
พกพาได้ง่ายและราคาสามารถเข้าถึงได้
ทำให้ขายไปมากกว่า 118 ล้านชุด
และเขาได้บอกเองว่าถ้าสถานที่ทำงานของเขาไม่ใช่โรงผลิตไพ่ฮาเนะฟุดะ
เขาจะไม่มีวันได้ทำ นินเทนโดออกมาเลย
ถึงแม้เขาจะรอบรู้ในหลายๆด้าน แต่เขาก็ยังคงต้องพึ่งพาคนที่รู้ลึกหรือผู้เชี่ยวชาญในการประดิษฐ์ขึ้นมาอยู่ดีครับ
1
จากที่ได้เห็นว่ารู้กว้าดีกว่าอย่างไร
ในท้ายของเล่มก็มีคำแนะนำดีๆมาฝากครับ
คำแนะนำจากคุณ David Epstein
1 อย่าคิดว่าตนเองตามหลังใคร
จงเปรียบเทียบกับตัวเองเมื่อวันวานเท่านั้น
5
2 เต็มใจเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไขไปเรื่อยๆ
2
3 ความเชี่ยวชาญไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพียงแต่เรียนรู้ตามข้อ 2 ด้วย
1
สำหรับตัวผมเองตอนนี้อยู่ในช่วง
ของการทดลองหา
ตามในหนังสือมันคือช่วงที่เลือกเรียนรู้ตามความต้องการและความสามารถ
พออ่านเล่มนี้ก็ทำให้คิดว่า การที่รู้สึกว่าคนอื่นนั้นทำไมเก่งอย่างงู้นอย่างงี้จัง เชี่ยวชาญด้านนี้เร็วมาก
เกิดมาแล้วเก่งขนาดนั้นได้ไง แท้จริงแล้วมันเกิดจากการทดลอง
เกิดจากการล้มลุกคลุกคลาน ตามหาตนเองมาอย่างมากมาย หรืออาจจะเกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อย
จึงทำให้ผมสรุปจากทั้งหนังสือและผมคิดว่า
จงเรียนรู้เก็บประสบการณืไปเรื่อย ๆ
เปรียบเทียบเฉพาะตนเองในวันวาน
เปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ เรื่อยๆ บางทีความสำเร็จอาจมาหาเราโดยไม่รู้ตัวครับ 😄
ขอบคุณที่รับชมครับ
โฆษณา