6 มิ.ย. 2021 เวลา 08:01 • ธุรกิจ
"หน่อกะลา" สร้างรายได้
ใครได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเกาะเกร็ด มักจะได้พบกันเสน่ห์ของวัดวาอาราม วัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนั้นบนเกาะเกร็ดยังมีของกินอร่อย มีความหลากหลาย เป็นเอกลักษณ์ที่คุณจะหาทานที่ไหนได้ยาก
อย่าง “ทอดมันหน่อกะลา” เมนูเด็ดประจำเกาะเกร็ดที่หาทานข้างนอกได้ยาก แต่หากคุณมาเยือน ณ ที่แห่งนี้จะมีเจ้าเมนูนี้วางขายอยู่ให้เกลื่อน
“หน่อกะลา" พืชพื้นบ้านบนเกาะเกร็ดมีหน้าตาคล้ายกับต้นข่า และมันคือหนึ่งในพืชตระกูลข่าชนิดหนึ่ง ถ้ามันถูกแปรรูปมาอยู่ในทอดมันถูกนำมาปอกเปลือกออกเหลือแต่เนื้อในหันให้เป็นชิ้นเล็กๆ หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่ามันคือมะพร้าว และเนื่องด้วยคำว่า ‘กะลา' แต่ความจริงแล้วรสชาติของมันไม่ได้ใกล้เคียงกับมะพร้าวเลยสักนิด นอกจากนั้นหน่อกะลาก็ยังมีคำเรียกอื่นๆอีกเช่น ข่าน้ำ กะลา เร่วน้อย
Cr.ภาพ https://www.m-culture.go.th/nonthaburi/ewt_news.php?nid=406&filename=index
การใส่หน่อกะลาเข้าไปเป็นการเหมือนได้เพิ่มเอกลักษณ์ประจำเกาะเกร็ด เพิ่มอรรถรสในการเคี้ยวให้กลิ่นอ่อน ๆ และมีรสซ่าเล็กน้อย นอกจากความอร่อยแล้วยังให้ความรู้สึกกรุบ ๆ เคี้ยวเพลิน ยิ่งไปกว่าความอร่อยนั่นหน่อกะลายังมีสรรพคุณเป็นยา ดอกของมันสามารถรักษาอาการผื่นคันตามผิวหนัง ผล รักษาอาการท้องอืด แน่นเฟ้อ จุกเสียด และราก รักษาอาการเหนื่อยหอบ นอกเหนือจากเมนูทอดมันแล้ว หน่อกะลาก็ยังนิยมเอาไปทานสดร่วมกับน้ำพริกหรือไปอยู่ในแกงอย่าง แกงส้ม ต้มยำ อีกด้วย
ล่าสุดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้ามาเป็่นหนึ่งในการช่วยมาอนุลักษณ์พืชที่เป็นของดีเกาะเกร็ด โดยนำนวัตกรรมงานวิจัย ที่ใช้เทคโนโลยียืดอายุวัตถุดิบมาพัฒนายกระดับการผลิตหน่อกะลา มาช่วยให้ความรู้ในเรื่องของการแปรรูป ได้นำหน่อกะลาไปอบแห้งเพื่อนำมาวิเคราะห์สารสกัด จึงพบว่าหน่อกะลาที่อบแห้งแล้วมีสารประกอบฟีนอลิกที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ปริมาณสูงกว่าต้นสดประมาณ 6 เท่า
ด้านธนาคารออมสินได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยร่วมอนุลักษณ์พืชท้องถิ่นบนเกาะเกร็ดเช่นกัน จึงจับมือกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ผ่านโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ให้ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย เข้ามาช่วยในพัฒนาในส่วนของบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยโดยผ่านการออกแบบร่วมกันกับชุมชน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ยกระดับสินค้าชุมชนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ได้มีการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร นำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงทีมนักวิจัยที่ได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากหน่อกะลาที่สามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกในพื้นที่เกาะเกร็ด ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่า ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนได้อีกด้วย
Cr.ภาพ https://www.facebook.com/BannangrumKohkred/
นอกจากการทำทอดมันหน่อกะลา การนำไปอบแห้ง หรือการแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์หน่อกะลายังถูกนำไปทำเป็นชาสมุนไพรหน่อกะลาได้อีกด้วย นักศึกษาในโครงการ“ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ก็ได้ร่วมกันกับชาวบ้านหาช่องทางจำหน่ายสินค้า เช่น วางขายในห้างสรรพสินค้า งานแสดงสินค้าต่างๆ และจัดจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ มีการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์และหน้าร้านเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ไม่มีหน้าร้านในการจัดจำหน่ายได้เป็นอย่างดี
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยส่งเสริมให้พืชท้องถิ่นอย่างหน่อกะลาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหน่อกะลา และทำใช้ชุมชนมีอาชีพมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้นอีกด้วย
เพราะเราเชื่อมาเสมอว่า “ธุรกิจที่ยั่งยืน คือธุรกิจที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่น”
#Plukpan
โฆษณา