30 พ.ค. 2021 เวลา 02:25 • อาหาร
กระแสที่กำลังมาแรงกับสมุนไพรอย่าง กระชาย ที่นี่ทำอาหารและใช้กระชายในการปรุงมากมายหลายอย่าง เช่นขนมจีนน้ำยา ผัดฉ่า แกงป่าฯลฯ ซื้อมาแต่ละทีก็ใช้ไม่หมดและเหง้าก็แตกหน่อออกมา จึงได้เอาลงดินปลูกจนงอกออกมาใหม่ กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง (แต่ในบทความนี้เราจะพูดกันถึงกระชายเหลืองครับ) โดยกระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า "นมกระชาย" ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องแกงซะมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
2
กระชายที่นิยมใช้กันก็คือกระชายเหลืองและกระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลืองนั้นดีกว่ากระชายดำ เพราะบางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถมกระชายดำยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่ากระชายดำนั้นดีกว่ากระชายเหลืองนั่นเอง
สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย" เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกโสมว่า "โสมคน" และเรียกกระชายว่า "นมกระชาย" (เนื่องจากกระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิงนั่นเอง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)
สรรพคุณของกระชาย
กระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายนำมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผง และให้ใช้ผงแห้งที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว (เหง้า, ราก)
ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
กระชายมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า)
ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก ด้วยการใช้กระชายที่ล้างสะอาดนำมาบดแบบไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใส่ในโถปั่นพอหยาบ แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วนำมากินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนชาเล็ก กินวันละ 3 มื้อก่อนอาหารประมาณ 15 นาที ประมาณ 1 อาทิตย์ (ราก)
เหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ถ้าสดให้ใช้ประมาณ 5-10 กรัม แต่ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ประมาณ 3-5 กรัม แล้วนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าใต้ดิน)
ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ใช้เหง้าที่ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนหรือตำผสมกับน้ำปูนใส หรือจะคั้นให้ข้น ๆ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก็ได้ (เหง้า, ราก)
ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม (เหง้าสด)
ช่วยรักษาอาการท้องเดินในเด็ก (เหง้า, ราก)
รากกระชายมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)
ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (เหง้า, ราก)
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ (เหง้า, ราก)
ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง ช่วยรักษาโรคไต ช่วยทำให้ไตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง ซึ่งในกรณีนี้อาจจะต้องใช้เม็ดบัวที่ต้มแล้วนำมารับประทานร่วมด้วย
ช่วยแก้อาการไส้เลื่อนในเพศชาย
ช่วยควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
ช่วยบำรุงมดลูกของสตรี ป้องกันไม่ให้มดลูกโต
แก้อาการตกขาว ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)
ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอดบุตร
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 60 กรัม (6-8 เหง้า) นำมาผสมกับเนื้อมะขามเปียกประมาณ 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง และนำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน แล้วรับประทานติดต่อกันประมาณ 1 เดือนจนกว่าจะหาย (เหง้าใต้ดิน)
ใบช่วยถอนพิษต่าง ๆ (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้าหรือรากแก่ ๆ นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม (ราก, เหง้า)
ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
เหง้าและรากใช้เป็นยาภายนอก สรรพคุณช่วยรักษาขี้กลาก ขี้เกลื้อน (เหง้า, ราก)
ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้รากกระชายทั้งเปลือกมาล้างแล้วผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น ๆ และนำไปบดให้เป็นผงหยาบ ๆ และใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวมาอุ่นในหม้อใบเล็ก ๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย แล้วนำมาหุงด้วยไฟอ่อน ๆ ราว 15-20 นาที แล้วกรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชา นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (ราก)
ช่วยแก้อาการคันหนังศีรษะจากเชื้อรา ด้วยการใช้น้ำมันดังกล่าว (จากสูตรรักษาโรคน้ำกัดเท้า) นำมาเข้าสูตรทำเป็นแชมพูสระผม หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผมแล้วนวดให้เข้าหนังศีรษะก็ได้ แล้วค่อยล้างออก (น้ำมันกระชาย)
ช่วยรักษาฝีด้วยการใช้เหง้ากับรากมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาทาหัวฝีที่บวม จะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น (เหง้า, ราก)
เหง้ามีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังและโรคในช่องปากดีพอสมควร (เหง้า)
กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยต้านการก่อการกลายพันธุ์ โดยการบริโภครากกระชายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายของการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกายได้
กระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายกับการรับประทานยาแอสไพรินและอาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าสารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
งานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin จากรากและใบมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าสาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ของกระชายนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด
3
ได้ข่าวว่านักโทษในเรือนจำที่เชียงใหม่ติดโควิดกันเกือบ2000กว่าคน ได้รับการรักษาด้วยแคปซูลฟ้าทะลายโจรและกระชายและได้ผลดีภายในสี่อาทิตย์เกือบทุกคนหายจากโควิค มีเพียงหกคนเท่านั้นที่เชื้อลงปอดต้องส่งรักษาในโรงพยาบาลต่อไป น่าเสียดายที่ยาแพทย์แผนไทยไม่มีโอกาสได้นำไปใช้ในการรักษาโควิด-19 แค่ขอให้นำยาเหล่านี้ไปใช้ในโรงพยาบาลสนามยังไม่ได้เลย พอเข้าสู่การเป็นโรคระบาดแล้วแพทย์แผนปัจจุบันไม่ยอมให้ใช้ยาอย่างอื่นทั้งที่แพทย์แผนปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษา แม้แต่วัคซีนก็ยังไม่มีงานวิจัยรองรับเลย เพราะการวิจัยวัคซีนแต่ละชนิดต้องใช้เวลาถึง 10 ปี แต่หมอให้ใช้วัคซีนได้ พอเป็นยาแพทย์แผนไทยกลับไม่ให้ใช้ ถามว่าประเทศไทยเรามีแค่ยาแผนปัจจุบันเท่านั้นหรือ เรามีแพทย์ทางเลือก มีภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีแพทย์แผนไทย มีแพทย์แผนจีน ซึ่งสามารถรักษาโควิด-19 ได้ แต่ศูนย์โควิด-19 ใจแคบมาก ไม่ยอมให้ใช้ยาเหล่านี้รักษาเลย น่าสงสารประเทศไทย......พวกเราประชาชนต้องพึ่งตัวเองรักษาชีวิตตัวเองด้วยสมุนไพรที่มีอยู่กันเถอะ
เมนูที่เลือกทำในวันนี้คือ "ผัดฉ่าปลาคัง" เริ่มที่แล่เนื้อปลาให้เป็นชิ้นหรือว่าถ้าได้ปลาตัวขนาดไปใหญ่ก็หั่นเป็นแว่นๆได้ ล้างปลาด้วยเกลือป่นเพื่อกำจัดคาวและเมือกออกให้หมด สะเด็ดน้ำดีแล้วก็คลุกด้วยแป้งทอดกรอบบางๆแล้วทอดให้เหลืองพอดี พักไว้ โขลกพริกขี้หนูเขียวแดง กระเทียม ผิวมะกรูดเป็นเครื่องผัด หั่นกระชายเป็นเส้น หั่นตะไคร้แฉลบ มะเขือเปาะหั่น มะเขือพวง ถั่วฝักยาว พริกไทยอ่อน ใบกระเพรา ใบมะกรูดฉีก ผัดเครื่องที่โขลกไว้ให้หอม แล้วใส่ผักทุกอย่างลงผัด ปรุงรสด้วย ผงปรุงรส น้ำตาลทราย น้ำมันหอย น้ำปลานิดหน่อย เติมน้ำเปล่าเพื่อขลุกขลิก เมื่อผักสลดดีก็ใส่ชิ้นปลาที่ทอดลงคลุก บางท่านอาจไม่ทอดปลาก่อนแต่ใช้ผัดไปพร้อมๆกับผักมักจะทำให้เนื้อปลาเละและมีกลิ่นคาว.....ชอบแบบไหนก็ลองทำกันดูครับ
โฆษณา