Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ajarn Run
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2021 เวลา 06:22 • อาหาร
ISO 22000 คืออะไร
ISO 22000 คือ
ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร
(Food Safety Management System )
ปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่เป็นเวอร์ชั่น
ISO 22000:2018
==========================
เป็นระบบที่กล่าวถึงการบริหารจัดการ
ด้านความปลอดภัยอาหารในองค์กร
โดยให้มีการจัดการสภาพแวดล้อมการผลิต
และควบคุมการผลิตให้มีความปลอดภัย
ต่อการบริโภค จากอันตรายในอาหาร
(อันตรายทางชีวภาพ อันตรายทางเคมี
อันตรายทางกายภาพ) ตลอดห่วงโซ่อาหาร
==========================
มีการบริหารจัดการเชิงกระบวนการ
ตามหลักการ PDCA (Plan-Do-Check Action)
ครอบคลุมการจัดการสภาพแวดล้อม
ให้ถูกสุขลักษณะ ตามโปรแกรมพื้นฐาน
(เช่น ผู้ผลิตอาหาร ก็ใช้ GMP GHP เป็นต้น)
และควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร
ให้ปลอดภัยจากอันตรายในอาหาร
ตามหลักการของ HACCP
และการบริหารจัดการต่างๆ เช่น
การบริหารวัตถุประสงค์(เช่น KPI )
การจัดการสภาวะฉุกเฉิน
การทวนสอบ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
==========================
รายละเอียดโดยสรุปของ
ระบบ ISO 22000:2018
ทั้ง 10 ข้อ ผมขอสรุปภาพรวม
ดังนี้นะครับ
==========================
ข้อ 1 ขอบข่าย (Scope)
กล่าวถึงเป็นการนำมาตรฐานไปใช้งาน
เพื่อควบคุมความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร
==========================
ข้อ 2 เอกสารอ้างอิง
(Normative reference)
—ไม่มีมาตรฐานอ้างอิง —
==========================
ข้อ 3 คำศัพท์และบทนิยาม
(Terms and definitions)
จะมีการอธิบายความหมายของคำศัพท์
ที่มีอยู่ในข้อกำหนดและต้องขยายความ
ให้มีความเข้าใจ
เช่น Control measure , Food safety hazards ,
PRP , OPRP , Interested party เป็นต้น
==========================
ข้อ 4 บริบทองค์กร
องค์กรต้องการพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในทั้งด้านบวกและลบ ที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ขององค์กร และมีผลกระทบต่อระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
รวมถึงพิจารณาความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ด้าน Food safety
กำหนดขอบเขตของการทำ ISO 22000
จัดทำ นำไปใช้ คงรักษาไว้ ปรับให้ทันสมัย
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามกระบวนการ
ภายใต้ขอบเขตระบบ ISO 22000
==========================
ข้อ 5 ภาวะผู้นำ
ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทภาวะผู้นำ
และความมุ่งมั่นในการนำ
ระบบ ISO 22000 ไปใช้ในองค์กร
และการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกำหนดนโยบายด้าน Food safety
และการกำหนดบทบาทหน้าที่
ความรับผิดชอบ และอำนาจ
แต่ละตำแหน่งในองค์กร
==========================
ข้อ 6 การวางแผน
องค์กรต้องดำเนินการประเมิน
ความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อ
การจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร
และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง
และโอกาสที่มีนัยสำคัญ
กำหนดวัตถุประสงค์ (เช่น KPI หรือ OKR )
และแผนงานด้าน Food safety
ควบคุมและจัดการเปลี่ยนแปลงที่
มีผลต่อระบบ Food safety
==========================
ข้อ 7 การสนับสนุน
เป็นการจัดเตรียมระบบการสนับสนุน
และทรัพยากรในการจัดทำ
ระบบ Food safety เช่น
บุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
การควบคุมผู้ส่งมอบวัตถุดิบ
และผู้ให้บริการ เป็นต้น
ดำเนินการฝึกอบรม หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนา
ให้พนักงานมีความรู้ความสามารถ
การสร้างความตะหนัก การสื่อสารทั้งภายใน
ภายนอก และควบคุมระบบเอกสารข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องกับด้าน Food safety
==========================
ข้อ 8 การดำเนินการ
องค์กรต้องมีการวางแผนและ
ควบคุมกระบวนการที่จำเป็น
ภายใต้ระบบการจัดการด้าน
ความปลอดภัยของอาหาร
ครอบคลุมมาตรการควบคุมทั้งส่วนของ
PRPs การดำเนินการโปรแกรมพื้นฐาน
ด้านสุขลักษณะ (Prerequisite Programmes)
เช่น การทำความสะอาด การควบคุมสัตว์นำโรค
การควบคุมการปนเปื้อนข้าม เป็นต้น
การวิเคราะห์อันตรายและแผนควบคุมอันตราย
ตามหลักการ OPRP และ HACCP Plan
มีการวางระบบการบริหารจัดการ
ด้านความปลอดภัยอาหาร เช่น
ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
การเตรียมการและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน
การสอบเทียบ การทวนสอบ
การควบคุมผลิตภัณฑ์และ
กระบวนการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
==========================
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ
องค์กรต้องการเฝ้าระวัง การวัด
การวิเคราะห์ และการประเมิน
การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบ Food Safety
เช่น การวัดประสิทธิการดำเนินการ
ทำระบบบริหารด้านความปลอดภัยอาหาร
ผ่านกิจกรรม Internal Audit
นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงสถิติ
และประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน เป็นต้น
กิจกรรมการประเมินสมรรถนะ
ครอบคลุมการทำกิจกรรม
การตรวจประเมินภายใน และ
การประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร
==========================
ข้อ 10 การปรับปรุง
องค์กรต้องปฏิบัติการแก้ไข
เมื่อเกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
อาจอยู่ในรูปแบบการออกใบ CAR
( Corrective Action Request )
ดำเนินหาสาเหตุ การกำหนดแนวทางการแก้ไข
และการแก้ไขป้องกันการเกิดซ้ำ
และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การปรับระบบให้ทันสมัย
เพื่อคงรักษาระบบการบริหารงาน
ด้านความปลอดภัยอาหาร
ให้เหมาะสม เพียงพอ และเกิดประสิทธิผล
=====================
ขอให้พวกเราจงเรียนรู้และพัฒนา
ความรู้จะทรงคุณค่า
ถ้าเราพัฒนาและแบ่งปัน
Aj.Run
#FSMS #Foodsafety #GHP #HACCP #FSSC #BRC
#iso22000 #ISO #ISO22000
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย