31 พ.ค. 2021 เวลา 06:16 • ไลฟ์สไตล์
“สังคมเมือง-ชนบท” ฝรั่ง VS ไทย
สังคมเมืองกับสังคมในชนบทของฝรั่ง หรือ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (สวีเดน) ต่างกันอย่างไรกับสังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย รวมถึงสถาบันครอบครัวเรื่องการสอนเด็กให้เคารพรักและการเลี้ยงดูผู้ใหญ่ ฝรั่งเขาทำกันอย่างไร มาจับเข่าคุยกันจ้า😊
จากเรื่องเล่า “ความรักและผูกพัน-ครอบครัว” ฝรั่ง VS ไทย ทำให้เราได้รับความคิดเห็นจากผู้อ่านท่านหนึ่ง ซึ่งผู้อ่านท่านดังกล่าวได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองด้วยเหตและผลในมุมของตัวเองอย่างสุภาพ🌼
เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าจะนำมาเล่า เพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสังคมไทยและฝรั่ง และไม่ได้มีเจตนาอื่นใดนอกจากนี้
3
เราไม่ได้เพียงแค่ตอบคอมเมนต์เท่านั้น (เพราะคอมเมนต์มีสั้นๆ) แต่เราได้เปรียบเทียบพร้อมอธิบายเพิ่ม จึงอาจจะเป็นการตอบที่ยาว😄
ก่อนอื่นแนะนำว่าการอ่านเรื่องเล่าตอน “ความรักและผูกพัน-ครอบครัว” ฝรั่ง VS ไทย (ถ้าท่านยังไม่ได้อ่าน) จะทำให้เข้าใจเรื่องเล่าตอนนี้ได้ดีขึ้น
แล้วมาดูความคิดเห็นของท่านผู้อ่านที่ได้แสดงความเห็นไว้ว่า...
🌼“สังคมเมืองกับสังคมชนบท ผมดูสารคดีรายการ Alaska the last frontier เขาก็ช่วยเหลือ ขอแรงกัน คือผมมองว่าถ้าสภาพสังคมมันบีบรัดมาก ทุกอย่างต้องมีรายจ่าย มันก็มีส่วนทำให้ด้านมืดของคนเรามันขยายใหญ่
ในทางตรงข้ามถ้าสภาพสังคมมันคลี่คลายนะ ค่าน้ำไม่มีเพราะใช้น้ำบ่อ ค่าไฟไม่มีเพราะก่อฟืน ค่าใช้จ่ายน้อย ความเห็นแก่ตัวก็น้อย เรียกว่าด้านสว่างในตัวคนเรามันก็เจริญมาก มันก็เป็นอีกสังคมนึง
ส่วนเรื่องสถาบันครอบครัว ตะวันออกกับตะวันตก แตกต่างกันเยอะ ตะวันออกเรามีระบบอาวุโส เราสอนให้เคารพผู้สูงวัย เราสอนให้มีความกตัญญูต่อบุพการี แต่ในปัจจุบันมันก็ลดน้อยไปมากแล้ว คละเคล้าวัฒนธรรมตะวันตก”🌼
ก่อนอื่นเราขอเล่าถึงสภาพสังคมในสวีเดนโดยรวมอย่างคร่าวๆ เพื่อที่จะกล่าวถึงและให้มองเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อถึงตอนตอบคอมเมนต์
ประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศไม่ใช่แต่ประเทศสวีเดนเท่านั้น การที่พวกเขาจะถูกยอมรับและถูกเรียกว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มีสิ่งสำคัญหลายสิ่งหลายอย่างที่ประเทศเหล่านั้นจะถูกพิจารณา
ในที่นี้เราจะกล่าวถึง คุณภาพชีวิตของพลเมืองและสาธารณูปโภคพื้นฐานบางอย่าง โดยเราจะกล่าวถึงเฉพาะในประเทศสวีเดนเท่านั้น เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ละประเทศอาจต่างกันในรายละเอียด
🔹โรงเรียน : ทุกโรงเรียนที่ประเทศสวีเดน (ทั่วประเทศ) มีมาตรฐานเดียวกันหมดและเป็นมาตรฐานที่โลกยอมรับ ที่สำคัญฟรีสำหรับเด็กทุกคน ไม่ว่าจะโรงเรียนบ้านนอกหรือในกรุง ไม่ว่าจะลูกคนรวยคนจนได้รับการศึกษาในมาตราฐานเดียวกัน
🔹โรงพยาบาล : ที่นี่การรักษาฟรีทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ (อาจจะมีค่าใช้จ่ายบ้างบางครั้งเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล เช่นค่าลงทะเบียน ฯ)
เป็นการรักษาที่ได้คุณภาพและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งคนจนคนรวย มีความเท่าเทียม ไม่มีใครมีสิทธิ์พิเศษที่จะได้รับการบริการพิเศษหรือรับการรักษาก่อนใคร นอกจากคนที่ป่วยหนักหรือฉุกเฉินเท่านั้น
1
🔹ช่องว่างทางสังคม : ที่นี่มีช่องว่างระหว่างคนจน-คนรวยน้อย คนจนของคนที่นี่ส่วนใหญ่ยังมีกิน และมีกินอย่างมีคุณภาพเมื่อเทียบกับคนจนในประเทศที่ยังไม่พัฒนา
และหากมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ รัฐก็จะเข้ามาช่วยอย่างเป็นธรรมด้วยเงินภาษีที่ทุกคนช่วยกันจ่าย
🔹ค่าแรง : แรงงานที่นี่ได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะค่าแรงโดยการกำหนดค่าแรงต่อชั่วโมงขั้นต่ำไว้ คนที่นี่จะได้รับค่าแรงอย่างเป็นธรรม ตามกำลังที่ตนจะทำได้
จึงไม่มีใคร (หรือถ้ามีก็น้อย) ที่จะได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่กำหนด และถ้ามีปัญหาก็มีสหภาพแรงงานที่คอยให้คำปรึกษาและคอยช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ทำให้โรงงาน, บริษัท หรือธุรกิจที่นี่เจริญเติบโตแบบยั่งยืน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ได้รับความเป็นธรรม
เมื่อมีการประกันรายได้ที่สูง ทำให้ค่าแรงสูงและเป็นผลให้สินค้ามีราคาสูงตาม แต่ไม่เป็นปัญหาเพราะเมื่อประชาชนมีการรับประกันรายได้ ก็ทำให้พวกเขาก็มีรายได้สูง
เศรษฐกิจของประเทศที่ดี ทำให้ค่าเงินสมดุลไม่เฟ้อหรือฝืดไป ทำให้พวกเขาส่วนใหญ่ยังมีเงินเหลือเก็บหลังจากใช้จ่ายในชีวิตประจำ พวกเขาอยู่กันอย่างพอเพียงแต่พอเพียงอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม
🔹ความเท่าเทียม : เราเป็นคนไทยซึ่งเป็นคนสังคมชั้นสอง แต่ในภาพรวมเราไม่ได้รู้สึกอะไรในทางปฏิบัติ เพราะไปโรงพยาบาลเราก็ได้รับการต้อนรับเหมือนคนสวีดีสอื่นๆ ลูกไปโรงเรียนก็ได้รับการเรียนการสอนเท่าเทียมกับเด็กทั่วไป
ทำงานก็มีรายได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่เขากำหนดไว้ และเสียภาษีในอัตราเดียวกันกับคนทั่วไปที่มีระดับรายได้เดียวกัน
🔹เงินบำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ : ภาษีที่ประชาชนเสีย นอกจากจะถูกนำมาบริหารประเทศเพื่อตอบแทนประชาชนในวันนี้แล้ว รัฐยังสะสมและเก็บเป็นเงินบำนาญไว้ให้ในอนาคตเมื่อยามแก่เฒ่าอีก
เพราะเมื่อแก่ชราชาวสวีดีสทุกคนจะได้รับเงินผู้สูงอายุจากภาษีที่เสียไปคืน ได้รับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนภาษีที่พวกเขาได้จ่ายไว้
แต่รัฐจะกำหนดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสำหรับการครองชีพไว้ หากมีผู้สูงอายุที่ได้รับเงินบำนาญหรือเบี้ยงผู้สูงอายุน้อยกว่าเงินขั้นต่ำในการครองชีพที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับความช่วยเหลือตามสมควร
เช่น ความช่วยเหลือในรูปของค่าเช่า ที่อยู่อาศัยหากผู้สูงอายุท่านนั้นเช่าบ้านหรืออพาร์ทเม้นท์อยู่ หรือความช่วยเหลือรูปแบบอื่น แล้วแต่กรณีนั้นๆ ว่าผู้สูงอายุควรได้รับหรือว่าต้องการความช่วยเหลืออะไร (จริงๆ มาตราฐานนี้ใช้เพื่อช่วยเหลือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุแต่มีรายได้ต่ำด้วย)
🔹กฎหมายที่เป็นธรรมและเคร่งครัด : ขอให้ทุกท่านลืมการทำงานที่ประเทศไทยก่อน เพราะเรากำลังพูดถึงประเทศสวีเดน ที่นี่กฎหมายคือกฎหมาย และปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเคร่งครัดและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
หน่วยงานทุกหน่วยงานดำเนินไปตามนโยบาย ทุกอย่างที่เราเล่าไว้ข้างต้น ประเทศสวีเดนพยายามทำให้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียม เราใช้คำว่าพยายามเพราะในคนหมู่มากนับสิบล้าน ไม่สามารถทำอะไรให้ทุกๆคนพอใจได้ทั้งหมด
ดังนั้นยังมีชาวสวีดีสและชาวต่างชาติในสวีเดนจำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาล แต่ในภาพรวมแล้วประเทศสวีเดนนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญในหลายๆด้านระดับต้นๆของโลก
สิ่งที่การันตีคือประเทศสวีเดนวันนี้ยังคงได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
🔹 ต อ บ ค อ ม เ ม น ต์ 🔹
🌼“สังคมเมืองกับสังคมชนบท ผมดูสารคดีรายการ Alaska the last frontier เขาก็ช่วยเหลือ ขอแรงกัน”🌼
เดาว่าเป็นสารคดีของกลุ่มคนหรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งในสหรัฐอเมริกา (ถ้าผิดก็ต้องขอโทษนะคะ) แน่นอนคะว่าพื้นฐานความเป็นมนุษย์ (ส่วนใหญ่) นั้นสวยงาม การช่วยเหลือกันเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปกระทำ
ในสังคมสวีเดนไม่ใช่ไม่มีการช่วยเหลือกัน (เลย) คะ ตัวอย่างที่เล่าไว้ในเรื่อง “ความรักและผูกพัน-ครอบครัว” ฝรั่ง VS ไทย ที่พูดถึงเด็กหกล้ม ชาวสวีดีสที่วิ่งเข้าไปช่วยโดยไม่รีรอและไม่ได้ถามก่อนก็มีคะ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ถ้าเจาะลึกและพูดถึงในสังคมเล็กย่อยลงไปพวกเขาก็แตกต่างกันไป
ก็เหมือนประเทศไทยในภาพรวมเรา (เคย?) ถูกมองว่าเป็นคนยิ้มแย้ม แต่พอเจาะลึกเข้าใกล้ๆก็อาจจะมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ไม่ชอบยิ้มอยู่ด้วย ทั้งหมดที่เล่าเป็นเพียงมุมมองในภาพรวมทั้งประเทศ และตามมุมมองของดิฉันเอง เท่านั้น
1
ดังนั้นคนที่นี่มีการช่วยเหลือกัน 🔸พวกเขามีน้ำใจ (มากด้วยคะ)🔸 แต่ค่อนข้างจะเกรงใจกัน และมักจะถามกันก่อน ดิฉันหมายถึงภาพรวมนะคะ และเมื่อเปรียบเทียบกับโซนเอเชีย ก็จะเห็นถึงความแตกต่างที่ชัดขึ้น
ส่วนเรื่องสารคดี - ดิฉันคิดว่าคำว่าฝรั่งซึ่งคือคนผิวขาวที่ไม่ใช่ชาวเอเชีย (ถ้าผิดก็ขอโทษด้วยเขียนไปคิดไปตอนนี้) แต่ฝรั่งโซนยุโรป ก็ ค่อนข้างต่างจากฝรั่งชาวอเมริกันหลายๆอย่าง
ในส่วนเรื่องเล่าของดิฉัน ดิฉันใช้คำว่าฝรั่งแต่ได้ระบุหมายเหตุไว้แล้วว่าฝรั่งในที่นี้คือในประเทศสวีเดน เพราะฝรั่งแต่ละประเทศแม้แต่ในยุโรปเองก็ต่างกันได้
1
ส่วนความเป็นสังคมเมืองและชนบทนั้นในประเทศสวีเดนดิฉันเห็นว่า ต่างกันคะ แต่ต่างกันที่ขนาดเสียมากกว่า เพราะสังคมในเมืองมีประชากรเยอะกว่า
👉🏻 สิ่งที่ต่างเช่น จำนวนร้านค้า ร้านอาหาร ผู้คน ค่าเช่าบ้านที่สูงกว่าเพราะใกล้ร้านค้าและความสะดวกสบาย ฯลฯ
👉🏻 แต่สิ่งที่เหมือน เช่น รายได้ขั้นต่ำ (ใกล้เคียงกับในเมืองใหญ่) มาตรฐานของโรงพยาบาล มาตรฐานของโรงเรียน เงินบำนาญ คุณภาพอาหารที่ถูกควบคุมเหมือนกัน กฎหมายเหมือนกัน และความเท่าเทียมที่เท่ากัน ฯลฯ
ประมาณว่าในเมืองนั้นสะดวกสบายกว่าแต่ค่าครองชีพก็สูงกว่า นอกเมืองนั้นมีชีวิตที่สบายง่ายกว่าแต่พื้นฐานสาธารณูปโภคมีความเท่าเทียมกับในเมือง (อันนี้ที่ดิฉันมองว่า เป็นชีวิตเรียบง่ายที่สงบจริงๆ)
ความช่วยเหลือกัน - ในชนบทของสวีเดนผู้คนก็จะสบายๆ ง่ายๆ กว่าในเมืองหลวงคะ ความช่วยเหลือกันและกันก็จะง่ายขึ้น แต่พวกเขาก็ยังคงอยู่ภายใต้วัฒนธรรมการพึ่งพาตัวเองก่อน และมีความเกรงใจกันเป็นด้านหน้าอยู่ดี
🌼“คือผมมองว่าถ้าสภาพสังคมมันบีบรัดมาก ทุกอย่างต้องมีรายจ่าย”🌼
สังคมเมืองหลวงในประเทศไทย อาจจะเปรียบเทียบกับสังคมรวมหรือสังคมเมืองหลวงของชาวสวีดีสทั้งหมดไม่ (น่าจะ) ได้คะ เพราะที่นี่เขาไม่ต้องกังวลเรื่องการดำดงชีวิตพื้นฐานอย่าง โรงเรียน โรงพยาบาล และเงินที่จะใช้ยามแก่ชรา
นอกจากนั้นเขายังมีความเท่าเทียม มีกฎหมายที่เป็นธรรมบังคับใช้เหมือนกันทั่วประเทศ (ไม่มีสินบน หรือมีก็มีน้อย) สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในภาพรวมที่ดิฉันคิดว่ามันลดความกังวลลงเยอะ และลดการนำไปสู่การเป็นสังคมที่บีบรัด (มีความบีบรัดปกติ แต่พวกเขามีความสบายใจในการดำรงชีวิตพื้นฐาน)
🌼“ทุกอย่างมีรายจ่าย”🌼
อันนี้จริงคะ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเรามีชีวิตก็ต้องต่อสู้ ทำงาน หาเงินเพื่อการอยู่รอด แต่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นพวกเขา (ส่วนใหญ่) มีรายได้ที่สมดุลกับรายจ่ายคะ และนอกจากนั้นยังมีความช่วยเหลือรออยู่ เพื่อไม่ให้มีใคร (หรือถ้าจะมีก็ทำให้มีน้อยที่สุด) ลำบากจนเกินมาตราฐานความเป็นมนุษย์
เพราะรัฐบาล (ที่โปร่งใสและพยายามทำงานเพื่อประชาชนอย่างเท่าเทียมที่สุด) คอยค้ำประกันและคอยช่วยเหลือหากมีใครที่มีชีวิตต่ำกว่ามาตราฐาน โดยใช้เงินภาษีจากผู้ที่มีรายได้สูงกว่าเสียภาษีไว้เยอะกว่า มาช่วยผู้คนที่มีรายได้น้อยหรือต้องการความช่วยเหลือคะ
ในอดีต ช่วงหนึ่งของชีวิตผู้เขียนเอง ก็เคยได้รับความช่วยเหลือจากเงินภาษี ไว้ตอนต่อๆๆๆไปค่อยเล่าให้ฟังนะคะ ถ้ามีใครสนใจอยากฟังและถ้าผู้เขียนยังสามารถเขียนต่อไปได้😅 อ่านไหวก็ยังคงเขียนไหวคะ
เพียงแต่เรื่องพวกนี้มักจะถูกห้ามหรือขัดขวางไม่ให้เล่าไม่ให้พูด🤔 พูดไปมันน่าสนใจ ถ้ามีใคร ณ ที่นี้ที่สามารถมองเห็น สงสัยบ้างไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
🔺หรือมีใครที่กำลังกลัวพลังของความเข้าใจกัน พลังของการเป็นหนึ่งเดียวกันและการรวมตัวกันของพวกเรา ประชาชนตาดำๆ🔺 (ออกนอกประเทศไปแล้ว เย้ย นอกเรื่อง)
กลับมาที่คอมเมนต์ใหม่ (คือผมมองว่าถ้าสภาพสังคมมันบีบรัดมาก ทุกอย่างต้องมีรายจ่าย) 🌼“มันก็มีส่วนทำให้ด้านมืดของคนเรามันขยายใหญ่”🌼
เห็นด้วยคะ แต่ในบางสังคมนะค่ะ สังคมที่ประเทศสวีเดนดิฉันมองว่า เขาได้แก้ปัญหาและปรับพื้นฐานมาตรฐานสังคมไว้ดีแล้ว
จะอธิบายอย่างไรดี ถ้าเทียบกับบ้านเราคือ บ้านเรามีปัญหามากมายสะสมหยั่งลึกในสังคม เช่น คอรัปชั่น (ขอโทษนะคะถ้าผู้อ่านท่านใดคิดว่าไม่มี) ซึ่งดิฉันมองว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เงินภาษีที่ประชาชนช่วยกันจ่ายไม่กลับมาถึงประชาชนอย่างแท้จริง
และคอรัปชั่นนี้ได้ฝั่งลึกในสังคมไทยจนคนไทยส่วนใหญ่เองก็ชินกับมันและคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่เกือบจะธรรมดา เช่น การที่เด็กๆให้ของขวัญวันเกิดครูที่โรงเรียน การยัดเงินในมือตำรวจเมื่อถูกจับเรื่องหมวกกันน๊อค
การให้เงินบริจาคเพื่อให้ลูกได้เข้าโรงเรียนดีๆ ฯลฯ ยังมีอีกเยอะคะผู้เขียนเองนึกไม่ออกตอนนี้เพราะต้องนึกเรื่องที่จะเขียนตอนนี้ก่อน (อ้อ ไม่ได้บอกว่าคนไทยทุกคนทำนะคะ แต่มันมีในสังคมเราทำให้เรายังมีคอรัปชั่นอยู่)
แต่ประเทศสวีเดนเขาได้แก้ปัญหาที่เรามีหยั่งลึกในสังคมเหล่านั้นแล้ว เช่น ในตอนนี้ปัญหาที่ดิฉันเชื่อว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่คือ ความไม่เข้าใจกันของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ กับ คนรุ่นเก่า
แต่ที่สวีเดนคือเขาแก้ปัญหาลึกถึง ตั้งแต่คนรุ่นเก่าแก่ก็เข้าใจกันกับคนรุ่นใหม่ หรือใช้คำว่าค่อนข้างเข้าใจกัน ปัจจุบันนี้เขาไม่ต้องปรับหรือแก้ปัญหาอย่างที่ประเทศเราต้องทำกันวันนี้ รัฐมีหน้าที่เพียงแค่ ผลิตประชากรในอนาคตให้มีคุณภาพเท่านั้น
เขาเพียงแต่ปลูกฝั่งให้เด็กๆ ซึ่ง เป็นอนาคตของชาติ ผ่านระบบการศึกษาให้ เช่น ทำให้เด็กมองเห็นว่าคอรับชั่นนั้นเป็นสิ่งผิด เป็นการกระทำที่น่าอับอาย โดยชี้ให้เห็นผลอันเลวร้ายของมัน ปลูกฝั่งให้เด็กเข้าใจการปกครองระบบต่างๆ รวมถึงระบบประชาธิปไตยที่ประเทศเขาใช้อยู่
ปลูกฝั่งให้เด็กรู้ว่าพวกเขากำลังจะเติบโตเป็นผู้มีอำนาจที่เลือกรัฐบาลเข้ามาทำงานและควบคุมการทำงานของรัฐบาลให้ทำงานภายใต้ความโปร่งใส่ได้อย่างไรในอนาคต
ปลูกฝั่งให้เด็กเห็นความสำคัญของข่าวสารและวิเคราะห์ได้ว่าข่าวไหนจริงไม่จริงอย่างไร สอนให้เด็กรู้ว่าอำนาจที่พวกเขามีในมือคนละหนึ่งสิทธิ์นั้น จะใช้ให้ถูกต้องตามสิทธิ์ที่พวกเขามีได้อย่างไร ฯลฯ
แถมพวกเขาที่นี่ยังมีเสรีภาพให้กับผู้สื่อข่าว ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าทีเหมือนเป็นนักสืบเพื่อคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนำมาเปิดเผยแก่ประชาชนของเขา
มันเป็นเหมือนเป็นวงจรที่เขาพร้อมแล้ว ตั้งแต่เขาได้สอนหรือปลูกฝั่งวิธีการวิเคราะห์ข่าวกับเด็กๆไว้แล้ว (รวมถึงประชาชนของเขาวันนี้) ทำให้หากข่าวใดที่ไม่สมเหตสมผลจะถูกสังคมคัดทิ้งออกไปโดยอัตโนมัติ
เป็นวงจรอีกทีที่เมื่อสำนักข่าวรู้ว่าถ้าให้ข่าวไม่มีคุณภาพจะถูกประชาชนคัดออก ก็ต้องอัปเกรดคุณภาพของตนด้วยการรายงานข่าวที่เป็นจริงที่สุด
มันมีพื้นฐานอื่นๆ มากกว่านี้ที่แสดงถึงความพร้อมของประเทศเขาที่เรายังไม่มี ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เพื่ออธิบายว่าสังคมเขามันพร้อมแล้ว เป็นสังคมที่เรียกว่าพัฒนาแล้ว พื้นฐานประเทศเขาพร้อมบนคุณภาพ และเความท่าเทียม
ดังนั้นแม้มันอาจจะมีการบีบรัดบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้ด้านมืดของคนขยายใหญ่
อันนี้ดิฉันขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นภาพรวมในระดับประเทศ ซึ่งการเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่โลกยอมรับค้ำประกันคุณภาพที่ดิฉันได้กล่าวมา เพราะถ้าเจาะเข้ามาในสังคมปลีกย่อย ย่อมเจอปัญหาและมีคนที่คิดเห็นต่างกันไปอีกแน่นอนคะ
🌼“ในทางตรงข้ามถ้าสภาพสังคมมันคลี่คลายนะ ค่าน้ำไม่มีเพราะใช้น้ำบ่อ ค่าไฟไม่มีเพราะก่อฟืน ค่าใช้จ่ายน้อย ความเห็นแก่ตัวก็น้อย เรียกว่าด้านสว่างในตัวคนเรามันก็เจริญมาก มันก็เป็นอีกสังคมนึง”🌼
ถ้าเมืองไทย เราอยู่อย่างเพียงพอในชนบท ไม่มีค่าน้ำค่าไฟ เก็บผักกินตามรั้วได้ ใช้น้ำในบ่อน้ำได้ และเป็นสังคมที่คลี่คลายได้จริงๆ และเท่าเทียมกัน ดิฉันก็ดีใจด้วยจากใจจริงๆคะ และก็คงไม่ต้องมานั่งพิมพ์นั่งเล่าอะไรที่คนอาจจะคิดว่ามาอวดประเทศอื่น โน้นนี่นั้น😧
ดิฉันยังสงสัยอีกว่าสังคมจะคลี่คลายได้จริงไหม ความเห็นแก่ตัวจะน้อยลงได้จริงไหม ด้านสว่างในตัวคนจะเจริญขึ้นจริงไหม ในเมื่อเทคโนโลยีโลกสมัยนี้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ คนอยากได้รถ ทีวี มือถือ ฯลฯ มันก็เป็นปัญหาตามมาเรื่องทำมาหาเงิน และก็ต้องเจอกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และความไม่ยุติธรรมอื่นๆอีกมากมาย
โลกอย่างที่ผู้อ่านบอกถ้ามีจริงๆ ก็คงจะเงียบสงบจริงๆ คะ เพียงแต่ดิฉันเดาว่าตอนนี้กว่าจะเจอน้ำบริสุทธิ์ก็ยากขึ้น ด้วยสารพิษต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ ฟืนเราที่เราจะไปเก็บไปหาหรือแม้แต่เก็บเห็ด เราแน่ใจเหรอว่าเราจะไม่เจอข้อหาบุกรุกป่าสงวน (หรือหากมีใครที่มีความรู้เรื่องป่าก็ไปอีกเรื่องนะคะ)
และดิฉันสงสัยอีกว่าถ้าป่วยละ แล้วถ้ามีลูกละ โรงเรียน โรงพยาบาลมีมาตราฐานดีแล้วไหม? เรามีค่าใช้จ่ายพร้อมแล้วไหม? และเราพอใจกับมันแล้วไหม?
และถ้าพอใจแล้ว ดิฉันเพียงแต่สงสัยว่าจะไม่เคยคิดน้อยใจคนที่เขาส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติบ้างหรือ? ไม่สงสัยว่าลูกเขาจะมีอนาคตอย่างไรต่างจากลูกเราอย่างไร? หรือลูกเราจะถูกเอารัดเอาเปรียบอะไรอย่างไรในอนาคตบ้างไหม?
ไม่สงสัยบ้างเหรอคนที่รักษาในโรงพยาบาลเอกชนดีๆ เขาจะได้รับยาที่ดีและมีโอกาสรอดมากกว่า? หรืออย่าง คนที่มีเงินตอนนี้ที่บินไปฉีดวัคซีนที่อเมริกา เราจะไม่รู้สึกอะไรบ้างจริงๆ หรือ?
เพราะนั้นเป็นความเท่าเทียมที่ประชาชนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ดิฉันหมายถึงคุณภาพที่เท่าเทียมกันในสังคม ถ้าไม่น้อยใจอะไร ไม่คิดอะไรกับอนาคตลูก และคิดว่าทุกอย่างดีอยู่แล้ว ดิฉันก็ยินดีด้วยจากใจจริงคะ ทุกคนสามารถเลือกที่จะมีความสุขในแบบที่ตนพอใจ
ดิฉันต้องขอโทษจริงๆนะคะ ที่จะพูดด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า ถ้ามีใครสอนดิฉันให้อยู่อย่าง เรียบง่าย พอใจกับความเรียบง่ายกับสิ่งที่ตัวเองมี แต่ชีวิตของผู้สอนนั้นอยู่อย่างสุขสบาย ไม่เคยแม้จะสามารถเข้าใจลึกซึ่งถึงคำว่า ความเรียบง่ายนั้นมันไม่ได้มีกันได้ง่ายๆ ในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน
ดิฉันจะสงสัยว่าทำไมผู้สอนถึงสอนให้ดิฉันทำแบบนั้น เมื่อผู้สอนเองก็ไม่ได้เผชิญหรือไม่เคยได้สัมผัสชีวิตจริงของ ความเรียบง่ายที่ไม่สามารถมีอยู่ได้จริงในสังคมที่ไร้ความเท่าเทียมและความยุติธรรม
🌼“ส่วนเรื่องสถาบันครอบครัว ตะวันออกกับตะวันตก แตกต่างกันเยอะ ตะวันออกเรามีระบบอาวุโส เราสอนให้เคารพผู้สูงวัย เราสอนให้มีความกตัญญูต่อบุพการี”🌼
1
การเคารพผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ หรือพ่อแม่ ดิฉันเห็นว่าที่นี่เขาไม่สอนให้ทำ แต่เขาให้การศึกษา (ที่มีคุณภาพมาตราฐานที่โลกยอมรับ) ซึ่งกล่อมเกลาพวกเขาให้กลายเป็นประชากรที่มีคุณภาพ มีความสุภาพ มีเหตมีผล มีจิตสำนึกสังคมสูง
(ในภาพรวม หมายถึงถ้าดูในภาพเล็กลงไปก็มีทั้งคนดีไม่ดี แต่ภาพรวมคือภาพทั้งประเทศ ความเป็นประเทศพัฒนาได้ค้ำประกันคุณภาพประเทศเขาไว้) (ดิฉันไม่ได้กล่าวถึงประเทศอื่น กล่าวถึงแต่สวีเดน หรือ ดิฉันไม่กำลังเปรียบเทียบประเทศใดกับประเทศใด)
 
ดังนั้นคนสวีเดนแม้ไม่สอนให้รักกันด้วยคำพูด แต่เขารักกันด้วยธรรมชาติความเป็นมนุษย์ จากใจและจากความรู้สึกของธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งฝั่งพ่อแม่และลูก (ดิฉันไม่ได้กล่าวถึงประเทศอื่น กล่าวถึงแต่สวีเดน หรือดิฉันไม่เปรียบเทียบประเทศใดกับประเทศใด)
เมื่อพ่อแม่ให้ความรักลูก ลูกก็รักเคารพตอบด้วยตามธรรมชาติของความเป็นลูก มันก็เหมือนที่เมืองไทยทำ คือเขารัก เคารพ ตอบแทนบุญคุณ เพียงแต่เขาไม่มีคำพูดคำสอนว่า “ลูกต้องรักเคารพพ่อแม่ ลูกต้องตอบแทนคุณพ่อแม่” เขาทำกันเองตามธรรมชาติ
ไม่เพียงแต่พวกเขาจะรักกันในครอบครัว เมื่อพวกเขามีสุขกับตัวเองแล้ว พวกเขาจึงสามารถรักโลกและอนาคตของโลก การก่อฟืนท้องถิ่นไม่ได้ว่าไม่ดี (และอาจจะเป็นแค่คำเปรียบเทียบ ดิฉันก็เปรียบเทียบต่อ) การก่อฟืนไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่เราแน่ใจไหมว่าควันไฟนั้นเมื่อทำกันบ่อยๆ และรวมกันกับคนอื่นๆที่ทำทั่วโลก จะไม่ทำร้ายโลกของเราให้ป่วยและมีบาดแผลขึ้นอีกเรื่อยๆ?
พ่อแม่ที่นี่นั้นไม่เคยหวังว่าจะมีลูกเพื่อเลี้ยงดูยามแก่ชรา (ดิฉันไม่ได้กล่าวถึงประเทศอื่น กล่าวถึงแต่ในสวีเดน หรือดิฉันไม่เปรียบเทียบประเทศใดกับประเทศใด) พวกเขาอยากเห็นลูกมีความสุขกับชีวิตของตัวเอง โดยไม่ต้องมีพวกเขาเป็นภาระ
พวกเขาส่วนใหญ่ที่เลือกอยู่บ้านคนชราเป็นความสมัครใจทั้งพ่อแม่และลูก (ไม่ได้เปรียบเทียบประเทศใดกับประเทศใด เล่าเพียงแต่ว่าที่สวีเดนเขาทำอย่างไรและเพราะอะไร)
เราต้องเข้าใจว่าบ้านคนชราที่นี่นั้นมีมาตรฐาน ต้องเข้าใจว่าจิตสำนึกของคน ("ส่วนใหญ่") สูง ไม่มีการแอบมาตบมาตีคนแก่คนเฒ่า และถ้ามีก็จะถูกลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง (ที่นี่การทำร้ายร่างกายผิดกฎหมายร้ายแรง และกฎหมายเขาเคร่งครัดและเป็นธรรมไม่มีการจ่ายใต้โต๊ะ “ใช้คำว่าส่วนใหญ่นะคะ”)
ที่บ้านคนชรามีสังคมคนชราเป็นเพื่อนกับพ่อแม่ทำให้ไม่เหงา มีคนดูแลซักผ้า ทำอาหาร ทำความสะอาด ฯ และมีพยาบาลประจำการ 24 ชม ลูกไปเยี่ยมได้เกือบตลอดเวลา สะอาด มีมาตรฐาน และปลอดภัย
ผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกดีกับการบริหารส่วนผู้สูงอายุของประเทศ แต่ในสังคมปลีกย่อยก็มีปัญหาต่างกันไป เช่น ลูกบางคนมาเยี่ยมพ่อแม่ไม่บ่อย ผู้สูงอายุก็เหงาและคิดถึง แต่ถึงอย่างไรปัญหานี้ก็มีอยู่เช่นในประเทศอื่น แต่ที่นี่ผู้สูงอายุยังอยู่ในการดูแลของรัฐด้วยคุณภาพและมาตราฐาน
ส่วนเรื่องสถาบันครอบครัว ตะวันออกกับตะวันตก แตกต่างกันเยอะ ตะวันออกเรามีระบบอาวุโส เราสอนให้เคารพผู้สูงวัย เราสอนให้มีความกตัญญูต่อบุพการี “🌼แต่ในปัจจุบันมันก็ลดน้อยไปมากแล้ว คละเคล้าวัฒนธรรมตะวันตก”🌼
ดิฉันเข้าใจที่คุณคิดคะ แต่มุมมองของดิฉัน ดิฉันสงสัยใจว่าเรากำลังใช้สิ่งที่รุ่นเราได้รับการปลูกฝั่ง (ถ้าผู้อ่านมีลูกแล้ว) มาเป็นมาตราฐานและคาดหวังอะไรกับเด็กไหม เช่น (ตัวอย่างนะคะ) เราเคยถูกสอนมาว่าการเคารพผู้ใหญ่ต้องเชื่อฟัง
แต่เด็กสมัยนี้กับฟังไม่ได้หรือไม่ฟังเรา เพราะสังคมเขาเปรียบไป จึงไม่สามารถฟังเหตุผลของรุ่นเรา เมื่อเราคาดหวังให้เค้าฟัง แต่เค้าไม่สามารถฟัง กลับเถียง มันก็ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ ทำให้เรามองว่าเด็กเปลี่ยนไปจากที่เราเคยเป็น
เป็นไปได้ไหม? อันนี้ดิฉันแค่สงสัยนะคะ
คำว่าเถียง เราผู้ใหญ่อาจจะเรียกว่าเถียง แต่เด็กสมัยนี้อาจจะมองว่ามันคือการอภิปราย 😱 หรือการให้เหตุผลของเขา คือ สังคมเขา สังคมเรามันเปลี่ยนไปแล้ว เหตุผลของเรากับของเขามันคนละเหตุผลกัน คนละรุ่นกัน แล้วไหม?
ถ้าเราบอกลูกว่า "ไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่รักลูก" พวกเขาก็อาจจะบอกเราว่า "ไม่มีลูกคนไหนไม่รักพ่อแม่" (เช่นเคยนะคะว่าเป็นภาพรวมเพราะถ้าจะมีใครเจาะลงไปมันก็มีทั้งพ่อแม่ใจร้ายลและลูกใจร้ายก็มีเช่นกัน)
2
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่การเดา ตามความคิดของดิฉันนะคะ ผู้อ่านอาจจะคิดไม่เหมือนกัน หรือ ต่างไปเลย ไม่ว่ากันค่ะ
ส่วนคำว่า 🌼“คละเคล้าวัฒนธรรมตะวันตก”🌼 มันเหมือนเราตัดสินแล้วว่าวัฒนธรรมของเราเท่านั้นที่ดี และคิดว่าวัฒนธรรมของเขาไม่ดี เมื่อนำมาปนกันมันจึงทำให้ของเราที่ดีนั้นเสือมเสียไป ทั้งๆที่ทั่วโลกก็ยอมรับว่าโลกของเขาเป็นโลกที่พัฒนาแล้ว มันแปลกและน่าสนใจดีคะ
🔺ส่วนตัวดิฉัน ดิฉันคิดว่าเรารับเขามาแต่วัฒนธรรมผิวเผิน แต่เราไม่มีความพร้อมในสังคมส่วนลึกเหมือนที่เขามี🔺
เช่น ปัญหาสังคมพ่อแม่กับลูกไม่เข้าใจกัน จนกลายเป็นว่าเด็กไม่เชื่อฟัง ไม่เคารพ ไม่สุภาพ และเถียง ถ้าเป็นฝั่งสวีเดน พ่อแม่ที่นี่เขาเคารพความคิดและฟังความคิดเห็นของลูก ความเท่าเทียมทำให้ความเป็นมนุษย์เด่นชัดขึ้น
ผู้ใหญ่จึงรับฟังเด็ก เคารพเด็กได้อย่างไม่รู้สึกว่าผิดธรรมชาติ คำว่าเคารพไม่ได้หมายถึงกราบไหว้ เพราะที่นี่เค้าไม่กราบไหว้กัน แต่เขาให้เกียรติ ให้ความสำคัญ และรับฟังเด็ก แล้วอย่างนี้เด็กที่นี่จะไม่เชื่อฟัง ไม่เคารพ ไม่นับถือผู้ใหญ่ได้อย่างไร (ภาพรวมอีกนะคะ)
ยกตัวอย่างอีกตัวอย่างนะคะ เรื่องการรับวัฒนะรรมเขามาแต่ผิวเผิน การที่เรารับวัฒนธรรม ฟรีเซ็กส์ทางตะวันตกมาใช้ เราเอามาแต่คำว่าฟรีเซ็กส์ แต่เราไม่เอาพื้นฐานที่จะต้องปรับความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประเทศฟรีเซ็กส์มาด้วย
เช่น ที่นี่เค้ามี การให้ความรู้เพศศึกษา ที่ถูกต้อง ถูกวิธี จากผู้เชี่ยวชาญที่รู้ว่าจะสอนอะไร อย่างไร เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นการให้ความรู้ไม่ใช่ให้เห็นว่าเป็นเซ็กส์ เรื่องปลุกอารมณ์ หรือผิดศีลธรรม
เค้ามีความพร้อมของพ่อแม่ที่มีความรู้จากการที่ได้เรียนในโรงเรียนตอนเด็ก หรือจากการศึกษาเพิ่มเติม จากนิสัยอยากเรียนรู้ของพวกเขา แล้วสามารถสอนหรือพูดคุยกับลูกๆ อย่างเป็นธรรมชาติเมื่อถึงเวลา เขามีแม้แต่ศูนย์ช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นเรื่องเพศ
มีแม้แต่ถุงยาง ยาคุมกำเนิดแจก เขามีความพร้อมที่เราไม่มี แต่เรายังมองหรือเถียงกันว่าการสอนเด็กเรื่องเพศอาจจะผิดศิลธรรม เป็นการชี้นำทั้งที่มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน และ เป็นปัญหา โน้นนี่นั้น อยู่ไหม?
ทั้งๆที่เรา หรือเด็ก ไปเอาวัฒนธรรมผิวเผินเขามาแล้ว และโดยไม่ได้รับความบช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ (รัฐ) ทั้งที่เห็นว่าเริ่มเป็นปัญหา สิ่งนี้ที่เป็นสิ่งดีๆ ในบ้านเขา มันก็กลายเป็นปัญหาที่บ้านเราสิคะ
แล้วเราก็ไปว่าวัฒนธรรมเขาไม่ดี ทั้งที่บ้านเขาใช้อยู่และก็ไม่มีปัญหา ที่นี่ไม่มีเด็กวัยรุ่นท้องไม่มีพ่อ ไม่มีเด็กทำแท้งเองจนเสียชีวิต ไม่มีเด็กทารกที่พ่อแม่แอบเอาไปทิ้ง ไม่มีเด็กที่ไม่มีพ่อแม่จนกลายเป็นปัญหาสังคม ฯลฯ (ภาพรวม นะคะ ในภาพลึกสังคมเล็กๆต้องพบปัญหาอยู่บ้างอยู่แล้ว)
🔹 ปล. ดิฉันได้เล่าเรื่อง "Free sex" ฝรั่ง vs ไทย ไว้ ลิ้งค์อยู่ข้างล่างหากใครสนใจ
กลับมาที่ปัญหาเด็กไม่เคารพ เด็กเริ่มมีเหตผลของตัวเองที่ต่างจากรุ่นพ่อแม่ สองรุ่นเริ่มคิดต่างกัน เมื่อพวกเขาพูดไปก็กลายเป็นเถียง สิ่งที่เรายังขาด คือ ตัวเชื่อมที่ทำให้พ่อแม่เข้าใจสิ่งที่ลูกคิด (แต่มันก็เป็นแค่ความคิดของดิฉันนะคะ)
ยังมีพื้นฐานอะไรอีกเยอะแยะคะ สำหรับปัญหาเด็กไม่ฟังผู้ใหญ่ ที่ประเทศเขาพร้อมแล้วแต่เรายังไม่มีสิ่งนั้น
ส่วนหนึ่ง ดิฉันก็ได้เขียนไว้ในเรื่อง เชื่อฟัง-ฟังแล้วเชื่อ ลองอ่านดูนะคะลิ้งค์อยู่ด้านล่างถ้าใครสนใจ นั่นเป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายๆสิ่งหลายอย่าง ที่ดิฉันเชื่อว่าเขามีแต่เรายังไม่มี สำหรับปัญหานี้
มีคนเคยบอกว่า “ทำไมต้องฟังเรื่องของสวีเดน ทำไมต้องเหมือนสวีเดน เป็นไทยก็ดีอยู่แล้ว” ถ้าคิดอย่างนั้นดิฉันก็บอกว่าขอบคุณมากที่เคยอ่านเรื่องเล่าของดิฉัน และไม่ต้องตามดิฉันก็ได้นะคะ
ดิฉันขอแค่คนที่สงสัยว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเค้ามีชีวิตอย่างไร เขาปฏิบัติอย่างไรกับประชาชนของเขา ไม่ใช่เพื่อทำตามหรือเลียนแบบ (หรือทำได้ก็อาจจะดี ไหม? แต่เราก็ไม่มีอำนาจ🤔 หรือเรามี?) ประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศไทย
แต่การได้รู้จักประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศที่เค้ามีชีวิตที่ดีมีคุณภาพก็เป็นความรู้ไว้ ไหม? ไม่ใช่แค่ประเทศสวีเดนนะคะ ยังมีอีกหลายๆๆๆ ประเทศที่น่าศึกษาในเชิงลึก แต่ละประเทศก็ มีดี มีด้อย ต่างกันไป
ลองคิดดูนะคะ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่ดีงามเยอะจริงค่ะ เพียงแต่วัฒนธรรมสวนหนึ่งควรเปลียนแปลงไปตามยุคสมัย ถ้าประเทศไทยที่ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส มีมิตรไมตรีได้มีคุณภาพชีวิที่ดี มีความเท่าเทียม อย่างเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เงินบำนาญคนชรา กฎหมาย ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่สวยงามขนาดไหนของโลกใบนี้ (ขอโทษอีกครั้งถ้าใครคิดว่าประเทศไทยดีแล้ว)
สิ่งที่ดิฉันเล่ามาทั้งหมดไม่ใช่มาอวดประเทศเขา แต่เล่าด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าสังคมของประเทศที่เขาเรียกว่าประเทศพัฒนาแล้วเป็นอย่างไร
ครอบครัวเขาเป็นอย่างไร ถ้าผู้อ่านจะคิดว่าไม่ดี ก็ไม่เป็นไรเป็นอิสระของผู้อ่านที่จะคิด ส่วนคนสวีดีสเขาก็มีอิสระที่จะคิดว่าของเขาดีและก็ต้องปล่อยให้เขาคิดไป
ต่างคนต่างฝ่ายก็ชอบสไตล์ของตัวเองที่ตัวเองมี ดิฉันไม่ได้มาเล่าว่าสไตล์ครอบครัวแบบไหน ใครดีไม่ดี แต่มาเล่าความจริง (“ในภาพรวม”) ให้เห็นความต่างใครมีอะไรอย่างไง และอย่างที่บอกถ้าจะเจาะในภาพเล็กๆ หรือสังคมเล็กๆ หรือลึกลงไปอีก ก็คงจะมีอะไรต่างไปจากที่ดิฉันเล่าอีกมากมาย
บทความสั้นๆ ไม่สามารถสรุปความจริงมุมเล็กมุมน้อยได้ทั้งหมด เป็นได้แต่เพียงภาพโดยรวม และโดยเฉพาะตามมุมมองของดิฉันเท่านั้น
ส่วนผู้อ่านจะคิดอย่างไรนั้นแล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่านเอง ดิฉันไม่สามารถจะไปเปลี่ยนความคิดใครได้ไม่ว่าจะฝ่ายไหน ไม่สามารถแม้จะตัดสินว่าใครดีหรือไม่ดีได้
ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะ สำหรับท่านที่แสดงความคิดเห็นคะ😊
🔹ปล.
ช่วงหนึ่งดิฉันได้กล่าวถึงระบบการศึกษาของสวีเดน ดิฉันไม่ได้หมายถึงว่าระบบการศึกษาไทยไม่สอนให้คนเป็นดี แต่ระบบการศึกษาไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับระดับโลกเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศ (ไม่ใช่แต่ที่สวีเดน) ถูกยอมรับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันเป็นเพียงในความคิดของดิฉันเท่านั้น ผู้อ่านอาจจะคิดว่าประเทศไทยดีที่สุดแล้วมีระบบการศึกษาที่ดีอยู่แล้ว ก็เป็นอิสระของแต่ละท่านไป 😊
บทความเรื่องเล่านี้ เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อสังคมประเทศสวีเดนเท่านั้น ไม่สามารถสรุปได้ว่าคนอื่นๆจะมีประสบการณ์เช่นเดียวกัน และไม่สามารถสรุปได้ว่าสังคมฝรั่งประเทศอื่นๆ จะเป็นเช่นเดียวกัน
🔹เ พิ่ ม เ ติ ม 🔹
เราเคยได้รับคอมเมนต์ในเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ซึ่งในคอมเม้นต์นั้นเราได้สัญญาว่าจะเล่าเรื่อง “อัตราภาษี (ที่ว่าสูง)” ฝรั่งเขาจัดการกับภาษีอย่างไร (อย่างคร่าวๆ) รวมถึงชาวสวีดีสเขารู้สึกอย่างไรกับการจ่ายภาษี
และเมื่อเขายังหนุ่มอยู่ในวัยทำงาน เขาสามารถคำนวณเงินเบี้ยผู้สูงอายุที่เขาจะได้รับเมื่อเขาแก่ชราว่าได้ประมาณเท่าไหร ได้อย่างไร (แต่คงเล่าอย่างคร่าวๆนะ)
 
อีกคอมเม้นท์ที่เราได้สัญญาว่าเราจะตอบเป็นเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับ “เด็กชู 3 นิ้ว” แต่คอมเม้นท์ล่าสุดนี้ที่เราพึ่งได้รับนี้ เราได้ตอบไว้แล้ว ซึ่งเราเห็นว่าคำตอบนั้นมันสามารถนำมาคุยกันได้เลย จึงลัดคิวเรื่องอื่นๆ ก่อน (หากท่านที่ได้คอมเมนท์ไว้ก่อนหน้าได้อ่านตอนนี้ เห็นว่าเราลัดคิวและยังไม่ตอบให้สักที)
อ่านเรื่องเล่า ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
"Free sex" ฝรั่ง vs ไทย
“เชื่อฟัง - ฟังแล้วเชื่อ” ฝรั่ง VS ไทย
ดูเรื่องเล่าน ฝรั่ง VS ไทยทุกตอน
โฆษณา