1 มิ.ย. 2021 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
รู้จัก กฎของ Murphy “ทุกสิ่งที่ผิดพลาดได้ จะผิดพลาด”
1
"Anything that can go wrong will go wrong"
ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาดได้ จะผิดพลาด
นี่คือบทสรุปแบบง่าย ๆ ของ กฎของ Murphy หรือ Murphy's Law
5
เราเคยสงสัยไหมว่า หลายเหตุการณ์เราอาจคิดว่าไม่น่าจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น
แต่สุดท้ายแล้วกลับเกิดขึ้น และบางครั้งเราคงคิดว่ามันคือ ความโชคร้าย
5
กฎของ Murphy คืออะไร และที่ผ่านมา สามารถนำมาอธิบายเรื่องราวรอบตัวเราได้แค่ไหน ?
ก่อนอื่น ให้ทุกคนลองนึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้กันก่อน
- ไม่เอาร่มติดกระเป๋ามาในวันที่ฝนตก ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน
- นัดลูกค้าไว้ตอนเช้าใจกลางเมือง แต่ไปไม่ทันเพราะรถเสีย
- ไม่ได้ต่อประกันรถยนต์ ในช่วงที่ขับรถแล้วประสบอุบัติเหตุ
- กำลังนำเสนองานในที่ประชุม แต่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเก่าที่ใช้มานานดันเสียขณะนำเสนอ
3
สำหรับหลายคนถ้าเราไม่คิดอะไรมาก
ก็อาจเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่า “ความโชคร้าย”
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสังเกตให้ดี ทุกเรื่องในชีวิต เมื่อมันมีโอกาสที่จะสามารถผิดพลาด มันก็จะผิดพลาดได้สักวันหนึ่ง
ปรากฏการณ์แบบนี้ ถูกอธิบายด้วย “กฎของ Murphy”
 
จริง ๆ แล้วต้นกำเนิดของ กฎของ Murphy
ก็ยังมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่ามาจากไหน และเริ่มต้นมาอย่างไร
2
อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุด คือคาดกันว่าเกิดมาจากชายชาวอเมริกัน ที่มีชื่อว่า “Edward Murphy” อดีตวิศวกรในฐานทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา
3
วันหนึ่งในปี 1949 Edward Murphy และทีมของเขากำลังทำการทดลองเกี่ยวกับความอดทนของมนุษย์ที่มีต่อแรงโน้มถ่วงของโลก (G-Forces) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเอาผลการทดลองนี้ไปออกแบบเครื่องบินในอนาคต
3
แต่หลายครั้งระหว่างการทดลอง เขามักเผชิญกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนและเกิดข้อผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเขาก็พยายามตรวจหาสาเหตุหลายครั้ง แต่ก็ไม่พบต้นตอ
1
จนสุดท้ายเขาพบว่า ผู้ที่ก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้
มาจากช่างเทคนิคในทีม ที่ต่อสายอุปกรณ์บางอย่างผิดพลาด
นอกจากความผิดพลาดในเรื่องนั้นแล้ว การทดลองของเขาก็เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมากมาย
แต่สุดท้ายโปรเจกต์ของเขาก็สำเร็จ และได้ข้อสรุปที่ละเอียดครบถ้วน และสามารถนำไปต่อยอดการออกแบบเครื่องบินได้ในที่สุด
2
ไม่นานหลังจากนั้น สถาบันทดลองก็ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าว เกี่ยวกับโปรเจกต์ที่ Edward Murphy ทำการทดลอง
1
เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งได้พูดกับสื่อว่า การทดลองครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี และได้ผลการทดลองออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นเพราะคำพูดประโยคหนึ่งของ Edward Murphy
1
ประโยคนั้นคือ "Whatever can go wrong, will go wrong"
หรืออะไรที่สามารถผิดพลาดได้ มันจะผิดพลาด
7
ซึ่งเขาบอกว่า Murphy ยึดหลักคิดแบบนี้มาใช้ในการกำหนดโอกาสความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการทดลอง จนกลายเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ทีมงานสามารถเก็บรายละเอียดความผิดพลาดในการทดลองได้มากและละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
3
หลังจากนั้นก็เริ่มมีคนนำแนวคิดนี้ไปพูดกันในวงกว้างมากขึ้น
และได้ไปปรากฏในนิตยสารด้านการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นที่พูดถึงไปในอีกหลายวงการ และทั่วโลก จนได้รับการยอมรับว่าเป็น “กฎ” เลยทีเดียว
4
ซึ่งถ้าลองเอากฎของ Murphy มาอธิบายกับเรื่องใกล้ตัวเรา
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สามารถอธิบายได้ด้วยกฎนี้ได้
เพราะจริง ๆ แล้วโลกของเรามีโอกาสเกิดโรคระบาดได้อยู่เสมอ
ซึ่งก็มีกลุ่มคนที่มองเห็นและออกมาเตือนอย่าง บิลล์ เกตส์
ที่เขาเคยพูดใน TED Talks ในปี 2015 ว่า โลกของเราจะเจอกับโรคระบาดครั้งใหญ่ในไม่ช้า และมนุษย์โลก ยังไม่พร้อมรับมือกับโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
1
แต่เนื่องจากการแพทย์ในวันนี้นั้น ก้าวหน้าไปมาก เมื่อเทียบกับอดีต
หลายคนจึงไม่ทันได้ตระหนักอย่างจริงจังว่าจะมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้นได้
แต่วันนี้ โควิด 19 ที่ระบาดหนักไปทั่วโลก ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว..
3
กฎของ Murphy จึงเป็นกฎที่บอกว่า อะไรที่มีโอกาสผิดพลาดได้ มันจะผิดพลาดเสมอ
ถึงแม้ตั้งแต่อดีตมาจนวันนี้ เราจะยังไม่เจอความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดนั้น
แต่สุดท้าย สักวันหนึ่งในอนาคต ความผิดพลาดนั้นมันก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี
4
กฎของ Murphy ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ หรือแม้แต่การบริหารประเทศ
โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารความเสี่ยง
โดย กฎของ Murphy เปรียบเสมือนเครื่องย้ำเตือนผู้บริหารหรือผู้นำว่า ควรจะต้องคิดและพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้ง เวลาจะตัดสินใจในการทำงาน หรือดำเนินโครงการใด ๆ ไม่ว่าความเสี่ยงที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น จะมีน้อยมากเพียงใดก็ตาม
2
และกฎนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมิน “Worst Case Scenario”
หรือการจำลองสถานการณ์ว่า หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดขึ้นมา เราควรจะเตรียมรับมือกันอย่างไร
 
เพราะถึงแม้เราจะวางแผนหาทางป้องกันข้อผิดพลาดหรือเหตุการณ์ที่เลวร้ายต่าง ๆ อย่างรัดกุมแล้ว แต่บางครั้งสิ่งเหล่านั้น ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้
4
แต่อย่างน้อย ถ้ามันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามีแนวทางหรือมาตรการมารับมือกับสิ่งนั้น
เราก็คงจะไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป และก็คงรับมือกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า การไม่ได้เตรียมตัวอะไรไว้เลย..
โฆษณา