1 มิ.ย. 2021 เวลา 08:48 • สุขภาพ
ปัจจัยกระตุ้นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) กำเริบได้ มีทั้งปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางเคมี เช่น สารเคมี สารทำความสะอาด และปัจจัยทางชีวภาพ เช่น สารก่อการแพ้
อะไรที่สามารถกระตุ้นให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้บ้าง
💨 สารก่อการแพ้ทางอากาศ​ (aeroallergens)
สารก่อการแพ้ทางอากาศที่พบได้บ่อย เช่น ไรฝุ่น (house dust mite) สามารถกระตุ้นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ สาเหตุอาจเกิดจากความบกพร่องทางผิวหนังของผู้ป่วยที่ทำให้สารก่อการแพ้ผ่านผิวหนังและทำให้เกิดการอักเสบตามมา
จากการวิจัยแบบ meta-anaylsis ไม่ได้พบว่าการหลีกเลี่ยงไรฝุ่นทำให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบน้อยลง ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสไรฝุ่นในคนที่มีอาการรุนแรง
🚬 ควันบุหรี่
จากการศึกษาอย่างเป็นระบบ (systemic review) พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกับการสูบบุหรี่ ทั้งในผู้ใหญ่และวัยรุ่นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่เป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นมากขึ้น
🧴สารก่อการแพ้สัมผัส (contact allergens)
เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง สารทำความสะอาด สารกันเสีย เป็นสาเหตุหลัก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ทำให้แพ้เหล่านี้
🐶 ขนสัตว์
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดเจนว่าขนสัตว์กระตุ้นให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบได้ อย่าไงก็ตาม แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงหากได้รับการทดสอบที่ยืนยันว่าสัตว์เลี้ยงหรือการสัมผัสขนสัตว์การทำให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ
🥘 การแพ้อาหาร (food allergy)
มีการศึกษาพบภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร่วมกับการแพ้อาหารในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการรุนแรงปานกลางถึงมาก อาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ที่พบบ่อยได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุและแต่ละคน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
แนะนำให้เด็กทารกดื่มนมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุ 4 เดือน เพื่อป้องกันผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่สัมพันธ์กับอาหาร
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่กำเริบจากการแพ้อาหาร มักวินิจฉัยในผู้ป่วยเด็กที่ผื่นมีความรุนแรงปานกลางถึงมาก โดยการทดสอบการแพ้อาหาร (oral food challenge test หรือ controlled oral provocation test)
📚 อ้างอิง
Fu T, Keiser E, Linos E, et al. Eczema and sensitization to common allergens in the United States: a multiethnic, population-based study. Pediatr Dermatol 2014; 31:21.
Nankervis H, Pynn EV, Boyle RJ, et al. House dust mite reduction and avoidance measures for treating eczema. Cochrane Database Syst Rev 2015; 1:CD008426.
Wollenberg A, Barbarot S, Bieber T, et al. Consensus-based European guidelines for treatment of atopic eczema (atopic dermatitis) in adults and children: part I. J Eur Acad Dermatol Venereol 2018; 32:657.
Wollenberg A, Barbarot S, Bieber T, et al. Consensus-based European guidelines for treatment of atopic eczema (atopic dermatitis) in adults and children: part II. J Eur Acad Dermatol Venereol 2018; 32:657.
Wollenberg A, Christen-Zäch S, Taieb A, et al. ETFAD/EADV Eczema task force 2020 position paper on diagnosis and treatment of atopic dermatitis in adults and children. J Eur Acad Dermatol Venereol 2020; 34:2717.
🌸 ติดตามความรู้โรคผิวหนัง ผิวพรรณความงาม สกินแคร์ จากคลินิกผิวสวย โดยแพทย์ผิวหนัง ได้ทุกช่องทางที่ https://linktr.ee/clearerskin
โฆษณา