1 มิ.ย. 2021 เวลา 10:56 • ธุรกิจ
#ทำงานไม่เป็น หรือ ไม่ตั้งใจทำงาน ปัญหาที่ผู้บริหารต้องอ่านให้ขาด แก้ให้ถูกจุด#
"มีใครในที่นี้ที่เคยเจอปัญหาพนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ"
ทุกครั้งที่ถามคำถามนี้ จะเจอผู้บริหารองค์กรยกมือกันแทบจะทุกที่
แต่ การที่พนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพนั้น
อาจจะมีมาจากสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
และถ้าแก้ไขปัญหาได้ดูจุด
เราจะสามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
และลดความเสียหายในระยะสั้นและระยะยาวได้
แต่ถ้าแก้ไขไม่ถูกจุด
นอกจากจะสร้างความเสียหายให้ชื่อเสียงขององค์กรแล้ว
ยังจะสร้างรอยรั่วด้านการเงินอีกด้วย
เรามาดูกันว่า
การสังเกตปัญหาการทำงานไม่มีประสิทธิภาพของพนักงานนั้น
มาจากการทำงานไม่เป็น หรือ
มาจากการไม่ตั้งใจทำงานกันแน่
*******************************
เมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดพลาดในงานเกิดขึ้น
สิ่งที่ควรทำ คือ
1) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
อาจจะตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน
ก่อนหน้านั้น ว่า เป็นไปตามระบบที่วางไว้หรือไม่
ผิดพลาดที่กระบวนการใด
2) เมื่อพบกระบวนการที่ผิดพลาด
ลองพูดคุยหาสาเหตุของการผิดพลาดนั้น
ว่ามาจากอะไร เช่น
- เป็นอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน หรือ
- เป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน
- หรือเป็นคนใหม่ ที่เพิ่งมารับงาน
- หรือ มาจากการที่เตรียมงานมาไม่ดีพอ (เช่นการวางแผนผิดพลาด)
- หรือประมาท เลินเล่อ
3) พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องในทันที ถึงแผนในการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
แล้วติดตามการแก้ไขปัญหาว่า ดีขึ้นหรือไม่
4) ถ้าปัญหาไม่ดีขึ้น หรือเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดขึ้นกับพนักงานคนเดิมๆ
ก็อาจจะต้องมาพิจารณาว่า
เขาขาดทักษะที่จำเป็นในการพัฒนางานนั้น
หรือ
เป็นเพราะนิสัยที่ไม่ Work ไม่ตั้งใจทำงาน
โดยปกติ ถ้าเกิดปัญหาผิดพลาด เราควรต้องมีอบรมสอนใหม่
เพื่อให้เขาทำงานได้ถูกต้อง
แต่ถ้าได้รับการอบรม จนทดสอบว่าทำได้แล้ว
แต่ก็ยังทำผิดอยู่
มันอาจจะแปลว่า พนักงานขาดความใส่ใจ
ไม่ตั้งใจในการทำงาน
หรือหลายๆครั้ง อาจจะไม่ได้เกิดจากปัญหาจากพนักงานโดยตรง
แต่เป็นเพราะบทบาทหน้าที่สับสน ซับซ้อนกัน
คนนึงทำหลายหน้าที่ จนเกิดช่องว่างในงาน
หรือมาจาก ระบบวิธีการทำงานที่ไม่ชัดเจน
ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสิน
ไม่มีกฎกติกาในการทำงาน หรือ ตัดสินใจที่ชัดเจน
ก็อาจจะทำให้มีปัญหาได้เช่นกัน
ทักษะการเป็นผู้นำที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
การแยกให้ออกว่า การที่เกิดข้อผิดพลาดในงาน
สาเหตุมาจากอะไร ถ้ารู้สาเหตุ ก็จะแก้ได้ถูกจุด
และป้องกันความเสียหายได้อย่างถาวร
มีเคสอยู่เคสหนึ่งที่ผู้เขียนยังจดจำได้
เป็นลูกค้ารายหนึ่ง ที่เป็นโรงงานทำเครื่องประดับ
ธุรกิจรายนี้ ออกแบบและผลิตเครื่องเพชรส่งออก
จุดเด่นคือ งานออกแบบที่งามวิจิตร ฝีมือเลิศ
ในตอนหนึ่งที่เรา โค้ชกันถึง การลดความเสียหายของต้นทุนการผลิต
พบว่า หลายครั้งที่ฝ่ายออกแบบ ออกแบบมาหรูหรา
แต่ขนาดของ "เพชร" ในสต็อกไม่มีขนาดที่ฝ่ายผลิตต้องการ
ผู้เขียนได้ถามว่าแล้วปกติ แก้ไขปัญหาอย่างไร
ทีมงานตอบว่า "เจ้านายให้ไปหาเพชรขนาดที่ต้องการมาให้ได้"
แต่ถ้าหาไม่ได้ เขาจะใช้วิธีการ นำเพชรเม็ดใหญ่มาเจียรให้ได้ขนาดที่ต้องการ
(ผู้เขียนและเจ้าของธุรกิจ อึ้งมาก)
พนักงานไม่รู้ว่า เพชร แต่ละกะรัต ราคาห่างกันบางทีเป็นเท่าตัว
เพราะขนาดของเพชรที่น้ำเดียวกัน ยิ่งเม็ดใหญ่ราคากะรัดละเป็นแสน
ลูกน้องตัดสินใจ เพราะกลัวเจ้านาย ไม่กล้าถาม
และพยายามทำหน้าที่ให้สำเร็จ ด้วยการให้เบิกเพชรเม็ดใหญ่ไปทำให้เล็กลง
จึงไม่แปลกใจเลย ทำกำไรหายไปทุกวัน
แต่ก็แปลกใจระบบการตรวจสอบต้นทุน
ว่าปล่อยให้เบิกเพชรเม็ดใหญ่ไปง่ายดายได้อย่างไร
เมื่อพบสาเหตุลักษณะนี้ จึงต้องปรับระบบการทำงานใหม่
การตัดสินใจ การอนุมัติใหม่ และอบรมให้ทุกคนเข้าใจระบบใหม่ด้วยกัน
เพื่อลดความเสียหาย ซึ่งหมายถึง กำไรขององค์กรกลับมา
สรุปคือ
1) ถ้าพนักงานทำผิดพลาดเพราะขาดทักษะ และความรู้ในงาน
ก็ให้ใช้กระบวนการโค้ชชิ่ง ฝึกอบรม จนกว่า จะได้มาตรฐาน
2) ถ้ามาจากปัญหา พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน ก็อาจจะต้องใช้กระบวนการทางวินัย
3) ถ้ามาจากบทบาทหน้าที่ไม่ชัดเจน ก็ทำให้ชัดเจน
4) ถ้ามาจากระบบการทำงานที่ไม่ชัดเจน ต้องใช้การตัดสินใจของบุคคล
ก็อาจจะต้องมา Set ระบบให้ชัดว่า ภายใต้เงื่อนไขแบบไหน จะตัดสินใจอย่างไร
หรือ ขอบเขตอำนาจในการตัดสินใจมีแค่ไหน
ถ้ามันเกินกว่าขอบเขตที่ตัดสินใจได้ จะต้องให้ใครเป็นผู้อนุมัติ
ถ้าแก้ปัญหาได้ตรงจุด ธุรกิจจะลดความเสียหายได้
และอาจจะพลิกวิกฤต เป็นโอกาส แค่ลดความเสียหายในขั้นตอนการทำงาน
ลดความผิดพลาดให้น้อยลง
อ่านบทความนี้แล้ว ท่านผู้อ่านได้พบปัญหาอะไรในองค์กรของท่านบ้าง
แล้วลองนำวิธีการนี้ไปวิเคราะห์ดู แล้วมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
เพราะในสภาวะวิกฤตโควิดนี้ ถ้าองค์กรที่ยังอยู่ได้
ก็ต้องถือว่า แข็งแกร่ง แต่เหนื่อยค่ะ
การลดความเสียหายที่ไม่เป็นเรื่อง เป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ
เรียบเรียงโดย
รัตนา ธนสารกิจ
ที่ปรึกษา และฝึกอบรมธุรกิจและองค์กร
https//ultramindcoach.com
online course สำหรับผู้บริหาร
โฆษณา