1 มิ.ย. 2021 เวลา 11:48 • สุขภาพ
มาเลเซียวิกฤต หมอจำใจต้องเลือกรักษาแค่บางคน
เตียงไม่พอ ICU ล้น คนป่วยพุ่ง ฤาจะเดินตามรอยอินเดีย
2
วันนี้ (1 มิถุนายน 64) นับเป็นวันแรกในคำสั่งล็อกดาวน์ทั้งประเทศครั้งที่ 5 ของมาเลเซียระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมาพร้อมกับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งอินเดีย แอฟริกา และบราซิล ที่จู่โจมมาเลเซียจนมีผู้ติดเชื้อวันเดียวพุ่งทะลุเกือบหมื่นรายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้จำนวนผู้ป่วยสะสมขณะนี้มากกว่าครึ่งล้านคนแล้ว
2
สถานการณ์นี้ทำให้เกิดวิกฤตทางสาธารณสุขอีกครั้งในมาเลเซีย เนื่องจากเตียงผู้ป่วยที่ใช้รองรับนั้นไม่เพียงพอ โดย ตัน ศรี นูร์ ฮิชาม อับดุลลาห์ อธิบดีสาธารณสุข ยอมรับว่าจำนวนผู้ป่วยที่พุ่งสูงเป็นประวัติการกำลังกระทบต่อขีดความสามารถในการรักษา โดยเฉพาะเตียงในห้อง ICU ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้แพทย์จะต้องเป็นผู้เลือกตัดสินใจว่า จะให้ใครเข้าไปรักษา และใครที่จะต้องรอคิวซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ หรืออาจจะไม่มีโอกาสได้เข้าห้อง ICU เลย
ความเป็นและความตายของผู้ป่วย เป็นสิ่งที่แพทย์ต้องแบกรับความกดดันนี้ เพราะคือผู้ที่กุมชีวิตของผู้ป่วยเอาไว้ เป็นความยากลำบากในการตัดสินใจที่คนมาเลเซียกำลังเผชิญอยู่และกระทรวงสาธารณสุขขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน
4
เตียง ICU สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคระบาดขณะนี้อยู่ที่ 104 % โดยมีการใช้งานที่ 1,113 เตียง ในขณะที่เตียงในโรงพยาบาล มากถึง 85% เป็นผู้ป่วยจากโรคระบาดนี้ โดยมีผู้ป่วย 10,190 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
2
ขณะที่ศูนย์กักกันโรคมีเตียงอยู่แค่ 65% โดยมีเตียงที่ใช้งานได้แค่ 27,183 เตียง ส่วนเครื่องช่วยหายใจอยู่ที่ 60% โดยมีการใช้ทั้งหมด 2,138 คน โดย 39% เป็นสำหรับผู้ป่วยโรคระบาด
1
มีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนเตียงให้เพียงพอต่อการรักษาไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนของโรงพยายาบาลที่มีอยู่อย่าจำกัดให้เป็นห้อง ICU รวมทั้งการใช้พื้นที่ของโรงพยาบาลเด็กเป็นพื้นที่รักษาผู้ป่วย พร้อมขอความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อใช้พื้นที่เป็นห้อง ICU เพิ่มเติม แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การขาดกำลังของบุคลากรที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า
2
ที่ผ่านมาประเทศมาเลเซียมีความพยายามที่จะจัดหาวัคซีนเข้ามาฉีดให้กับประชาชนโดยมี Pfizer และ Sinovac เป็นวัคซีนหลักที่ใช้ ส่วน AstraZeneca จะเป็นวัคซีนทางเลือก โดยขณะนี้มาเลเซียฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไปได้ไม่ถึง 6% ของจำนวนประชากร 32 ล้านคน ซึ่งเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานที่รับวัคซีนก็ค่อนข้างกระจุกตัว ทำให้ไม่สามารถกระจายวัคซีนให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วในวงกว้าง
2
รัฐบาลมาเลเซียจะเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 5 แห่งรอบ ๆ เมืองหลวง และจะเปิดศูนย์เพิ่มอีกที่รัฐปีนังและยะโฮร์ โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะต้องฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้วันละ 150,000 โดส
2
นอกจากนี้ ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน รัฐบาลจะให้คลินิกต่าง ๆ ทั่วประเทศราว 1,000 แห่ง เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนด้วย และกำลังพิจารณาให้มีการตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนแบบไดร์ฟทรู ทั่วประเทศด้วย แต่ทั้งหมดเป็นเพียงแค่แผนที่ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะแม้แต่การฉีดวัคซีนในรูปแบบปกติมาเลเซียยังไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่
4
สำหรับการติดเชื้อเมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมานับว่ามีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาด ซึ่งมีผู้ติดเชื้อที่ 9,020 คน เสียชีวิต 98 คน และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการติดเชื้อชนิดกลายพันธุ์รุนแรงที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์แอฟริกา
1
ทั้งนี้มาเลเซียนับว่าเป็นประเทศที่อยู่ติดกับชายแดนทางภาคใต้ของไทย และมีการลักลอบข้ามแดนของคนมาเลเซีย รวมทั้งคนไทยที่ข้ามไปทำงานฝั่งมาเลเซีย แต่เมื่อเกิดการระบาดต้องข้ามแดนกลับมาโดยวิธีการลักลอบข้ามผ่านเส้นทางธรรมชาติ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะนำเชื้อกลับมา โดยขณะนี้เริ่มพบการระบาดของเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ที่จังหวัดชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ซึ่งต้นตอของเชื้อก็มาจากผู้ที่เคยมีประวัติเดินทางมาจากประเทศมาเลเซียทั้งสิ้น
3
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา