2 มิ.ย. 2021 เวลา 01:00 • ประวัติศาสตร์
คุณเชื่อในความหวังมากแค่ไหนในเวลาที่สิ้นหวังมากที่สุด ? อาจจะฟังดูแปลกแต่เรื่องความหวังกลับถูกนำมาทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจังเพื่อหาความแตกต่างระหว่างหนูที่กำลังจมน้ำก่อนที่มันจะมีความหวัง และหลังจากที่มันได้รับความหวังแล้ว
2
ในอดีตเรื่องราวการทดลองนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “The Hope Experiment” โดยศาสตราจารย์ใจเด็ดท่านหนึ่งนาม Curt Richter แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ในปี 1950 โดยการทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบว่าความหวังจะมีผลต่อกายภาพของหนูทดลองหรือไม่ โดยการทดลองอันพิลึกนี้แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ดังนี้
1. การทดลองกับหนูบ้าน 12 ตัว
โดยใส่มันลงในโถน้ำจากนั้นรอดูว่ามันจะจมน้ำในกี่นาที ปรากฏว่าพวกมันจมน้ำในเวลาไม่ถึง 2 นาที ต่อให้ทดลองเป็นตัวที่ 2 ตัวที่ 3 ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่หนูเหล่านี้สามารถทนได้ก็เท่า ๆ กันไม่มีเปลี่ยนแปลง
1
ยุคสมัยที่หนูเป็นสัตว์ทดลอง
2. การทดลองด้วยหนูป่า 34 ตัว
มาถึงข้อสันนิษฐานใหม่ว่าถ้าเป็นหนูที่แข็งแรงกว่ามันจะอยู่ได้นานขึ้นไหม (หนูป่ามีความดุร้ายและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อันตรายกว่าหนูบ้านจึงแข็งแรงกว่า) แล้วคุณผู้อ่านคิดว่าอย่างไรบ้างครับ มันควรจะอยู่ได้นานกว่า 2 นาทีใช่ไหม แต่เปล่าเลยผลการทดลองไม่ต่างกันพวกมันจมน้ำใน 2-3 นาทีเช่นกัน
หนูป่าหรือหนูบ้านไม่ต่างกัน
3. หนูที่ได้รับการช่วยเหลือ
รอบนี้ศาสตราจารย์จะเริ่มทดสอบเกี่ยวกับความคิดของเขา “ความหวัง” ด้วยการนำหนูกลุ่มเดิมมาทดลองแบบเดิมแต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าหนูกำลังจะจมน้ำ เขาจะจับมันขึ้นมานำมาเช็ดตัวให้แห้งหลังจากระยะหนึ่งเขาจึงจับมันลงไปในน้ำเหมือนเดิม แต่คราวนี้กลับแตกต่างออกไปหนูเหล่านั้นสามารถว่ายน้ำได้นานกว่า 2-3 นาทีและนานกว่าหนูทั้งหมดที่ทดลองไปในครั้งที่ 1 และครั้งที่2 !!
อยู่รอดได้นานหลังเรียนรู้คำว่า "ความหวัง"
จากการทดลองสรุปได้ว่าหนูเหล่านั้นเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าหากไม่ถอดใจไปเสียก่อน มันอาจได้รับการช่วยเหลืออย่างที่มันเคยได้รับ ในทางตรงข้ามหากมันไม่มีความหวังเลยจะทำให้มันตัดสินใจยอมแพ้ได้ไวยิ่งขึ้น แล้วคุณล่ะในช่วงวิกฤติคุณเชื่อในความหวังมากแค่ไหน ?
4
ถ้าไม่อยากพลาดเรื่องราวแปลก ๆ แบบนี้สามารถกดติดตามเพจของเราเพื่อเป็นกำลังใจให้เราได้นะครับ :)
โฆษณา