9 มิ.ย. 2021 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อธิบาย “งบการเงิน” ฉบับง่ายมาก ๆ คนไม่เคยเข้าใจ สามารถเข้าใจได้ ณ บัดนี้
2
นักลงทุนมือใหม่ มือเก๋า หรือเซียน สิ่งหนึ่งที่ต้องพบเจอกันแน่ ๆ คือ ‘งบการเงิน’ ของหุ้นของธุรกิจ ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องหนักอก หนักใจกัน สำหรับนักลงทุนบางคน แค่เห็นตัวเลข เห็นตาราง ก็ไปไม่ถูกแล้ว ไม่เข้าใจเต็มไปหมดเลย แต่ถ้าคิดจะเป็นนักลงทุน งบการเงิน เป็นสิ่งควรรู้และเข้าใจ สู้ ๆ กันหน่อย
10
“งบการเงิน” สามารถเป็นโอกาสทางลงทุนได้ ผู้เขียน คือ คนที่ต้องอ่านงบการเงินทุกครั้ง ก่อนซื้อหุ้นเข้าพอร์ต หุ้นนั้นต้องผ่านการอ่านงบการเงินตลอด บางครั้งเปิดอ่านงบการเงินไปมา ทำให้เจอบริษัทหรือหุ้น ที่น่าสนใจเข้าลงทุนด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ยังช่วยวิเคราะห์ลงลึกไปในธุรกิจได้อีกด้วย
3
ถ้าพร้อมกันแล้ว “งบการเงิน” ทั้ง 3 งบ ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด เริ่มต้นอธิบายเข้าใจหลักคิดแบบง่าย ๆ แบบเบื้องต้นสุด ๆ (เหมาะสำหรับคนเริ่มต้นแบบใหม่มาก ๆ)
1
1. งบแสดงฐานะการเงิน
หรืออีกชื่อเรียกว่า “งบดุล” นั้นแหละ เป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ เพื่อดูความมั่งคั่ง มั่นคง งบแสดงทุกอย่างของกิจการ กิจการมีสินทรัพย์อะไรบ้าง มีอยู่เท่าไร มากน้อยแค่ไหน เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า ที่ดินและตึกอาคาร โดยสินทรัพย์ทั้งหมดนั้น แบ่งออกเป็น หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ
1
ตัวอย่างงบแสดงฐานะการเงินง่าย ๆ เช่น บริษัท A ซื้ออาคาร 1 หลัง ราคา 1,000,000 บาท โดยกู้เงินธนาคาร 500,000 บาท และเงินสดของตัวเอง 500,000 บาท
แสดงว่า บริษัท A ซื้ออาคาร 1 หลัง (สินทรัพย์) 1,000,000 บาท ได้มาจากกู้เงินธนาคาร (หนี้สิน) 500,000 บาท รวมกับเงินสดของตัวเอง (ส่วนของเจ้าของ) 500,000 บาท โดยทางงบแสดงฐานะการเงิน จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
1
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
3
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินของกิจการที่ครอบครองอยู่ และสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้
1. สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว ภายในระยะเวลา 1 ปี เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เป็นต้น (ตัวอย่าง ลูกหนี้การค้า กิจการอาจให้เครดิต 30 วัน ลูกค้าเอาไปของไปก่อนอีก 30 วัน เดี๋ยวมาจ่ายเงินกิจการ)
1
2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ สินทรัพย์ที่กิจการต้องถือไว้ยาวนานมากกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เป็นต้น (ตัวอย่าง สมมุติกิจการขาย ที่ดิน โดยการขายใช้ระยะเวลานานกว่า 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี อารมณ์เหมือนขายบ้าน ขายตึก แค่ติดป้ายใช้กว่าจะขายได้ทันที)
2
หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการ ที่ต้องชำระคืนในอนาคต
1. หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินระยะสั้นที่ต้องใช้เวลาในการชำระภายใน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น (ตัวอย่าง เจ้าหนี้การค้า กิจการเอาของไปก่อนอีก 30 วัน กิจการจ่ายเงินคืน เหมือนบัตรเครดิต ซื้อของวันที่ 1 จ่ายเงินวันที่ 30)
10
2. หนี้สินไม่หมุนเวียน หมายถึง หนี้สินระยะยาวที่ต้องใช้เวลาในการชำระมากกว่า 1 ปี เช่น เงินกู้ยืมระยะยาว เป็นต้น (ตัวอย่าง กู้เงินธนาคารซื้อตึก 1,000,000 บาท กิจการขอผ่อนชำระธนาคาร ระยะเวลา 30 ปี)
1
ส่วนของเจ้าของ หมายถึง เงินทุนที่เป็นส่วนของเจ้าของกิจการ ส่วนได้ส่วนเสียกับสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งหมดแล้ว
2
2. งบกำไรขาดทุน
3
งบแสดงความเก่งของธุรกิจ ทำธุรกิจเก่งหรือไม่ งบกำไรขาดทุน งบแสดงผลการดำเนินงานของบริษัท สำหรับรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ราย 9 เดือน และรายปี ว่าผลการดำเนินงาน บริษัทกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่
3
ตัวอย่างงบกำไรขาดทุนง่าย ๆ เช่น บริษัท A ขายกระเป๋า 1 ใบ ราคา 1,000 บาท ต้นทุนกระเป๋า 1 ใบ ราคา 800 บาท ได้รับส่วนต่าง 200 บาท
3
แสดงว่าบริษัท A ขายกระเป๋าได้ 1 ใบ (รายได้) 1,000 บาท มีต้นทุนกระเป๋า 1 ใบ (ค่าใช้จ่าย) 800 บาท ได้รับส่วนที่เหลือ (กำไร) 200 บาท โดยทางงบกำไรขาดทุน จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
4
รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไรหรือขาดทุน
รายได้ หมายถึง สิ่งที่ได้รับเข้า จากการประกอบกิจการ ดำเนินธุรกิจอาจเป็นการขายสินค้าและบริการ ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ รายได้จากการลงทุน รายได้จากการเช่า และรายได้อื่น ๆ เป็นต้น
1
ค่าใช้จ่าย หมายถึง สิ่งที่ได้จ่ายออก จากการประกอบกิจการ ดำเนินธุรกิจอาจจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ และจ่ายเพื่อทำให้ขายสินค้าและบริการออกไปได้ ได้แก่ ต้นทุนขาย ต้นทุนบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริการ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และต้นทุนทางการเงิน เป็นต้น
3
กำไรหรือขาดทุน หมายถึง สิ่งที่เหลือ จากส่วนต่างของรายได้และค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจจะได้เป็น กำไร หรือ ขาดทุน ก็ได้เหมือนกัน
3
3. งบกระแสเงินสด
งบแสดงเงินสดภายในกิจการ กระแสเงินสดของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไรสำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงเงินสดในกิจการไว้บอกสภาพคล่องกิจการ ซึ่งสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจ (ตัวอย่างงบกระแสเงินสดง่าย ๆ เปรียบเสมือน การทำรายรับ – รายจ่ายในชีวิตประจำวัน)
2
งบนี้แสดงกระแสเงินสดรับเงิน เงินสดได้รับเข้ามาอย่างไร และกระแสเงินสดจ่าย เงินสดได้จ่ายออกไปอย่างไร ซึ่งจะกระแสเงินสดแบ่งออกตาม 3 ประเภทกิจกรรมของกิจการ หรือง่าย ๆ สิ่งที่กิจการเอาเงินไปทำอะไร ได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน กิจกรรมจัดหาเงินทุน
2
กิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง กิจกรรมกระแสเงินสด จากสิ่งที่ก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ
กระแสเงินสดรับ (+) เช่น รายได้จากการขายสินค้าและบริการ รายได้อื่น ๆ รับชำระหนี้ให้ลูกหนี้การค้า เป็นต้น
กระแสเงินสดจ่าย (-) เช่น จ่ายค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า และ ค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่าง ๆ เงินเดือน ค่าเช่าสำนักงาน เป็นต้น
3
กิจกรรมลงทุน หมายถึง กิจกรรมกระแสเงินสด จากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของบริษัท การได้มาและจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนอื่น ๆ
กระแสเงินสดรับ (+) เช่น ขายที่ดิน ตึก อาคาร อุปกรณ์สำนักงาน และขายเงินลงทุน เป็นต้น
กระแสเงินสดจ่าย (-) เช่น ซื้อที่ดิน ตึก อาคาร อุปกรณ์สำนักงาน และซื้อเงินลงทุน เป็นต้น
4
กิจกรรมจัดหาเงินทุน หมายถึง กิจกรรมกระแสเงินสด จากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหาแหล่งเงินทุนของบริษัท ได้จากรายการส่วนของเจ้าของ (การออกหุ้นเพิ่มทุน จ่ายเงินปันผล) และส่วนของการกู้ยืม (กู้ยืมธนาคาร และจ่ายเงินธนาคาร)
กระแสเงินสดรับ (+) เช่น กู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน การออกหุ้นเพิ่มทุน และหุ้นกู้ เป็นต้น
กระแสเงินสดจ่าย (-) เช่น จ่ายชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว และจ่ายเงินปันผล เป็นต้น
7
การอธิบายทั้ง 3 งบการเงินนั้น เป็นการอธิบายแบบง่าย ๆ ในฉบับมือใหม่แบบพื้นฐานสุด ๆ เพื่อให้หลายคน สามารถมองเห็นภาพแบบง่าย ๆ ของ “งบการเงิน” และสามารถนำไปต่อยอดลงลึกในรายละเอียดได้
3
สุดท้ายถ้าอยากเป็นนักลงทุนในหุ้น “งบการเงิน” เป็นสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ เพื่อจะได้ศึกษาเข้าใจธุรกิจ สามารถเป็นโอกาสทางลงทุนได้ ทุกอย่างดีหรือไม่ดีสามารถแสดงให้เห็นได้ใน “งบการเงิน”
1
ชอบ "กดถูกใจ" ใช่ "กดแชร์"
แล้วพบกับบทความดี ๆ จาก SkillLane อีกมากมาย
กดติดตามไว้ได้เลย!
พบกับคอร์สออนไลน์การเงินการลงทุน โดยกูรูระดับประเทศที่ SkillLane คลิกเลย
โฆษณา