Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Absinthe
•
ติดตาม
3 มิ.ย. 2021 เวลา 05:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Sapiosexual การหลงไหลในความฉลาดในมุมมองของชีววิทยา(ที่อาจจะไม่เซ็กซี่ขนาดนั้น)
ในช่วงปีที่ผ่านมา Sapiosexual หรือ Saphiophile ได้ถูกเพจต่างๆนำมากล่าวถึง และเป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจากสองคำนี้เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงผู้ที่นิยมชมชอบใน”ความฉลาด” ของคู่สนทนา ไปจนถึงความใคร่และการสนใจมีเพศสัมพันธ์กับคนที่”ฉลาด”
ซึ่งรากศัพท์ของคำว่า Sapiosexual และ Sapiophile นั้นเกิดจากคำในภาษาละติน คือ Sapient- ที่หมายความว่า wise หรือความฉลาดรอบรู้ รวมกับคำว่า phile ในภาษากรีก ที่แปลว่าความชื่นชอบ และsexual ที่หมายถึงเพศ(ในที่นี้คนที่สร้างคำขึ้นมาน่าจะต้องการหมายถึงอารมณ์ทางเพศ)
จากที่เราได้ลองอ่านบทความภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับSapiosexual ทำให้เราเห็นถึงการromanticise หรือการทำให้คำคำนี้ดูโรแมนติกเกินจริง อย่างเช่นการพยายามมองว่าบุคคลที่มีรสนิยมแบบ Sapiophile นั้นดีกว่า มีความเซ็กซี่มากกว่า ลุ่มลึกกว่าบุคคลที่มีความรู้สึกดึงดูดจากหน้าตา หรือลักษณะทางกายภาพอื่นๆ รวมถึงการมองว่า Sapiosexual เป็นส่วนหนึ่งของ Sexual Orientation เป็นรสนิยมทางเพศ หรือเป็นอัตลักษณ์ทางเพศอีกรูปแบบหนึ่ง
แน่นอนว่าถ้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีคนเห็นด้วย ก็ต้องมีคนที่เห็นต่าง จากที่เราได้อ่านความคิดเห็นของคนบนอินเทอร์เน็ต มีคนส่วนหนึ่งที่มองว่า”ความฉลาด”เป็นเรื่องที่ไม่สามารถระบุเจาะจงได้ การชอบคนที่ฉลาดอาจจะหมายถึงชอบคนที่มีบุคคลิกเนิร์ด ดูเรียนเก่ง และเหมาะสมกับเรา
ซึ่งถ้าความฉลาดสามารถกระตุ้นความใคร่ของSapiosexualได้จริง กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะมีอารมณ์ทางเพศระหว่างเรียนในคลาส หรือการอ่านหนังสือ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นการชอบคนที่ดูฉลาดน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ดึงดูดในตัวคนที่เราใคร่ แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้เราใคร่หรือหลงไหลในตัวบุคคล
ในความคิดเห็นของแอดมิน เรามองว่าSapiosexual หรือ Sapiophile นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ คนเราสามารถมีอารมณ์ทางเพศ หรือรู้สึกโรแมนติกจากส่วนหนึ่ง หรือช่วงเวลาหนึ่งที่คนตรงหน้าแสดงท่าทางที่ดูฉลาดออกมา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นแค่บางส่วน แต่ความฉลาดนั้นไม่ใช่ทั้งหมดที่จะดึงดูดให้คนมีความสัมพันธ์กัน
ช่วงที่เราได้อ่าน argument เรื่อง Sapiosexual ทำให้เรานึกถึงพาร์ทหนึ่งของวิชาวิวัฒนาการ ซึ่งพูดถึง Sexual dimorphism หรือการตัดสินใจเลือกคู่ของสิ่งมีชีวิต โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดนั้นจะสนใจในลักษณะของเพศตรงข้าม(บางชนิดอาจจะมีมุมที่สนใจเพศเดียวกัน)แตกต่างกันไป เช่นในยีราฟเพศเมียจะสนใจยีราฟเพศผู้ที่มีคอยาวมากกว่าตัวอื่นๆ
ความสนใจเหล่านี้เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีสัญชาตญาณในการดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะทำทุกทางเพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์โดยรวม สิ่งมีชีวิตจึงวิวัฒนาการให้รู้สึกดึงดูดกับเพศตรงข้ามที่มีลักษณะดีที่สุด แข็งแรงที่สุด หรือสามารถสืบพันธ์ได้เร็วที่สุด ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สายพันธุ์ และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่
แน่นอนว่าในเชิงชีววิทยา มนุษย์ก็ถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิต(คำว่า Sapio หรือ Sapient ก็ยังเป็นชื่อสปีชี่ส์ของมนุษย์ คือ Homo sapiens sapiens หรือเผ่าพันธุ์โฮโมที่มีปัญญา)
และกลุ่มสิ่งมีชีวิตก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหลักการของธรรมชาติได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาก็ตาม
ตั้งแต่ที่มนุษย์วิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน สมองของเราถือเป็นการวิวัฒนาการหลักๆที่พัฒนาแตกต่างออกไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น รวมถึงสายพันธุ์โฮโมชนิดอื่นด้วย(สามารถอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือเซเปียนส์) พัฒนาการของสมองนี้ทำให้มนุษย์เราสามารถหลบหลีกอันตราย และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆจนมีชีวิตรอดมาจนถึงปัจจุบันในฐานะจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร
ถ้าเรานำข้อเสนอที่ว่า “สิ่งมีชีวิตต้องการคัดเลือกลักษณะที่ดีที่สุดของคู่เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์” มารวมกับ “สมองมนุษย์เป็นลักษณะเด่นที่สุดในการดำรงเผ่าพันธุ์” มาเชื่อมโยงกัน เราจะไม่แปลกใจเลยว่าทำไมถึงมีคนให้ความสนใจในความฉลาด และบุคลิกท่าทีที่มีแนวโน้มว่าจะฉลาดของคนที่เราต้องการมีความสัมพันธ์ด้วย
และในอีกแง่หนึ่ง ความฉลาดก็อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวที่มนุษย์โฟกัสในการเลือกคู่ เพราะจากหลักฐานทางวิวัฒนาการได้บอกเราว่า ก่อนหน้าที่เราจะมีความฉลาด ลักษณะทางกายภาพ เช่นขนาดของร่างกาย หน้าตา ท่าทาง ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกคู่มานานแล้ว
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้มุมมองทางวิทยาศาสตร์คือมุมมองทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีที่มาจากการพัฒนาสมองและความรู้คิดของมนุษย์เช่นกัน การพัฒนาของสมองทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆเนื่องจากแนวคิดด้านการยับยั้งชั่งใจ จริยธรรม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการเลือกคู่ รวมถึงการใช้ชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในกลุ่มนักชีววิทยาวิวัฒนาการก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ในแนวคิด Cultural Evolution
ดังนั้น แม้ว่าข้อเสนอเชิงวิวัฒนาการที่แอดมินกล่าวถึงจะมีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รองรับ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า sapiosexual เป็นผลจากวิวัฒนาการจริงๆ ไม่สามารถสรุปได้ว่าคนเราทุกคนต้องสนใจคนฉลาด ถ้ายังไม่มีทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ใกล้เคียงกันมารองรับ
และใช่... Sapiosexual ในเชิงวิวัฒนาการไม่ได้มีความเซ็กซี่เลย มันคือการเอาตัวรอดของมนุษย์แบบเดียวกันกับที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทำนั่นเอง;-;
Reference:
-
https://www.dictionary.com/e/slang/sapiophile/
-
https://www.biologyonline.com/dictionary/sexual-dimorphism
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย