4 มิ.ย. 2021 เวลา 08:21 • ยานยนต์
เครื่อง 1500 ของดีวันวาน ที่กำลังจะ กลายเป็นอดีต
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ทำให้หลายอย่างมีการพัฒนาเร็วขึ้น หนึ่งในนั้น คือการเปลี่ยนเครื่องยนต์สันดาปปกติที่เราหลายคนรู้จักกันดีไปสู่ยุครถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามากขึ้น บริษัทรถยนต์พยายามอัพศักยภาพเครื่องบล็อกเล็กมากขึ้น แล้วละทิ้งขุมพลังในอดีต อย่าง เครื่อง 1500 ซีซี
เครื่องยนต์ขนาด 1,500 ซีซี เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมุ่คนไทย ในฐานะอดีตขุมพลังหลักในรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่เข้ามาทำตลาดในช่วง ต้นยุค2000 กว่า 20 ปีที่ผ่านมา เครื่อง 1,500 เริ่มคืบคล้ายเข้ามาในใจหลายคน ด้วยความสามารถรอบด้าน สมรรถนะรอบตัว ใช้งานได้ดีทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพมหานคร
จุดเริ่มต้นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร จนดังเป็โป๊ะแตก เริ่มต้นจากการพยายามของบริษัทรถยนต์ชั้นนำ เสนอขายรถขนาดเล็กในไทย ที่จริงรถเล็กใช้เครื่องขนาดเล็กกว่า 1,500 ซีซี หรือ 1.5 ลิตร ก็ได้  แต่ชีวิตคนไทยต่างจากญี่ปุ่นอย่าง คนต้องการรถที่รู้สึกว่าขับได้ทุกที่ทุกทาง อารมณ์รถคันเดียวฉันไปได้หมด
เดิมทีมีเครื่องยนต์ 1.3 ลิตรให้เลือก ก็ถูกตีตกไป จนค่ายใหญ่ๆ ตัดสินใจนำเสนอเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเท่านั้น กลายเป็นมาตรฐานในรถเล็ก ที่แม้แต่ ค่ายวงรีสีน้ำเงินจากอเมริกา ขยับมาลองเชิงตลาดก็เห็นว่า เครื่องขนาดใหญ่กว่า 1.6 ลิตรขายไม่ค่อยดี เท่าที่ควร
ทุกอย่างมาถูกปิดกันเพิ่มเมื่อโครงการรถคันแรกของรัฐบาลขีดเส้น รถที่เข้าโครงการได้จะต้องผ่านเกณฑ์ขนาดไม่เกินเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ทำให้ คนส่วนใหญ่ ไปจับเจ่ากับเครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร ว่าคือเครื่องยนต์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
กำแพง เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี ถูกทำลายลงได้ หลังความนิยมอีโค่คาร์เริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงรถคันแรกกำลังบูม ยอดซื้อรถอีโค่คาร์เยอะขึ้น ทำให้คนไทยได้เปิดใจกับเครื่องยนต์ ขนาดเล็กต่ำกว่า 1,500 ซีซี เป็นครั้งแรก ในเวลานั้น ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องยนต์ขนาด 1.2-1.25 ลิตร เนื่องจากต้องการให้เห้นความต่างทางด้านพละกำลังเครื่องยนต์ จนกระทั่ง   Mazda   เป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่มีเครื่องยนต์ขนาด 1.3 ลิตร วางจำหน่าย กลายเป็นอีโค่คาร์เครื่องยนต์เบนซิน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มาจนวันนี้
ทำไม เครื่องยนต์ 1500 ซีซี ถึงนิยม นั้น ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถของเครื่องยนต์ที่มีการพัมนาต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง Honda   เครื่อง  L15A   ใน  Honda Jazz   และ  City   ในรุ่นแรก มีกำลังสูงสุดเพียง 109 แรงม้า ก่อนขยับมาเป็น 120 แรงม้า ในเจนเนอร์เรชั่นที่ 3 ทั้งยังเพิ่มความสามารถในการขับขี่ด้วยน้ำมัน  E85   ช่วยยกระดับศักยภาพรถเพิ่มเติม
ทางฝั่งโตโยต้า ก็มีเครื่องยนต์รหัส  1NZ-FE  มาประจำการตั้งแต่ Toyota Vios   ยุคแรก ยาวมายัน กลางโฉมตัวปัจจุบัน ก่อนเปลี่ยนเครื่องยนต์มาเป็นขุมพลังตัวใหม่  2NR-FBE  อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ทำให้ตลอดกว่า 20 ปี นับตั้งแต่เครื่องยนต์ 1500 ซีซี แนะนำออกสู่ตลาด กลายเป็นที่ยอมรับของลูกค้า ในแง่ความสามารถในการขับขี่ เร่งแซงมั่นใจ และความประหยัดที่ได้รับจากขุมพลัง ที่ดีเทียบเท่าเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรในอดีต
การจากลาไปของ เครื่องยนต์ 1500 ซีซี ส่วนหนึ่งมาจากการวางจำหน่ายรถยนต์อีโค่คาร์ที่ให้เลือกหลายค่ายหลายยี่ห้อ หลากแบรนด์กว่ารถกลุ่มนี้ ที่มีเพียง 2 ผู้เถ้า ที่รอวันปลดระวางจากตลาดนั่นคือ Honda  Jazz   และ   Toyota  Vios   เป็น ทางเลือกสุดท้าย ก่อนลงดาบเก็บเข้ากรุกันต่อไป
นอกจากทางเลือกของรถที่มีมากกว่าในกลุ่ม 1.2-1.3 ลิตร แล้ว อีกประเด็นสำคัญ ก็หนีไม่พ้นการปล่อยไอเสียที่มากกว่า และความเข้มงวดทางด้านไอเสีย เป็นเกมใหม่ที่ทำให้บริษัทรถยนต์ต้องคิดให้ตก เพื่อเอาสิทธิทางภาษีจากรัฐบาล
การปรับเครื่องยนต์เล็กให้มีสมรรนถะที่ดีขึ้น ดุจะตอบโจทย์กว่าในเรื่องนี้ เช่นกรณี ฮอนด้า ออกเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร เทอร์โบชาร์จมาให้ใช้ ใน ฮอนด้า ซิตี้ใหม่
ขณะที่หลายแบรนด์ใช้การพัฒาในรูปแบบอื่นให้มีศักยภาพเดียวกัน อาทิ โครงสร้างตัวรถ การเติมแต่งหัวฉีดคู่และเทคโนโลยีการสันดาปขั้นสูงลงมา ทั้งหมด ทำให้เครื่องขนาดเล็กกลายเป็นขุมพลังอัดแน่นด้วยประสิทธิภาพการขับขี่ เหนือกว่าที่เคยเป็นมา จนเครื่องยนต์ 1500 วันนี้กลายเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปี
เครื่องยนต์ 1500 ซีซี ในปัจจุบัน น่าจะเป็นยุคสุดท้ายในแบบสันดาปปกติ แต่เราจะยังเจอมันในฐานเครื่องยนต์สำหรับรถรุ่นใหญ่เมื่อเติมเทอร์โบชาร์จเข้าไป เช่นใน  Honda  Civic   และ Accord   จุดสำคัญ อยู่ที่การตอบโจทย์ลูกค้า ด้วยสมรรถนะและความประหยัดที่ต้องเคียงข้างไปกับการลดการปล่อยไอเสียด้วยในคราวเดียว
นอกจากนี้ พวกมัน ยังขึ้นมาประจำการในรถครอบครัว อย่าง Suzuki XL 7 และ Mitsubishi Xpander แต่ จะอีกนานแค่ไหน ยังยากที่จะตอบ
โฆษณา