4 มิ.ย. 2021 เวลา 05:11 • ไลฟ์สไตล์
🎈 "ชุดนักเรียน" กับการศึกษาไทย และการเรียนออนไลน์
😱 สวัสดีครับ วันนี้อยู่กันที่เรื่อง "ชุดนักเรียน" ตอนแรกผมจะตั้งชื่อว่า "ชุดนักเรียนกับการเรียนออนไลน์" แต่ถ้าพาดพิงไปยังหลายโรงเรียนที่เปิดให้ผู้ปกครองแต่งชุดนักเรียนเรียนออนไลน์ตามความสมัครใจนั้น ทัวร์ต้องลงแน่นอน จึงเขียนไปในทางว่า เราแต่งชุดนักเรียนกันไปเพื่ออะไรดีกว่า
ภาพจาก Pixabay (ไม่น่าใช่ประเทศไทยครับ แต่ Mood&Tone ภาพใกล้เคียงกับที่คิดไว้ เป็นภาพฟรีลิขสิทธิ์เดียวที่หาได้
เมื่อหลายปีก่อนผมมีโอกาสได้เดิน "พิพิธบางลำพู" ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันปิดไปหรือยัง ในนิทรรศการได้พูดถึงห้างร้านดังที่เปิดในย่านบางลำพู หนึ่งในนั้นมีร้านชุดนักเรียน ที่ใครต่อใครสมัยรัชกาลที่ 5-6 ต้องมาตัดกันที่นี่ เรียกว่าเป็นย่านของชุดนักเรียนที่สำคัญของพระนคร
ชุดนักเรียนสมัยนั้นฟังดูก็ราคาไม่ถูกเลยนะครับ ปัจจุบันถ้าเราจะไปซื้อจากร้านที่ว่า ก็ยังมีจำหน่ายอยู่ ทั้งชุดอาจจะตกอยู่ที่ 500 บาท ในขณะที่เดินซื้อในตลาดอื่นๆ อาจจะ 200 บาท ได้เสื้อกับกางเกง ซึ่งต้องย้อนไปสมัยก่อน การเรียนหนังสือในโรงเรียน เริ่มต้นเป็นกลุ่มลูกหลานข้าราชการ และกลุ่มลูกหลานราชบริพาร
🧠 ชุดนักเรียนสมัย 100 ปี ก่อน ใส่ตามความเหมาะสม 🧠
👉 พ.ร.บ. เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2428 กำหนดชุดนักเรียนชาย คล้ายคลึงกับที่สวมใส่กันในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเปลี่ยนแแปลงน้อยมากทีเดียว เสื้อเป็นเสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง กางเกงขาสั้นสีดำ รองเท้าสีดำ ส่วนรองเท้านั้นไม่กำหนดว่าต้องใส่แบบนั้นมาโรงเรียนกันทุกคน เพราะถือเป็นของแพง จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
ผมเคยเห็นร้าน "รองเท้านักเรียน"​ ในพิพิธบางลำพู เป็นรองเท้าหนังสีดำ ร้านตัดรองเท้าจะ Custom-made สมัยก่อนไม่ทำขายไว้สำเร็จรอคนซื้อเหมือนปัจจุบัน และราคาถ้าเทียบกับสมัยนี้ก็พอๆ กับรองเท้าทำงานของผู้ใหญ่เลยครับ
👉 เครื่องแบบชุดนักเรียนสมัยรัชกาลที่ 6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชาชนส่งลูกหลานสตรีเรียนโรงเรียนประจำจังหวัดได้ มีระเบียบปักรหัสบนชุดนักเรียน เพิ่มเครื่องแบบชุดลูกเสือ ผ้าพันคอเพิ่มเติมจากชุดนักเรียนเดิมที่ใส่กันในชีวิตประจำวัน
ข้อสังเกตคือ รูปแบบของโรงเรียนในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีหลายรูปแบบ นอกจากโรงเรียนในเมืองหลวงก็มีโรงเรียนตามหัวเมืองใหญ่ โรงเรียนเอกชน ฯลฯ มีการใช้ผ้าสีกากี เช่นเดียวกับชุดของข้าราชการพลเรือน แต่ช่วงนั้นมีสงครามโลก เกิดวิกฤติผ้าแพง จึงมีการดัดแปลงชุดนักเรียนในหลายโรงเรียน
ภาพจาก https://teen.mthai.com/variety/85848.html
ถ้าย้อนกลับไปดู พ.ร.บ. เครื่องแบบนักเรียน และการแต่งกายตั้งแต่ในอดีต ไม่มีฉบับไหนที่ >> บังคับกำหนดโทษ << ให้เด็กชายตัดผมเกรียน หรือ เด็กหญิงตัดผมสั้นเท่าติ่งหู มีแต่กำหนดเอาไว้ตามความเหมาะสม
กิจกรรมที่ต้อง Adventure ก็เน้นไปทางรองเท้าผ้าใบ เสื้อกากี เลือกผ้า เลือกรูปแบบได้ตามความเหมาะสมของยุคสมัย
ภาพจาก Pixabay
👁 ไม่แน่ใจว่าความ Conservative นั้นเข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่
ภาพจำของผมก็คือ
ทุกเช้าต้นเดือน คุณครูปครอง จะถือกรรไกรตัดผม แบตเตอรี่ มาไล่ตัดผมนักเรียนที่เข้าแถวหน้าเสาธง ใครที่ไม่ได้ตัดผมมาให้เรียบร้อยก็ถูกไถเสียจนน่าเกลียด
🤠 ถามใจผมนะ ตั้งแต่เรียนจบมา ผมว่าขั้นตอนนี้ไม่ได้ส่งผลให้คนตระหนักระเบียบวินัยเท่าไหร่
ทุกคนที่มีสามัญสำนึก เขารู้ตัวอยู่แล้วว่า เปิดเทอมโรงเรียนมีระเบียบแบบไหน ก็อยากจะทำตามระเบียบนั้น คนที่ไม่ได้ตัดผม หรือ แต่งกายครบมา เขาอาจจะไม่ได้มีเงินที่พร้อมจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายในชั้นปีนั้น หรือ ไม่ได้มีเงินพาบุตรหลานไปตัดดผมถี่ขนาดนั้น
1
บางคนผมยาวเร็ว
บางคนโตเร็ว
สุดท้าย เมื่อเติบโตขึ้น เวลาจะสมัครงาน หรือเข้าสู่สังคม จะเรียนรู้เองว่า "ความสุภาพ" เป็นแบบไหน และหากจะอยากพัฒนาตัวเอง ก็จะดูแลเอาใส่ใจบุคลิกภาพของตัวเอง โดยไม่มีใครบังคับให้ต้องแต่งตัวแบบไหน หรือตัดผมแบบไหนกันไปเองครับ
ภาพจาก Pixabay
ยุคสมัยนี้ มีเรียนออนไลน์
ถ้าจะสอนวินัย และเรื่องความเหมาะสม
เด็กๆ เขารู้ครับ ว่าตื่นมาต้องอาบน้ำ แปรงฟัน
แต่งตัวไม่ให้โป๊
ใส่เสื้อผ้า หวีผม ไม่ให้ตัวดูสกปรก
ลดค่าใช้จ่ายเรื่องการซักรีด และยังได้เรียนรู้สมกับสถานการณ์
ส่วนคนที่เขาอยากจะใส่ชุดนักเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศ ให้เหมือนไปโรงเรียน ก็เป็นทางเลือกที่เขาพร้อม
โรงเรียนที่สามารถสอนให้เด็กๆ รู้จักความรับผิดชอบ รู้จักปรับตัวตามสถานการณ์ และได้รับความรู้จากเนื้อหาการเรียนได้เต็มที่ ผมว่าดีที่สุด!
ขอบคุณที่แวะมานะครับ
4.06.2021
โฆษณา