Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยากทำไป-มด
•
ติดตาม
4 มิ.ย. 2021 เวลา 10:28 • ความคิดเห็น
สรุปคำแนะนำ 4 ข้อ จากอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล กรณีงบประมาณสถาบันกษัตริย์ 33,712 ล้านบาทในการยื่นอภิปรายงบประมาณแผ่นดินปี 2565 ที่เพิ่งผ่านมติวาระแรกไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
หลังจากที่ สส พรรคก้าวไกล เบญจา แสงจันทร์ ได้อภิปรายถึงงบประมาณสถาบันกษัตริย์ โดยชำแระแกะรอยว่างบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ จำแนกออกเป็นแผนงานหมวดหมู่อะไรบ้างนั้น ก็มีการแชร์กันมากมายในโลกโซเชียล
ทางอาจารย์ปิยบุตร จึงเสนอแนวทางทั้งหมด 4 ข้อ ซึ่งยาวมาก ๆ หากสนใจกรุณาเข้าไปที่ลิ้งค์นี้ค่ะ👇
https://progressivemovement.in.th/article/4509/
ทั้งนี้ผู้เขียนจะขอสรุปย่อ ๆ เป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. ยกเลิกโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ โดยควรให้กิจการเหล่านี้เป็นภารกิจตามทางปกติของ กระทรวง ทบวง กรม หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รัฐมนตรีหรือข้าราชการคิดขึ้นมาเอง เพื่อสนองต่อต่อความต้องการของประชาชน หากโครงการนั้นล้มเหลว ผิดพลาด หรือมีคอรัปชั่น ผู้รับผิดชอบก็จะเป็นผู้คิดค้นโครงการนั้นขึ้นมา
3
2. ลดจำนวนหน่วยงาน บุคลากร และงบประมาณของส่วนราชการในพระองค์ เนื่องจากในรัฐบาลประยุทธ์ มีการเพิ่มพระราชอำนาจ และโอนกำลังพลจากหน่วยงานราชการเข้าไปสังกัดส่วนราชการในพระองค์และขึ้นตรงต่อกษัตริย์ ซึ่งเกินขอบเขตของหนักการในระบบ Constitutional-Parlimentary Monarchy
3. ให้สภาผู้แทนฯ มีอำนาจในการกำหนดเงินรายปี (Civil List)ให้แก่สถาบันกษัตริย์ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง ในข้อนี้อ.ปิยบุตรได้ยกตัวอย่างกรณีของสหราชอาณาจักร ที่ได้ยกเลิกระบบ Civil List โดยเปลี่ยนเป็นการนำงบมาจาก 25% ของกำไรจากการประกอบธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนกษัตริย์ (Crown Estate) แทน ซึ่งทำให้งบประมาณของกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องถูกอภิปรายในสภา หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกต่อไป
2
4. กำหนดให้มีระบบตรวจสอบงบประมาณสถาบันฯ ทำนองเดียวกันกับงบประมาณของส่วนราชการอื่น เพราะถือเป็นงบประมาณแผ่นดินจากเงินภาษีประชาชนเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และป้องกันมิให้ใครแอบบ้างหรือโหนสถาบันฯมาเป็นเกราะกำบังตนเอง
ซึ่งทั้ง 4 ข้อเสนอนี้ อาจารย์ปิยบุตรบอกว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์เป็นประมุข (Constitutional-Parliamentary Monarchy) ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับประเทศในระบอบเดียวกัน อาทิ ญี่ปุ่น เดนมาร์ค สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน ฯ
2
โดยอาจารย์ปิยบุตรได้ทิ้งท้ายว่า
❤️ความรักความศรัทธาที่ประชาชนมีให้แก่สถาบันกษัตริย์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเขาเห็นว่า สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติอย่างแท้จริง ยามทุกข์ร่วมทุกข์ ยามสุขร่วมสุข
เมื่อประชาชนต้องรัดเข็มขัด สถาบันฯก็ต้องรัดด้วย
เมื่อประชาชนยากลำบาก สถาบันฯก็ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนด้วย
ถ้าต้องการให้ประชาชนยึดมั่นและศรัทธาว่าสถาบันกษัตริย์ยังคงจำเป็นอย่างยิ่งในยุคสมัยแห่งความท้าทายเช่นนี้
1
ถ้าต้องการให้ประชาชนเห็นว่าสถาบันกษัตริย์ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพวกเขาในยามวิกฤตโควิด-19 วิกฤตเศรษฐกิจ
ต้องปฏิรูปการจัดการงบประมาณสถาบันกษัตริย์เสียให้ ลดงบ ประหยัด ตัดสิ่งฟุ่มเฟือย โปร่งใส ตรวจสอบได้
1
มีแต่หนทางนี้เท่านั้น
🙏❤️
1
6 บันทึก
29
20
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
News Update
6
29
20
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย