Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุณแม่แค่รู้
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2021 เวลา 01:59 • สุขภาพ
เพิ่งรู้ ว่านั่งไม่ถูก ท้องผูก แถม ริซซี่
นั่งยังไง ให้ขับถ่ายง่ายและมีความสุข
1
ภาพจาก Pixabay
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้แม่เป้ ขออนุญาตมาเล่าเรื่องที่สำคัญในตัวของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องจัดการกับเจ้าสิ่งนี้ทุกวัน เพียงแต่แม่เองก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าท่านั่งของเรา มีผลกับระบบขับถ่ายอย่างมากด้วย ซึ่งแม่เป้เองก็มีปัญหาเช่นกัน
2
คุณนั่งอย่างถูกต้องหรือไม่ แล้วท่าอะไร คือท่านั่งที่ถูกต้อง
ในยุคสมัยก่อนนั้น ท่านั่งยอง เป็นท่าขับถ่ายตามธรรมชาติของมนุษย์มาช้านาน ในขณะที่โถส้วมยุคปัจจุบันที่ใช้นั่งขับถ่ายเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่การขับถ่ายในบ้านกลายเป็นเรื่องปกติ
4
pixabay
แม่เป้จำได้ว่า สมัยก่อนจะมีส้วมแบบเหยียบ และนั่งยองๆ มีทั่วไป แต่ยุคสมัยนี้ ในบ้านเราจะชอบใช้สุขภัณฑ์ชักโครกกันมากกว่า นอกจากห้องน้ำสาธารณะที่ยังมี
2
ในงานวิจัยหนึ่ง นักวิจัยชาวญี่ปุ่น ได้ขอให้อาสาสมัครดื่มสารเรืองแสงก่อนจะเอกซเรย์ ในขณะที่ทำธุระส่วนตัวในท่าต่างๆ และผลการวิจัยที่ได้ก็พบว่า ท่านั่งยองทำให้ลำไส้เหยียดตรง อุจจาระจึงออกมาและสะดวกและง่ายขึ้น
4
และอีกการทดลองเล็กๆ อันหนึ่ง ที่แพทย์ชาวอิสราเอลที่ชื่อโดฟ สิคิรอฟ ขอให้ผู้ร่วมรายการวิจัย 28 คน นั่งในท่านั่งที่แตกต่างกัน ในการทำธุระในห้องน้ำ ได้แก่
นั่งบนโถส้วมปกติ นั่งบนโถส้วมโดยวางเท้าไว้บนเก้าอี้เตี้ย และนั่งยองโดยไม่มีโถส้วมรองอยู่ข้างใต้ แล้วก็ขอให้บันทึกเวลาที่ใช้ทำธุระในแต่ละท่า
3
ผลลัพธ์ที่ได้ชัดเจนมากคือ
ท่านั่งยอง ใช้เวลาเฉลี่ย 50 วินาที และรู้สึกโล่งสบายเมื่อได้ขับถ่ายออกมาจนหมดไส้หมดพุง ส่วนท่านั่งปกติ เฉลี่ยคือ 130 วินาที โดยยังไม่ค่อยโล่งสบายนัก
3
ทำไมผลลัพธ์ที่ได้จึงแตกต่างกัน เขาได้บอกว่า เพราะกลไกในการเปิดปิดลำไส้ของเราไม่ได้ออกแบบมาให้เปิดได้อย่างเต็มที่ในท่านั่ง หรือ ยืน
2
แม่เป้ก็นึกภาพถึงสายยางฉีดน้ำ ที่รดน้ำต้นไม้ เวลาที่มันงอทับกัน กับเวลาเราจัดการให้มันตรงหรือไม่บิด น้ำก็จะไหลได้แรงเต็มที่นั่นเอง
1
pixabay
เขายังบอกอีกว่า เวลานั่งหรือยืนนั้น หูรูดจะเก็บทุกอย่างเอาไว้ได้โดยใช้พลังงานน้อยกว่าตอนนั่งยองเป็นอย่างมาก
Reference : GUT book
คำถามต่อมา คือ แล้วโรคริดสีดวงทวาร โรคทางเดินอาหาร และโรคท้องผูก มันเกี่ยวยังไงคะแม่เป้ เขายังบอกอีกว่า คนส่วนใหญ่นั่งขับถ่ายบนสิ่งที่คล้ายเก้าอี้ หรือชักโครกที่บ้านเราเรียกกันนะคะ นั่นไม่ได้เป็นเพราะเนื้อเยื่อขาดความยืดหยุ่น แต่เป็นเพราะ เกิดแรงดันที่ปลายลำไส้มากเกินไป
2
References : GUT Book
เวลาเกิดแรงดันเช่นนี้ น้องริซซี่ ดวง จะชอบหลบหลีกแรงดันด้วยการยื่นตัวออกมาจากรูทวาร
1
แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่า การขับถ่ายไม่ได้เป็นสาเหตุเดียว ที่ทำให้เกิดน้องริซซี่นะคะ แค่บอกว่า คนที่นั่งยองแทบไม่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ และน้องริซซี่ น้อยกว่ามากทีเดียว
อ้าวแล้วยังไง บ้านเราก็มีแต่นั่งชักโครก จะทำไงดีล่ะ เราต้องทุบทิ้ง ซื้อโถส้วมแบบเดิมมาเปลี่ยนแทนงั้นเหรอ 555 ไม่ค่ะ ไม่ต้องขนาดนั้น
วิธีง่ายๆ ที่ช่วยแก้ไขได้นั่นก็คือ ให้เราโน้มกายส่วนบนไปด้านหน้าเล็กน้อย และเอาเก้าอี้เตี้ยๆ วางไว้ด้านหน้าชักโครก เพียงเท่านี้ เพื่อนๆก็จะอยู่ในองศาที่ถูกต้อง และสามารถอ่านหนังสือ ส่องอินสตาแกรม หาของสวยๆ หรือไม่ก็ ทำสมาธิด้วยการรู้สติ ณ ปัจจุบันขณะ ได้แล้วค่ะ........
4
6
ภาพจากหนังสือ GUT Giulia Enders
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนนะคะ ถ้าหากอยากให้คนที่เรารักรู้ด้วย ก็อย่ารอช้าค่ะ แชร์ให้เขาได้อ่านกัน เพื่อสุขอนามัยที่ดี โชคดีที่ไม่ต้องไปหาหมอกันนะคะ ถ้าหากไม่อยากพลาดความรู้ดีดี ที่แม่เป้จะมาส่งต่อให้ในตอนต่อไปก็อย่าลืมกดติดตามกันไว้ก่อนเลยค่ะ ไม่พลาดแน่นอน
1
2
Reference : หนังสือเคล็ดลับอายุยืนจากลำไส้ ที่หมอไม่เคยบอกคุณ
แล้วพบกันใหม่
ด้วยรัก..แม่เป้ : Health at Home
18 บันทึก
36
40
25
18
36
40
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย