5 มิ.ย. 2021 เวลา 04:18 • สุขภาพ
มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีดีต้องบอกต่อ
ถ้าจะพูดถึงผลไม้ที่ให้สรรพคุณทางยาก็มีอยู่หลากหลายชนิด แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อเรียกนั้นสะดุดหู นั่นก็คือ ‘มะม่วงหาว มะนาวโห่’ หลายคนที่เคยได้ยินชื่อนี้ก็ยังสงสัย สรุปแล้วมันเป็นมะม่วง หรือเป็นมะนาว แล้วทำไมต้องทั้งหาวและร้องโห่ แต่ในความเป็นจริงแล้วผลไม้ชนิดนี้ไม่ได้เป็นทั้งมะม่วงและมะนาวอย่างที่จินตนาการกัน ซึ่งที่มาของชื่อนั้นก็ถูกตั้งโดยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร โดยบอกเพิ่มอีกว่าที่ตั้งชื่อนี้ก็เพื่อให้คล้องกับชื่อผลไม้ในวรรณคดี เรื่อง นางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ที่ความตอนหนึ่งของเรื่องได้พูดถึงผลไม้สดที่มีรสชาติเปรี้ยวจัด ขนาดว่าทำให้คนที่ง่วงนอนอยู่รู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาในทันควัน
 
มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยา รักษาโรคได้หลายอย่าง ได้มีโอกาสรวบรวมข้อมูลสรรพคุณทางยา มาเบื้องต้น
 
สรรพคุณทางยา ของ มะนาวโห่ เบื้องต้น
🌱 ผล : ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
🌱 ใบ : ช่วยแก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ท้องเสีย อาการปวดแก้วหู หรือแม้แต่แก้ไข้ก็ทำได้
🌱 แก่น : ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง
🌱 เนื้อไม้ : ช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ทั้งยังช่วยบำรุงไขมันในร่างกายได้อีกด้วย
🌱 ราก : ใช้แก้อาการคัน บำรุงธาตุ ช่วยขับพยาธิ ทำให้เจริญอาหาร ดับพิษร้อน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้แก้ไข้ได้อีกด้วย (ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook.com)
สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้ โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
ทั้งนี้เรายังสามารถนำผลไปรับประทานสด สามารถกินได้ไม่เกิน 10 ลูกต่อวัน หรือนำไปประกอบในเมนูอาหาร อาทิ ทำเป็นซอสแยม ทำขนมเชื่อม หรือจะทำเป็นเครื่องดื่ม เป็นต้นแล้วแต่ความชอบ
ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
 
มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
• ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
• แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
• เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
• ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
• มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
• ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
• มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
• ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
• มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
• ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)
• ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
• ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
• บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
• ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
• ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
• ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
• ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
• มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต. มือเท้าชา (ผล)
• ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
• ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้)
• ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้)
• ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ)
• ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
• ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
• ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
• ช่วยขับเสมหะ (ผล)
• มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
• แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
• แก้อาการปวดหู (ใบ)
• ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
• ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
• แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
• ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
• ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
• ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
• ช่วยขับพยาธิ (ราก)
• ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
• ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
• ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล, ยาง)
•ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
• ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
• ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
• แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด, น้ำยาง)
• แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
• ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
• ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
• ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้าน. เป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
• ใช้พอกดับพิษ (ผล)
• ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
(ขอบคุณข้อมูลจาก :medthai.com)
โฆษณา