5 มิ.ย. 2021 เวลา 13:08
‘ภาษาพูดเปลี่ยน บุคลิกก็เปลี่ยน’ เป็นเหมือนกันหรือไม่ และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
.
.
ในสาธารณรัฐเช็ก มีสำนวนที่กล่าวว่า “การเรียนภาษาใหม่ เหมือนได้วิญญาณใหม่มาอีกดวง” โดยการเรียนภาษาที่สอง ภาษาที่สาม ทำให้เราสามารถสนทนาได้ในภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาหลักที่เราใช้ตั้งแต่เกิด เป็นหนึ่งในทักษะที่มีประโยชน์มากในโลกปัจจุบัน
.
ซึ่งสิ่งหนึ่งที่คนที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาหลายๆ คนพูดเหมือนๆ กัน คือบุคลิกของเขาจะเปลี่ยนไปตามภาษาที่พูด โดยบุคลิกของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน วันนี้เราก็เลยจะพาไปดูกันว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้บุคลิกเราเปลี่ยนไปกันนะ ไปดูกันเลย!
.
#เปลี่ยนเพราะมุมมองของเราที่มีต่อภาษานั้น
.
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอนเน็ตทิคัต เผยว่า ‘มุมมองและประสบการณ์ที่เรามี’ ต่อวัฒนธรรม ประเทศ หรือภาษานั้นๆ จะส่งผลต่อบุคลิกและความประพฤติของเราตอนพูดภาษานั้นๆ ได้
.
‘มาการิต้า’ ผู้อพยพลูกครึ่งรัสเซีย-อเมริกันที่หนีเข้ามายังสหรัฐฯ เพื่อหลบหนีสถานการณ์ในสหภาพโซเวียตตั้งแต่อายุ 19 มาการิต้าบอกว่าเธอรู้สึกเป็นคนเงียบขรึมมากขึ้นพอพูดภาษารัสเซีย แต่จะรู้สึกเข้าสังคมได้ง่ายและยังกล้าแสดงออกมากขึ้น เมื่อเธอใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
.
‘โทนี่’ ชายผู้โตมากับภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาฝรั่งเศสก็เป็นอีกภาษาหนึ่งที่เขาเลือกเรียนเพิ่มเติม เขาถูกมองว่าตอนที่เขาพูดภาษาฝรั่งเศส เขาจะดูเป็นคนอ่อนโยน ตั้งใจ และสุภาพมากขึ้น ซึ่งจากการสอบถามโทนี่ว่า “เขามีมุมมองต่อคนฝรั่งเศสอย่างไร?” เขาก็ได้ตอบว่าคนฝรั่งเศสนั้นเป็นคน “สุขุม ฉลาด และสุภาพ” ซึ่งตรงกับบุคลิกที่เขาเป็น
.
#เปลี่ยนเพราะมุมมองของผู้อื่นที่มีต่อเรา
.
‘มุมมองที่ผู้อื่นมีต่อเรา’ ก็สามารถส่งผลต่อบุคลิกของเราได้ เพียงแค่เราคิดว่าคนอื่นมองเราอย่างไร ก็จะทำให้สมองของเรามีการตอบสนองต่อความคิดนั้นและปรับพฤติกรรมตามไปด้วย เช่น ถ้าเราคิดว่าตอนเราพูดภาษาอังกฤษ มีแต่คนตั้งใจฟัง มีแต่คนชื่นชมว่าเราทำได้ดี ก็จะทำให้เรามีความมั่นใจและกล้าแสดงออกในภาษานั้นมากขึ้น หรือถ้าเราคิดว่าเราไม่เก่งภาษาไทยเลย คนอื่นชอบเราตอนพูดภาษาอังกฤษมากกว่า ก็จะส่งผลให้เราขาดความมั่นใจและดูเป็นคนไม่กล้าแสดงออกเมื่อต้องพูดภาษาไทย
.
#เปลี่ยนเพราะสถานที่และสื่อตอนเรียนภาษา
.
นอกจากนี้ ‘สถานที่’ หรือ ‘สื่อการเรียน’ ภาษาของเราก็สามารถส่งผลต่อบุคลิกของเราได้เช่นกัน เช่น สมมติว่าเราเดินทางไปเรียนภาษาจีนที่ประเทศจีน เราก็จะมองเห็น จำผู้คนและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาของเรามาด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับการเรียนภาษาจีนอยู่ที่ประเทศไทย ที่เราจะไม่ได้ไปเผชิญกับการสถานการณ์จริง ทำให้บุคลิกก็อาจจะปรับเปลี่ยนในรูปแบบแตกต่างกันไป
.
ลองสังเกตดูว่าคุณมีบุคลิกที่สองหรือบุคลิกที่สาม จากการเปลี่ยนภาษาเวลาพูดหรือไม่? และบุคลิกนั้นเป็นอย่างไร? ..หรือจริงๆ แล้วคุณอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าบุคลิกเปลี่ยนไปเมื่อพูดภาษาอื่น? ลองไปสังเกตตัวเองกันดูเลย!
.
.
แปลและเรียบเรียงจาก:
.
#missiontothemoonpodcast
#mission #พอดแคสต์
โฆษณา