5 มิ.ย. 2021 เวลา 14:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แก่นความคิดแบบดันโด
#สรุปหนังสือ
The Dhandho Investor
ต่อจากตอนที่แล้ว
หนังสือ The Dhandho Investor (นักลงทุนดันโด) เขียนโดย โมห์นิช พาไบร เป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชาวอินเดีย ผู้ซึ่งนำแนวทางการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มาใช้ในการลงทุนและประสบความสำเร็จสูงมากในการลงทุน สร้างผลตอบแทนสูงกว่า 28% ต่อปี
พาไบรได้สรุปแก่นความคิดการลงทุนแบบ"ดันโด"
จากประสบการณ์การลงทุนของเขาเป็น 9 ข้อดังนี้
หลักการ 9 ข้อ แก่นของแนวคิดแบบ "ดันโด"
1. ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
2. ซื้อธุรกิจที่เรียบง่าย
3. ลงทุนในธุรกิจที่กำลังมีปัญหา ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก
4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อย
6. มองหาโอกาสทำ "อาบิทราจ"
7. ซื้อธุรกิจที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มากๆ
8. มองหาธุรกิจที่ความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง
9. เลียนแบบดีกว่าการสร้างสิ่งใหม่
1. ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
หากคุณเป็นนักธุรกิจ จงมองหาธุรกิจที่มีคนทำสำเร็จมาก่อนแล้ว หรือซื้อกิจการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ยังไม่พร้อมทำธุรกิจแบบจริงจัง "การลงทุนในหุ้น" ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน
และนี่คือ 6 เหตุผลที่การลงทุนในหุ้น ดีกว่าการลงทุนซื้อบริษัท
1.1 เจ้าของกิจการ ต้องทุ่มเททั้งเวลา และความสามารถ ซึ่งไม่ใช่ของง่าย
1.2 ถ้าซื้อหุ้น คุณจะถือเป็นเจ้าของบริษัทนั้น ซึ่งข้อดีคือคุณไม่ต้องบริหารเอง คุนเพียงเลือกบริษัทที่คุณมั่นใจในผู้บริหาร และถ้าคุณตัดสินใจผิดพลาด คุณเพียงขายหุ้นออกไป และเสียเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
1.3 การซื้อกิจการ ทั้งสองฝ่ายจะรู้ราคาเหมาะสมของกิจการนั้นๆอยู่แล้ว และผู้ขายมักจะเสนอขายในจังหวะที่ตนจะได้ผลประโยชน์สูงสุด
แต่การซื้อหุ้น ในตลาดจะทำงานคล้ายกับ การประมูล ซึ่งจะมีอารมณ์ของนักลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้คุณมีโอกาศซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆได้
1.4 การซื้อกิจการต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่การซื้อหุ้นสามารถซื้อด้วยจำนวนเงินเท่าที่คุณมีก็ได้
1.5 มีบริษัทจำนวนมาก จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คุณมีโอกาศเลือกธุรกิจที่คุณสนใจลงทุนได้หลากหลาย
1.6 การซื้อกิจการมักมีต้นทุนการทำธุรกรรม เช่นค่านายหน้า ค่าดำเนินงาน ซึ่งมักเป็นเงินจำนวนมากจำนวนมาก แต่การลงทุนในหุ้น คุณจะเสียเพียงค่าธรรมเนียมเล็กน้อยเท่านั้น
2. ลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย
จงลงทุนในบริษัทที่คุณเข้าใจเป็นอย่างดี ดำเนินธุรกิจเรียบง่าย สามารถคาดการณ์กระแสเงินสดที่บริษัทจะสร้างได้ในอนาคตได้ใกล้เคียง
เมื่อเราซื้อหุ้นไปแล้ว เราจะพบกับ สงครามจิตวิทยาที่เกิดขึ้นในหัวของเรา วิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับภาวะจิตวิทยาดังกล่าวคือ "การซื้อหุ้นที่เรียบง่าย" ด้วยเหตุผลที่เข้าใจง่ายๆ นั่นจะทำให้คุณไม่หลงลืมเหตุผลที่ซื้อหุ้นนั้นมา และขายมันไปเพราะเหตุผลปัจจัยรบกวนระยะสั้นที่มากระทบ
" บันทึกเหตุผลที่คุณซื้อหุ้นเสมอ ถ้ามันยาวเกินไปล่ะก็ แสดงว่ามันเป็นหุ้นที่เข้าใจยากแล้วหล่ะ "
- วอเร็น บัฟเฟตต์ -
3. ลงทุนในธุรกิจที่กำลังมีปัญหา ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก
โอกาศที่เราจะซื้อหุ้น หรือกิจการที่แข็งแกร่ง ในมูลค่าที่ถูกกว่าปกตินั้น ต้องซื้อในช่วงที่กิจการอยู่ในช่วงที่มีปัญหาหรือย่ำแย่อย่างหนัก
แต่ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำแบบนั้น มีกิจการหลายร้อยบริษัทประสพปัญหา
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากิจการใดจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง?
วิธีการง่ายที่สุดคือ เลือกกิจการที่เราเข้าใจมากที่สุด จำกัดวงให้แคบลง ให้เหลือแต่ธุรกิจที่เราเข้าใจ
4. ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจนี้มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน?
คำตอบคือ "ดูจากงบการเงิน"
ธุรกิจที่ได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จะสามารถทำผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้สูง (หรือดูจาก ROA)
แต่.....
การได้เปรียบเชิงการแข่งขันแบบถาวรนั้น
"ไม่มีอยู่จริง"
" ในบรรดาหุ้น 50 ตัวแรกของตลาดนิวยอร์กเมื่อปี 1911 ถึงวันนี้เหลืออยู่เพียงตัวเดียว ประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า โอกาสที่ธุรกิจต่างๆจะดำเนินการตลอดไปมันริบหรี่มาก "
- ชาร์ลี มังเกอร์ -
ฉะนั้นเวลาเราหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัท เราไม่ควรคำนวณด้วยสมมุติฐานที่ให้บริษัทสร้างผลกำไร หรือเติบโตต่อเนื่อง มากกว่า 10 ปี
5. เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อย
มีนักวิจัยในมหาวิทยาลัยได้ศึกษา สมการคำนวนหาจำนวนเงินที่เหมาะสมที่สุดที่ควรนำมาเดิมพัน
เรียกว่า Kelly's formula
Kelly's formula เป็นตัวช่วยในการจัดสรรค์พอร์ตลงทุน ให้มีสัดส่วนที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด หลักการสำคัญคือ ลงทุนในสัดส่วนสูงๆ ในหุ้นที่มีโอกาศจะได้ผลตอบแทนสูง
สูตรคือ
Edge / Odds = จำนวนเงินที่ควรเดิมพันเมื่อคิดต่อสัดส่วนเงินทั้งหมด
: Edge = ผลรวมความน่าจะเป็น x ผลตอบแทน
: Odds = ผลตอบแทนสูงสุดที่คาดว่าจะได้รับ
ตัวอย่าง
ถ้ามีเงินลงทุน 10,000 usd
มีโอกาส 80% ที่จะได้ผลตอบแทน 21 usd
มีโอกาส 10% ที่จะได้ผลตอบแทน 7.5 usd
มีโอกาส 10% ที่จะเสียเงินทั้งหมด
จะต้องลงทุนเป็นเงินเท่าไหร่?
Edge = ผลรวมความน่าจะเป็น x ผลตอบแทน
= [(0.8*22)+(0.1*7.5)+(0.1*(-1))]
= 17.45
Odds = ผลตอบแทนสูงสุดที่คาดว่าจะได้รับ
= 21 usd
เงินที่ควรเดิมพัน = Edge/Odds
= 17.45/21
= 83%
= 8,300 usd
" การลงทุนก็คล้ายกับการเดิมพัน เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น การมองหาโอกาสลงทุนที่มีราคาผิดพลาด ลงทุนหนักๆ และรอจนกว่าถึงมูลค่าที่แท้จริง "
 
Kelly's formula จะช่วยให้คุณพิจารณาความเสี่ยง และโอกาสได้ผลตอบแทน เพื่อให้คุณได้ผลตอบแทนสูงสุดในการจัดสรรค์เงินลงทุน
6. มองหาโอกาสทำอาบิทราจ
Arbitrage (อาบิทราจ) คือกลยุทธ์การทำกำไรจากความแตกต่างของราคาในสิ่งของที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน
คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
7. Margin of safety
วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองว่า Margin of safety มีส่วนสำคัญยิ่ง ถ้าเราซื้อสินทรัพย์ที่มูลค่าต่ำกว่ามูลค่าแท้จริงมากๆ ยิ่งราคามีส่วนลดมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะลดลงเช่นเดียวกัน
8. ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง
ธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ ธุรกิจที่คุณเข้าใจมันเป็นอย่างดี ลงทุนโดยมี Margin of safety สูงๆ และลงทุนที่โอกาสจะเสียเงินต่ำ
ส่วนความไม่แน่นอนคือผลประกอบการในอนาคตซึ่งยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากคุณเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดีคุณก็สามารถประเมินผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
บางสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง เช่นช่วงวิกฤตการเงิน หรือเหตุการณ์ใดๆที่สร้างความไม่แน่นอนให้แก่กิจการ ช่วงเวลานั้นราคาของหุ้นจะถูกเทขายจนต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และนั่นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะซื้อหุ้น
ความกลัวและความโลภเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น ย่อมได้รับอิทธิพลจากความกลัวและความโลภเช่นเดียวกัน และเมื่อเจอกับความกลัวสุดขีด มนุษย์ก็จะทำพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล ในสถานการณ์แบบนั้น ตลาดหุ้นตกอยู่ในลักษณะที่คนกลัวสุดขีดและเทขายทุกอย่างโดยไม่สนใจเหตุผล
เคล็ดลับคือ การซื้อในสถานการณ์ที่คุณรู้ดีว่าทุกคนกลัวเกินเหตุ และเหตุการณ์จะกลับมาเป็นปกติ
" อ่านมากๆ และรอคอยอย่างอดทน โอกาสการลงทุนดีๆแบบนั้นจะเกิดขึ้นอีกแน่นอน "
9. ลงทุนในพวกลอกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่
การเลียนแบบเป็นวิธีในการจำกัดความเสี่ยงที่ดี เพราะเราจะรู้ถึงวิธีที่จะทำให้สำเร็จ และแนวทางในการป้องกันความเสี่ยง
 
การนำแนวความความคิด หรือวิธีการของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ปฏิบัติตาม และนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับตัวเอง ย่อมได้ผลดีกว่าการที่คุณคิดเองทั้งหมด
ขอบคุณที่ติดตามครับ😊
หากชอบบทความนี้ ช่วยกันติชมบทความได้เลยนะครับ
Lucky Pilot Investor
" เพราะการบินและการลงทุน
มีหัวใจเดียวกันคือ
ทำด้วยความรู้ "
Aviation - Invesment - Technology
โฆษณา