6 มิ.ย. 2021 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
[Beginner] Price to Book (P/B ratio) คืออะไร และการใช้งานระดับเบื้องต้น
ก่อนอื่น เรามาพูดถึงความหมาย P/BV หรือ Price Per Book Value กันก่อนว่าค่าไหนคืออะไร เอามาจากไหนกัน
P หรือ Price พูดอย่างตรงไปตรงมาก็คือมูลค่าของบริษัทหรือ ราคาหุ้นxจำนวณหุ้น นั่นเอง อันนี้ง่ายไม่ซับซ้อน
BV หรือ Book Value ค่านี้คือมูลค่ากิจการตามบัญชีของหุ้น พูดง่ายๆก็คือ สินทรัพย์-หนี้สิน
ยกตัวอย่างสักหน่อยแล้วกัน เช่น บริษัท A มีหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งสิ้น 1 ล้านหุ้น ราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่หุ้นละ 3 บาท บริษัท A มีสินทรัพย์ทั้งหมด 3 ล้านบาท และมีหนี้สินทั้งหมด 1 ล้านบาท
แล้วบริษัท A จะมี PBV ณ ปัจจุบันเท่าไหร่
P/BV = มูลค่ากิจการตามราคาตลาด / (สินทรัพย์ – หนี้สิน)
P/BV = (ราคาหุ้น x จำนวนหุ้นทั้งหมด) / (สินทรัพย์ – หนี้สิน)
P/BV = (3 x 1,000,000) / (3,000,000 – 1,000,000) PBV = 3,000,000/2,000,000 PBV = 1.5 เท่า
แต่ในชีวิตจริงน่ะหรือ เค้ามอง book value กันง่ายๆคือ equity (ฐานเดิม) + retain earning (ที่เพิ่มใหม่) - ปันผล - ซื้อหุ้นคืน … ยิ่งบริษัทมีกำไรเหลือเก็บเท่าไหร่ ก็บันทึกลงไปในบริษัท เท่านั้น เวลาผ่านไป บริษัทที่ดี จะมีมูลค่าทางบัญชีเพิ่มขึ้นเสมอ และตลาดก็มักจะอ้างอิงตัวเลขนี้ เป็นพื้นฐานที่สุดของบริษัท
แต่ ..
ด้วยความที่ book value น่ะนะ มันเหมาะกับอะไรที่ใช้กับ intangible asset หรือจับต้องได้ อะไรที่บริษัทคิดค้นขึ้นมาตามหลักบัญชี เราจะไปประเมินมูลค่ามันเองทื่อๆไม่ได้ เราก็จะพบว่าบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ price to book จะสูงมากๆ เพราะมีสินทรัพย์บางอย่างที่ไม่ได้รวมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี หรือไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขทางบัญชีได้
หรืออย่างเช่นบริษัทที่นิยมจ่ายปันผลออกมาค่อนข้างมากและไม่ค่อยเก็บกำไรสะสมไว้ ทำให้ Book Value ไม่โต พวกนี้ Price to book จะสูง และไม่ควรใช้เป็น valuation metric เด็ดขาด
อ้าวเห้ย (เพลงของอะตอมลอยมา)..แล้วควรใช้กับหุ้นแบบไหนล่ะ
คำตอบคือ บริษัทที่คาดว่าจะขายสินทรัพย์ออกมาได้ โดยสิ่งที่จะขายออกมามีมูลค่ามากเมื่อเทียบกับขนาดกิจการ เช่น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายเทียบกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่า (พูดง่ายๆคือสร้างบ้านขายกับรีโนเวทให้เช่า) แบบนี้บริษัทที่ทำเพื่อขายจะเหมาะกับการคิด P/BV มากกว่า เพราะมูลค่าของสินทรัพย์จะกลายเป็นเงินกลับมาทั้งก้อนเลย
หากจะให้บอกเป็นกลุ่มเลย จะพูดกลุ่มไหนไปก็จะต้องมีคนมาแย้งว่า แต่มัน …. แต่มัน …. ก็จะแนะนำว่าให้ใช้ P/B ประกอบกับ P/E ROE เพราะคุณต้องดูรูปแบบของรายได้ อะไรพวกนี้ประกอบด้วย ดูว่าน้ำหนักมันอยู่ตรงไหนมากกว่ากัน เช่นหากมีรายได้ในรูปแบบให้เช่า หรืออะไรที่จะไม่ได้เงินกลับมาทั้งก้อน แบบนี้ควรไปประเมินมูลค่ากิจการจากเงินสดหรือกำไรที่กิจการทำได้มากกว่า
พวกที่ดู P/B เป็นหลักได้เลย ก็จะมีเช่นกลุ่มธนาคารให้น้ำหนักได้เยอะ คู่กับ ROA ละกัน (ไว้แยกเขียนให้นะ วิธีดูหุ้นธนาคาร หรือลองเสิชของเก่าๆดูมีเขียนไว้ครับ แอดก็หาไม่เจอ 555)
1
อีกเทคนิคคือ เราสามารถใช้ P/B เป็น conservative ได้ เพราะอย่างน้อย book value ก็รวมทรัพย์สินต่างๆ ที่ดิน ตึก สิ่งปลูกสร้าง หากเรานำไปใช้กับ สนามบิน ก็ดูจะเชื่อถือได้ แต่หากไปใช้กับบริษัทซอฟท์แวร์ คุณคงไม่ให้มูลค่ากับคอมพิวเตอร์และตึก ขนาดนั้น
หรือพวกกิจการที่ใช้ทุนต่ำ เช่น ธุรกิจบันเทิงมักมีค่า P/BV ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เพราะ Book Value ของบริษัทอาจจะน้อย (BV ต่ำ) เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนหนึ่งไม่ได้มีมูลค่าทางบัญชี แต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก เช่น มันสมอง-ความสร้างสรรค์ของบุคลากร ชื่อเสียงของดาราในสังกัด เพราะการที่บริษัทใช้ทุนที่ประเมินค่าเป็นเงินไม่ได้ (แต่มองเห็นได้) กลั่นออกมาเป็นผลประกอบการที่ดีเยี่ยม ส่งผลให้ราคาหุ้นโตตามไปด้วย (P โต) แต่ BV ไม่โตตาม
นี่เป็นตัวอย่างว่าค่า P/BV สูง ไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นไม่น่าลงทุนแต่อย่างใด
สุดท้ายนี้ขอสรุปคร่าวๆได้ว่า นักลงทุนควรพิจารณาถึงคุณภาพธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะความสามารถในการบริหารของผู้บริหาร เพราะการซื้อของถูกก็ควรจะเลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่ดีด้วย หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีคุณภาพสมราคา
ธุรกิจที่ราคาถูกมากแค่ไหน แต่ถ้าอนาคตจะย่ำแย่ลงไปมาก ส่วนทุนก็อาจจะหดหายจนราคาที่คิดว่าถูกแล้วกลายเป็นแพงมหาศาลก็เป็นได้ อย่าลืมว่าถ้าอนาคตกิจการจะล้มละลาย ไม่ว่าจะซื้อหุ้นมาที่ราคาเท่าไหร่มันก็ถือว่าแพงไปเสมอ
ไม่เชื่อลองไปดูบริษัทหลายๆแห่งที่ P/BV ต่ำลงเรื่อยๆจนสุดท้ายคำนวณไม่ได้ดูแล้วกัน
#การลงทุนมีความเสี่ยงBottomlinerเตือนแล้วนะ
BottomLiner
หุ้นต่างประเทศควรใช้ค่าอะไรดีนะ PE, PS หรือ P/BV มาหาคำตอบได้ที่ BottomLiner Basic Tech สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bottomliner.co/online-course-tech/
โฆษณา