6 มิ.ย. 2021 เวลา 08:25 • คริปโทเคอร์เรนซี
Synthetic Asset in Crypto world EP1:
Disclaimer: บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ข้อมูลในบทความนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน อาจจะมีข้อมูลบางอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจะเกิดขึ้นได้จากความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้เขียนเอง นักลงทุนต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเองนะครับ
2
วันนี้ผมจะมาแนะนำให้รู้จัก synthetic asset ในโลกของ cryptocurrency ว่ามันคืออะไร รายละเอียดเป็นยังไง และความน่าสนใจรวมถึงความเสี่ยงต่างๆมีอะไรบ้าง เนื่องจากบทความน่าจะยาวมาก จึงต้องขอแบ่งออกมาเป็นตอนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ในโลกของ Decentralized Finance (DeFi) ตอนนี้นั้น มี service protocol นึงที่เรียกว่า synthetic asset ซึ่งความหมายก็แปลตรงๆตัวคือ เป็นสินทรัพย์สังเคราะห์ โดย ใช้หลักการในการอ้างอิงราคาจากสินทรัพย์ในโลกจริง ไม่ว่าจะเป็น ราคาของ crypto currency แต่ละสกุลเอง หรือ แม้แต่ราคาหุ้น หรือกองทุน ETF เพื่อนำมาซื้อขายบน Defi platform นั้นๆ เช่นเดียวกับกระดาน trade crypto หรือหุ้น โดยต้องมีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นมูลค่าที่สูงกว่า synthetic asset นั้น หรือที่เราเรียกว่า collateral ratio เพื่อพิมพ์ออกมา
ถึงตรงนี้ บางคนอาจจะมีคำถามว่า แล้วเราจะลงทุนไปซื้อ synthetic asset (ผมขอเรียกสั้นๆต่อจากนี้ว่า mStock ย่อมาจาก mirror Stock หรือหุ้นเทียม ละกันเพื่อความง่าย) ไปทำไมในเมื่อเราก็สามารถซื้อขายหุ้นในกระดานได้ตามปกติอยู่แล้ว ซึ่งได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของหุ้นนั้นๆจริงๆด้วย ถูกต้องครับ สำหรับนักลงทุนที่ซื้อหุ้นเพื่อถือเอาปันผล synthetic stock ไม่สามารถให้ตรงนี้กับท่านได้ แต่จะได้เป็นผลตอบแทนในรูปของ
1. Capital gain หรือส่วนต่างราคาขายกับราคาซื้อ เหมือนหุ้นที่ซื้อขายกันปกติในตลาด และ
2. Incentive จาก governance token ที่ platform นั้นๆแจกให้จากการเอา mStock นั้นไปวาง Liquidity Pool (LP) เพื่อสร้างสภาพคล่องให้คนที่มาซื้อหรือขาย mStock นั้นๆ
1
สิทธิ์ที่ท่านจะไม่ได้รับจากการถือ mStock
2
1. ไม่ได้รับสิทธิ์ปันผล เพราะมันคือหุ้นเทียม ไม่ได้ link สิทธิ์จากหุ้นจริงในตลาด
2. ไม่ได้รับสิทธิ์การจัดสรร warrant
3. ไม่มีสิทธิ์ในการ vote ในการประชุมผู้ถือหุ้น
ในปัจจุบัน มีผู้ให้บริการ Decentralized synthetic asset exchange อยู่ไม่กี่ราย ตัวอย่างเช่น
Synthetix Platform ที่ทำงานบน Ethereum blockchain
Linear Platform ที่ทำงานบนทั้ง Ethereum และ Binance smart chain (BSC)
Mirror Protocol ที่ทำงานอยู่บน Terra chain สัญชาติเกาหลีใต้ ที่พัฒนาโดย Do Kwon และทีม
ล่าสุด platform ของคนไทยเราเองก็มีนะ ที่ชื่อว่า Twindex ซึ่งทำงานบน Binance smart chain (BSC) เช่นกัน เป็นของ Dopple ที่พัฒนาโดยทีมงานของคุณตั้ม โกวิท
เจ้า Synthetic Asset นี่ในสร้างขึ้นมาจากอะไร? เสกมาจากอากาศอย่างนั้นหรือ?
หลักการในการสร้าง mStock คือการเอาสินทรัพย์มาค้ำ
ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างของ Mirror Protocol โดยใช้ UST ซึ่งเป็น stable coin (มูลค่าเทียบเท่า USD) ของ Terra chain มาวางค้ำเอาไว้กับ platform เค้า เพื่อ mint หรือพิมพ์ synthetic stock ออกมา ผ่านกลไกของ smart contract
แต่ละ platform หรือแม้แต่ แต่ละหุ้นหรือสินทรัย์ ก็จะมีการกำหนด collateral ratio ที่ต่างกัน ทั้งนี้เค้าจะพิจารณาจากความเสี่ยงและความผนผวนของ underlying asset นั้น
ยกตัวอย่างเช่น การจะ mint หุ้น Apple หรือ mAPPL ออกมา ต้องวาง UST ค้ำไว้เริ่มต้นที่ 2 เท่า ของมูลค่าหุ้น mAAPL ที่จะพิมพ์ออกมาได้ โดยทาง protocol มีการกำหนดให้ minimum collateral ratio อยู่ที่ 1.5 เท่า ซึ่งเป็นจุด liquidate (คนที่ลงทุนในตลาด future คงจะพอเข้าใจหลักการนี้) เพื่อให้มั่นใจว่า เรามีเงินจ่ายเค้าเสมอในกรณีที่ mstock นั้นราคาผันผวนหนักๆ
ทาง protocol ใช้ Oracle Feeder ในการดึง real-time data ของราคาหุ้นนั้นๆในตลาดมาเพื่อ PEG ราคาของ mStock ฉะนั้นจะขึ้นลงอิงตามราคาหุ้นจริงๆในตลาดเลย แต่อาจจะมีส่วนต่างหรือ offset อยู่บ้างมากน้อยขึ้นกับ demand และ supply ของ mStock นั้นๆ (เหมือนราคา SET50 future ที่ไม่ได้เท่ากับ SET50 index เสมอไป นั่นแหละ) โดยใช้หลักการ arbitrage
1
ถ้าราคาทั้ง 2 ที่มีความแตกต่างกันมากเกินไป จะมีคนเห็นช่องทำกำไรตรงนี้ทำ arbitrage เพื่อ mint หรือ burn mStock ตัวนั้นเพื่อกินส่วนต่าง ด้วยกลไกตลาดแบบนี้ จะทำให้ราคาของ mStock จะล้อตามราคาหุ้นจริงเสมอหรือใกล้เคียง
Synthetic Stock ต่างจาก Stock Token ยังไง?
ทว่า ปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการบางเจ้า ยกตัวอย่างเช่น Binance ที่เป็น Cryptocurrency Centralized Exchange มีระบบ Stock Token ซึ่งตรงนี้มีความแตกต่างจาก Synthetic Stock บน DeFi platforms อยู่ดังนี้
1. Stock Token นั้น ทาง platform มีการซื้อหุ้นจริงๆในตลาดมาขังเอาไว้ เพื่อสร้างจำนวน Token ให้เท่ากับจำนวนหุ้นจริงที่เอามาขัง เพื่อเอามาให้ trader ซื้อขายแลกเปลี่ยนบน platform อีกที
2. ผู้ถือ stock token บน platform นั้นๆ มีสิทธิ์ในการได้รับปันผล เช่นเดียวกับการถือหุ้นจริงๆ แต่ไม่มีสิทธิ์ในการ vote ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพราะสิทธิ์นั้นเป็นของเจ้าของ platform ที่ไปซื้อหุ้นนั้นมาจากตลาดเพื่อลอคเอาไว้
ข้อดีของ Synthetic Stock และ Stock Token คือ
1. สามารถซื้อเป็นเศษหุ้นได้
สำหรับคนที่มีทุนน้อย แต่อยากได้หุ้นกับเค้าบ้าง ลองคิดดูว่าราคาหุ้น Amazon ในตลาด NASDAQ ตอนนี้ $3,200 ต่อหุ้น แปลว่า ถ้าอยากจะซื้อหุ้น Amazon ในตลาดซักหุ้นนึงคุณต้องมีเงินเกือบหนึ่งแสนบาท แต่ในโลก crypto คุณสามารถ เอาเงินแค่หลักร้อยบาทไปซื้อหุ้น Amazon ได้ เพราะเค้าแบ่งขายเป็น 0.0001 หุ้น ได้ (แต่อาจจะไม่คุ้มค่าธรรมเนียมทำรายการนะ ถ้าเงินน้อยเกินไป)
2. การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ ในบางประเทศค่อนข้างยาก และมีเงื่อนไขเยอะ บางที่ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำเป็นแสนหรือหลายล้านบาท ในขณะที่ในโลก crypto ไม่มีข้อจำกัดนี้
3. ค่าธรรมเนียมในโลกคริปโตถูกกว่ามาก
brokerage fee ในการซื้อขายหุ้นต่างประเทศ หลายๆเจ้าในไทยค่อนข้างแพง ยกตัวอย่างเช่น บาง broker คิด $0.1 ต่อหุ้น (หรือขั้นต่ำ $20 ต่อรายการถ้าซื้อไม่ถึง) ในขณะที่ในโลก crypto คุณเสีย transaction fee น้อยสุด $0.1 (ซื้อแค่หลัก $10) หรือ มากสุด $1.53 ต่อรายการสำหรับยอดซื้อ $400 ขึ้นไป ไม่ว่าคุณจะซื้อกี่หุ้นก็ตาม ประหยัดค่า commission ไปได้เยอะ
4. Incentive จาก Governance Token
โดยปกติ เราถือหุ้นไว้เฉยๆ โดยเฉพาะคนที่ติดดอย ก็ไม่ได้ incentive อะไร ในขณะที่ในโลก crypto คุณสามารถเอา synthetic stock ที่ถืออยู่ไปวางคู่กับ stable coin เพื่อเป็น Liquidity Pool หรือที่เรียกกันว่า farming เพื่อจะได้รับ governance token ของ platform นั้นๆ เอาไปขายคืนเป็น stable coin ได้ หรือจะเอา token นั้นไป farm ต่ออีกรอบนึงก็ยังได้ ในอนาคต เข้าใจว่าทางผู้พัฒนาระบบคงจะพยายามหา use case กับ governance token เหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อทำให้มันมีมูลค่าและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งต้องคอยติดตามดูต่อไป
แล้วเค้าเอารายได้จากไหนมาจ่ายเราจากการที่เราไปวาง LP?
คำตอบคือ รายได้จากค่า fee ที่มีคนเข้ามา swap และทำ transaction ต่างๆบน platform เค้า ซึ่งแต่ละที่ก็มีนโยบายไม่เหมือนกันว่าจะให้คนที่มาวาง LP เท่าไหร่ เก็บไว้เองเท่าไหร่เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบ เปรียบเสมือนตัวเราเป็นนายทุนให้กับ superrich ทำกิจการแลกเงิน (ในที่นี้ platform ทำตัวเป็น superrich)ส่วนต่างที่เค้าได้ ก็จะเอามาแบ่งให้เราบางส่วน ขึ้นอยู่กับขนาดของ Pool นั้นๆ
ฉะนั้น Pool size และ swap transaction volume จะมีผลกับ yield ที่เราจะได้ในฐานะที่เป็นคน provide liquidity ให้กับ pool นั้นๆ ยิ่ง pool ใหญ่ คนมาแบ่งเค้กยิ่งมากตาม
นี่คือหลักการเบื้องต้นของโลก DeFi ยิ่งมี new money เข้ามาในระบบมากขึ้นเท่าไหร่ จำนวน transaction และค่าธรรมเนียมที่ได้ก็จะมากขึ้น เพื่อย้อนกลับมาเป็นรายได้จากการลงทุนของเรา โดยที่เราทำตัวเป็น broker กินค่าธรรมเนียมจรงนี้ซะเอง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางแบบในโลก traditional finance ในปัจจุบัน
ในตอนหน้า ผมจะมาเจาะลึกถึงระบบ Ecosystem ของ Terra Chain และ Mirror Protocol ที่เป็น synthetic asset platform รวมถึงทางเลือกในการลงทุน synthetic asset, การคำนวณ yield และความเสี่ยงต่างๆ ครับ
โฆษณา