Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Storyteller
•
ติดตาม
20 มิ.ย. 2021 เวลา 09:59 • ประวัติศาสตร์
“ฉิน (Qin)” นครรัฐผู้พิชิตแผ่นดินจีน
9
“ผู้ยิ่งใหญ่จักจะผนึกแผ่นดิน หมดหกเจ้าครองแคว้น หมดคาบสมุทรรวมเป็นหนึ่ง”
6
ความแตกต่าง เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของมนุษย์…
4
และความขัดแย้งนั้นก็ขยายไปเป็นความเกลียดชัง อันนำพาไปสู่การรบราฆ่าฟัน…
3
ซึ่งวิธีการหยุดยั้งความขัดแย้ง เกลียดชังและการรบราฆ่าฟัน คือการทำลายความแตกต่างเหล่านั้นลง…
8
โดยการรวมความแตกต่างนั้น ให้กลายเป็นหนึ่งเดียว…
3
แต่ทว่า การทำลายความแตกต่าง ก็มักต้องใช้เลือดและการฆ่าฟันเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน…
2
ทุกท่านครับ นี่คือเรื่องราวที่เกิดในดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความคิด และความเชื่อที่สูงมาก…
7
และความแตกต่างก็ได้ทำให้ดินแดนแห่งนี้เกิดสงครามรบราฆ่าฟันกันกว่า 2 ศตวรรษ…
2
แต่แล้วก็ได้มีมหาอำนาจใหม่เกิดขึ้น และเข้ามาผสานความแตกต่างนั้นให้เป็นหนึ่งเดียว…
3
มหาอำนาจผู้ทำลายความแตกต่างด้วยเลือด…
3
มหาอำนาจผู้ทำลายความแตกต่างด้วยความโหดเหี้ยม…
3
มหาอำนาจที่ถูกตราว่าเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย…
3
มหาอำนาจที่ถูกกังขาว่าเป็นผู้พิชิตหรือทรราชย์…
1
หาน…
จ้าว…
เว่ย…
2
ฉู่…
เอี้ยน…
ฉี…
1
ฉิน…
จ้านกว๋อ…
สงคราม…
ศัตรู…
พันธมิตร…
การสรรค์สร้าง…
การทำลาย…
ความเป็นอมตะ…
และนี่ คือเรื่องราวของนครรัฐผู้ผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจพิชิตแผ่นดิน…
1
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง…
13
ภาพจาก Son of China
เริ่มแรกเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับดินแดนที่เป็นสถานที่ของเรื่องราวกันก่อนนะครับ
1
โดยดินแดนที่ว่า คือ ดินแดนที่เราเรียกกันว่าจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ กินพื้นที่เกือบจะทั้งหมดของภูมิภาคเอเชียตะวันออก
4
ซึ่งหากเทียบเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา
4
แน่นอนครับว่าดินแดนที่ใหญ่ขนาดนี้ก็ต้องมีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ ซึ่งทำให้ความเป็นจีนนั้นไม่สามารถใช้เชื้อชาติหรือชาติพันธุ์เป็นตัวกำหนดได้
3
โดยความเป็นจีนจะใช้อารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนด…
1
ซึ่งจุดเริ่มต้นในการก่อร่างความเป็นจีนนั้น เกิดขึ้นบริเวณที่เรียกว่า “แม่น้ำฮวงโห” นั่นเองครับ…
5
ภาพจาก Encyclopaedia Britannica (แม่น้ำฮวงโห)
การก่อร่างสร้างอาณาจักรได้เริ่มต้นขึ้นบริเวณรอบๆแม่น้ำฮวงโห โดยคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “ซ่าง”
2
1
ซึ่งในเวลาต่อมานั้น “ซ่าง” ได้รับความรู้และวิทยาการจากตะวันออกกลาง โดยวิทยาการที่ว่าก็คือ “การผลิตสำริด”และ “การสร้างรถศึก” นั่นเองครับ
4
ซ่างได้ใช้รถศึกและอาวุธที่ทำจากสำริดล่าสัตว์ รวมถึงการขยายอิทธิพลของตนเองเข้าไปยังที่ต่างๆ
1
แต่ทว่า เขตอิทธิพลของซ่างก็ยังไม่ใหญ่ซักเท่าไหร่ รวมถึงในเวลาต่อมามีกลุ่มคนอีกกลุ่มที่สร้างนครรัฐแห่งใหม่ขึ้นมา คือ “นครรัฐโจว”
7
โดยโจว ได้ก๊อปปี้วิทยาการรถศึกมาจากซ่างแล้วประยุกต์ขึ้นใหม่ พร้อมสร้างนักรบสวมเกราะหนักและยุทธวิธีการรบแบบใหม่…
2
จากนั้นโจวซึ่งกลายเป็นมหาอำนาจใหม่ทางการทหารได้จัดการบดขยี้ดินแดนรอบๆ จนในที่สุดก็เข้าบดขยี้ซ่างจนราบคาบ…
3
ในยุคของโจวนั้น เริ่มมีความคิดความเชื่อทางการเมืองและสังคมที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดเรื่องกษัตริย์ที่อิงอำนาจกับสวรรค์ ผู้ที่เป็นกษัตริย์ของโจวคือผู้ที่ได้รับบัญชาจากสวรรค์ให้มาเป็น ซึ่งเรียกว่า “อาณัติจากสวรรค์” นั่นเองครับ
7
อีกทั้งยังเกิดความคิดแบบปราชญ์อย่างขงจื๊อและเล่าจื๊อที่จะทรงอิทธิพลอย่างมากในเวลาต่อมา…
4
แต่ถึงแม้โจวจะมีอิทธิพลสูง ก็ยังไม่สามารถผูกมัดรวมดินแดนต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ซึ่งมันก็วนไปที่ กลุ่มคนอื่นๆได้พัฒนาขึ้นมา สร้างนครรัฐแห่งใหม่ ก๊อปปี้วิทยาการทางการทหารมาจากโจวอีกทีหนึ่ง แล้วทำการแย่งชิงผู้คนและทรัพยากรจากโจวและนครรัฐอื่นๆ
10
ซึ่งพี่ใหญ่สุดอย่างโจวที่ถูกบั่นทอนกำลังจากสงครามของน้องเล็กอย่างนครรัฐต่างๆที่พัฒนาขึ้นมา ในท้ายที่สุดก็ยื้อไม่ไหว อำนาจที่ยึดเหนี่ยวนครรัฐต่างๆก็เป็นอันขาดสะบั้น
3
นครรัฐกว่า 200 แห่งได้เข้าห้ำหั่นกันแย่งชิงความเป็นใหญ่…
2
กลายเป็นว่าดินแดนต่างๆเริ่มลุกเป็นไฟ สงครามและการฆ่าฟันเกิดขึ้นไปในทุกหย่อมหญ้า…
1
ซึ่งสงครามนี้ได้กินระยะเวลายาวนานกว่า 200 ปี!
4
โดยช่วงเวลาที่ผมกำลังเล่าอยู่ในขณะนี้เรียกว่า “ยุคชุนชิว”
ยุคที่เต็มไปด้วยการฆ่าฟันและสงครามมากกว่าสันติภาพและความสงบสุข…
สงครามและการต่อสู้ได้ลากยาวจนบั่นทอนนครรัฐต่างๆ จาก 200 เหลือเพียง 7 นครรัฐซึ่งเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า “ยุคจ้านกว๋อ”
3
หาน จ้าว เว่ย ฉู่ เอี้ยน ฉี ฉิน…
3
ทั้ง 7 นครรัฐนี้นี่แหละครับ จะเป็นผู้ท้าชิงความเป็นหนึ่งแห่งยุคจ้านกว๋อ…
1
ภาพจาก Wikipedia (7 นครรัฐแห่งยุคจ้านกว๋อ)
ก่อนอื่นผมขอแนะนำลักษณะของนครรัฐต่างๆ ในยุคจ้านกว๋อกันก่อนนะครับ
5
เริ่มจากนครรัฐที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดเลยก็คือ นครรัฐฉี (พื้นที่สีเหลือง) เป็นนครรัฐที่คุมพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล ซึ่งแน่นอนว่าเป็นนครรัฐที่ค่อนข้างรุ่งเรืองทางด้านการค้า…
7
นครรัฐต่อมา คือ นครรัฐเอี้ยน (พื้นที่สีชมพู) เป็นนครรัฐเล็กๆทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในอดีตนั้นถือได้ว่าเคยเป็นหนึ่งมหาอำนาจของยุคชินชิวเลยทีเดียวครับ…
8
1
ต่อมา คือ นครรัฐฉู่ (พื้นที่สีเขียว) ถือได้ว่าเป็นนครรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดรวมถึงมีปราการธรรมชาติคือเทือกเขาและแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งแน่นอนว่าฉู่มีทรัพยากรและกำลังคนแบบเต็มสูบ แต่ขนาดที่ใหญ่ก็กลับเป็นจุดอ่อนเช่นกันครับ เมื่อการปกครองจากส่วนกลางไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ทั่วถึงเท่าที่ควร ทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวจึงไม่ค่อยมีเท่าไหร่…
20
นครรัฐต่อมา คือ จ้าว ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งภูมิประเทศจะออกแนวทุ่งหญ้าซะเป็นส่วนใหญ่ครับ ทำให้นครรัฐจ้าวที่ว่าโดดเด่นมากในการเลี้ยงสัตว์ เป็นผลให้กำลังหลักจะเป็นพวกทัพม้า เรียกได้ว่า เป็นนครรัฐที่สร้างนักรบชั้นยอดมากกว่ากุนซือชั้นเยี่ยมซะอีก…
7
ต่อมาทางใต้ของจ้าว คือ นครรัฐเว่ย (พื้นที่สีส้ม) เป็นนครรัฐที่โดดเด่นทางการเมืองและการทูต เป็นนครรัฐที่มักจะรับคนมีกึ๋นและมีฝีมือเข้ามาทำงานโดยไม่สนว่าจะเป็นคนของใครหรือที่ไหนมาก่อน…
5
ลงมาทางใต้ของเว่ย คือ นครรัฐหาน (พื้นที่สีชมพู) เป็นนครรัฐเล็กๆ ที่อยู่ใจกลางนครรัฐยักษ์ใหญ่ ซึ่งหานต้องใช้สกิลการทูตและการเมืองเพื่อเอาตัวรอดจากยักษ์ใหญ่เหล่านี้อยู่เสมอ…
7
และสุดท้ายคือนครรัฐที่อยู่ทางตะวันตกสุด คือ ฉิน เป็นนครรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่รองจากฉู่ และมีกำลังคนมหาศาลรองจากฉู่เช่นเดียวกัน รวมถึงมีมันสมองทางการเมืองและการทูตที่ค่อนข้างเก๋าเกมเลยทีเดียว…
4
ซึ่งตัวเอกของเรื่องราวคือ นครรัฐฉินที่อยู่ทางตะวันตกนี่แหละครับ…
4
2
ภาพจาก Welcome to China (สงครามยุคจ้านกว๋อ)
ในแรกเริ่มเดิมที ปลายยุคชุนชิวนั้น เว่ยอ๋อง (กษัตริย์ของนครรัฐรัฐเว่ย) คือ เว่ยเหวินโหว ได้รวบรวมกองกำลังเข้าปราบปรามนครรัฐรอบๆให้อยู่ภายใต้เว่ย ซึ่งเมื่อเข้าสู่ยุคจ้านกว๋อ เว่ยจึงกลายเป็นมหาอำนาจและมีศักยภาพทางด้านทหารสูงที่สุด…
3
เมื่อเป็นแบบนั้น นครรัฐรอบๆอย่างฉิน หาน จ้าว ก็เริ่มระแวงครับว่าตนเองจะถูกเว่ยปราบเป็นรายต่อไป…
5
ฝ่ายจ้าวจึงยึดหลักเปิดก่อนได้เปรียบ ยกทัพบุกเว่ยแบบสายฟ้าแลบแบบไม่ให้เว่ยได้ทันตั้งตัว แต่ทว่าจ้าวนั้นประเมินศักยภาพทางทหารของเว่ยต่ำจนเกินไป ผลสุดท้ายถูกโต้กลับมาจนถึงเมืองหลวงของตนเองคือเมืองหานตาน…
5
จ้าวเห็นท่าไม่ดี จึงไปคุยกับนครรัฐฉีว่า “เรามาผนึกกำลังกันปราบเว่ยกันเถอะ หยุดยั้งอย่าให้มันเหิมเกริมไปมากกว่านี้!”
1
ฝ่ายฉีจึงตอบกลับมาว่า “เห็นด้วย” ว่าแล้วระหว่างที่เว่ยกำลังติดพันศึกกับจ้าว ฝ่ายฉีที่มีซุนปิน เป็นกุนซือจอมวางแผน ก็ได้ส่งกองทัพเข้าล้อมเมืองต้าเหลียงซึ่งเป็นเมืองหลวงของฝ่ายเว่ย
7
กองทัพเว่ยที่อยู่เมืองหานตานจึงต้องย้อนกลับมารักษาเมืองหลวงของตัวเองทันควัน ซึ่งฝ่ายฉีเมื่อเห็นความแข็งแกร่งของทัพเว่ยจึงต้องยอมถอยกลับไปก่อนในที่สุด…
1
หลังจากนั้น 10 ปีต่อมา เว่ยที่กำลังได้ใจเนื่องจากความแข็งแกร่งของตนเอง จึงเปิดฉากโจมตีนครรัฐที่เล็กที่สุด คือ หาน
3
ฝ่ายหานจึงไปคุยกับฝ่ายฉีว่า “ช่วยจัดการเว่ยให้ที!” ฝ่ายฉีเมื่อเห็นความกร่างไปทั่วของเว่ย จึงทำการระดมสมองวางแผนใหม่ แล้วจึงยกทัพเข้าไปบวกกับเว่ย
4
ซึ่งในที่สุด ด้วยมันสมองของซุนปิน มีการวางกลยุทธ์ให้กองทัพของฉีทำเป็นพ่ายแพ้ถอยทัพหลอกล่อฝ่ายเว่ยให้ตามไล่ล่ามาถึงช่องแคบหม่าหลิงซึ่งเป็นที่แคบ แล้วให้กองทัพซ่อนตัวและระดมยิงธนูกว่าหมื่นดอกเข้าใส่กองทัพเว่ยจนราบพนาสูญ…
6
ความพ่ายแพ้ของเว่ยที่ศึกหม่าหลิงทำให้ความเป็นมหาอำนาจถูกทำลายลงไป ดุลอำนาจจึงถูกเทไปที่นครรัฐฉีซึ่งเป็นผู้ชนะ…
2
แน่นอนครับว่า เป้าหมายความหวาดระแวงของนครรัฐต่างๆก็ได้เบนจากฝ่ายเว่ยไปสู่ฝ่ายฉีเช่นเดียวกัน…
4
ภาพจาก wikipedia (เส้นทางการหลอกล่อในศึกหม่าหลิง)
ระหว่างที่ทั้ง จ้าว เว่ย หาน และฉีกำลังห้ำหั่นกันนี่แหละครับ นครรัฐฉินซึ่งอยู่ทางตะวันตกก็เริ่มแข็งแกร่งขึ้นมาแล้วขยายดินแดนของตนเอง จนกลายเป็นนครรัฐรุกกี้ไฟแรงที่ขึ้นมาท้าทายกับฉี…
ฝ่ายฉีซึ่งเพิ่งเป็นมหาอำนาจสดๆใหม่ๆยอมไม่ได้ที่จะให้คนอื่นมาคานอำนาจตนเอง จึงทำการทาบทามนครรัฐทางใต้ คือ นครรัฐฉู่ ให้มาจับมือกันเข้ารุมยำฉิน…
5
แต่ทางฝ่ายฉินแก้เกมได้ทันครับ มีการส่งทูตไปทาบทามฉู่ว่า “อย่าไปร่วมมือกับฉี แต่มาร่วมมือกับฉินจะดีกว่า ซึ่งหากร่วมมือ ฉินจะยกดินแดนบางส่วนให้เป็นการตอบแทน”
3
ฝ่ายฉู่อ๋อง (กษัตริย์ของนครรัฐฉู่) ก็ตาลุกวาวสิครับ จึงหักหลังและฉีกสัญญาพันธมิตรกับฉีทิ้งอย่างไม่ใยดี พร้อมส่งคนไปทำสัญญาพันธมิตรกับฉินและขอรับดินแดนที่ฉินได้บอกเอาไว้…
แต่ทางฉินกลับตอบมาว่า “ดินแดนอะไร ไม่รู้เรื่อง!”
4
ฝ่ายฉู่ก็หัวร้อนสิครับทีนี้ “อ้าวเห้ย ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่หว่า!” ด้วยความโมโหโกรธาจึงยกทัพเข้าโจมตีฉินแบบไม่ปรึกษาใคร…
3
ผลสุดท้าย คือ ถูกทัพฉินตีโต้กลับมาจนเละเทะ…
3
เมื่อจัดการสั่งสอนฉู่จนเข็ดหลาบแล้ว ฝ่ายฉินจึงเจรจาร่วมมือกับหาน จ้าว เว่ย และเอี้ยน “เรามาร่วมมือกันกระทืบฉีกันเถอะ!” ซึ่งทุกฝ่ายก็ต่าง “เห็นด้วย”
6
ว่าแล้วนครรัฐฉีก็ถูกนครรัฐทั้ง 5 ส่งกองทัพเข้ารุมยำจนเละตุ้มเป๊ะ เมืองหลินจือซึ่งเป็นเมืองหลวงของฉีถูกตีแตก และแล้วความเป็นมหาอำนาจของฉีก็ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ…
2
แน่นอนครับว่าฝ่ายที่ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่คือ ฉิน…
2
ซึ่งสถานการณ์ก็วนลูปกลับมาที่ความหวาดระแวงของนครรัฐต่างๆ ก็เบนมาที่ฝ่ายฉินในที่สุด…
6
ซึ่งก็พอเหมาะพอเจาะเมื่อฉินอ๋อง (กษัตริย์ของนครรัฐฉิน) คือฉินจวังเซียง กลับสวรรคตอย่างกระทันหัน…
2
ทำให้โอรสคือ อิ๋งเจิ้ง ซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 14 ต้องขึ้นเป็นฉินอ๋อง…
คราวนี้แหละครับ นครรัฐอื่นๆจึงเห็นโอกาสเข้ารุมยำฝ่ายฉินบ้างในที่สุด…
2
ภาพจาก Global Times (กองทัพฉิน)
คราวนี้เรามาพูดถึงเรื่องราวภายในของนครรัฐฉินกันหน่อยนะครับ…
1
ฉินอ๋ององค์ก่อน คือ ฉินจวังเซียง จริงๆแล้วไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจแท้จริงในนครรัฐฉิน เนื่องจากสมัยเป็นเจ้าชายนั้น ฉินจวังเซียงถูกนครรัฐจ้าวจับไปเป็นตัวประกัน
3
แต่แล้ว ก็ได้มีชายคนหนึ่งชื่อว่า “หลี่ปู้เหว่ย” ซึ่งเป็นพ่อค้าสมองเพชร ได้ให้สินบนฝ่ายจ้าวและนำตัวฉินจวังเซียงกลับมา และทำการช่วยเหลือผลักดันให้กลายเป็นฉินอ๋องในที่สุด…
2
จากหนี้บุญคุณอันล้นเหลือ ฉินจวังเซียงจึงตั้งให้หลี่ปู้เว่ยเป็นอัครมหาเสนาบดี ซึ่งทั้งมันสมองและความสามารถนั้น หลี่ปู้เหว่ยเหนือกว่าฉินจวังเซียงหลายขุม
5
ทำให้อำนาจทางการเมืองและความสำเร็จของนครรัฐฉิน ล้วนเป็นผลงานขอหลีปู้เหว่ยทั้งสิ้น…
6
ซึ่งถึงแม้ฉินจวังเซียงจะสวรรคตไป ความเข้มแข็งของฉินก็ไม่ได้เสื่อมคลาย หลี่ปู้เหว่ยก็ได้ผลักดันให้โอรสของฉินจวังเซียง คือ อิ๋งเจิ้ง (มีบางแห่งได้กล่าวไว้ว่าอิ๋งเจิ้งแท้จริงแล้วเป็นลูกของหลี่ปู้เหว่ย) ได้ขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะหุ่นเชิดของตนเอง
4
ทำให้อิ๋งเจิ้ง แทบไม่มีอำนาจในการปกครองนครรัฐฉิน…
2
แต่ทว่า หลี่ปู้เหว่ยกลับมองข้ามเขี้ยวเล็บอันแหลมคมที่ซ่อนอยู่ภายในตัวของอิ๋งเจิ้ง…
ฝ่ายอิ๋งเจิ้งที่ไม่ยอมตกเป็นหุ่นเชิดของหลี่ปู้เหว่ยได้ทำการซ่องสุมบุคลากรและกองกำลังของตนเองอย่างลับๆ จนมากพอที่จะคานอำนาจกับหลี่ปู้เหว่ย
4
ซึ่งการเมืองภายในที่กำลังร้อนระอุของฉิน ได้เปิดโอกาสให้เหล่านครรัฐทั้ง 6 คือ หาน จ้าว เว่ย ฉู่ เอี้ยน และฉี พากันจับมือเป็นพันธมิตรลับหลังฉิน แล้วยกทัพเข้ารุมยำฉินในที่สุด…
2
ซึ่งถือเป็นวิกฤตของฉินเลยทีเดียวครับ เมื่ออยู่ๆก็โดนรุมกินโต๊ะ…
แต่ทว่า ด้วยกลยุทธ์และความเหนือชั้นของกองกำลังฉิน ทำให้พันธมิตรร่วมของนครรัฐทั้ง 6 กลับไม่สามารถเอาฉินลงได้ ทำให้ต้องจำใจถอนทัพกลับไป…
ภายหลังสงครามรุมกินโต๊ะฉิน ฝ่ายอิ๋งเจิ้งเริ่มเข้มแข็งขึ้นมา จนในที่สุดก็สามารถโค่นล้มอำนาจของหลี่ปู้เหว่ยลงได้ รวมถึงได้ตัวของหลี่ซือ ซึ่งเป็นกุนซือคนสำคัญของหลี่ปู้เหว่ย เข้ามาเป็นเสนาบดีคนสำคัญของอิ๋งเจิ้งอีกด้วย
3
และแล้วอำนาจทั้งหมดของฉินจึงรวมเข้าสู่ตัวของอิ๋งเจิ้งซึ่งเป็นฉินอ๋อง…
เมื่อการเมืองภายในเริ่มนิ่ง การโต้กลับของฝ่ายฉินจึงเริ่มต้นขึ้น…
ภาพจาก Chinatalks (หลี่ซือ เสนาบดีของอิ๋งเจิ้ง)
หลี่ซือ เสนาบดีซึ่งตอนนี้อยู่ฝ่ายอิ๋งเจิ้งแล้วได้คิดกลยุทธ์ในการพิชิต 6 นครรัฐ โดยหลี่ซือนั้นให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสารมากกว่ากองกำลังทหาร ดังนั้น หลี่ซือจึงวางอุบายให้มีการซื้อตัวขุนนางและคนของนครรัฐต่างๆ โดยให้คนเหล่านั้นเป็นสปายและบอกข้อมูลภายในให้กับฝ่ายฉิน…
5
เมื่อคนพร้อมและข้อมูลพร้อม อิ๋งเจิ้งจึงตัดสินใจเข้าตีนครรัฐที่เล็กที่สุดก่อน คือ หาน…
หาน ซึ่งเป็นนครรัฐเล็กจึงมีขุนนางกลับใจจำนวนมาก ทำให้ถูกฉินพิชิตจนล่มสลายอย่างง่ายดาย…
เมื่อจบเกมกับหานได้แล้ว รายต่อมาก็คือจ้าว…
2
ซึ่งการรบกับจ้าวแตกต่างกับหานอย่างสิ้นเชิงครับ เนื่องจากความแข็งแกร่งของแม่ทัพอย่างหลี่มู่ ทำให้ฉินต้องใช้เวลาในการจัดการฝ่ายจ้าวพอสมควร
1
แต่สุดท้าย จากกลยุทธ์ของหลี่ซือ เหล่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกซื้อตัวก็รวมหัวกันขัดขาหลี่มู่ จนหลี่มู่นั้นหมดความศรัทธากับจ้าว และหนีทัพไปในที่สุด
3
เมื่อขาดหลี่มู่ไป ฝ่ายจ้าวจึงถูกฉินกำราบลงอย่างง่ายดาย
1
การพิชิตทั้งหานและจ้าว ทำให้นครรัฐที่เหลือต่างพากนั่งไม่ติดเก้าอี้สิครับทีนี้ โดยเฉพาะฝ่ายเอี้ยน ที่ถึงขนาดส่งคนมาลอบสังหารอิ๋งเจิ้ง แต่ทว่ากลับไม่สำเร็จ…
3
อิ๋งเจิ้งที่รอดมาได้ก็ฉุนสุดขีดว่า “วอนซะแล้วนะเอี้ยน!” และไม่รอช้าส่งยอดขุนพลอย่างหวังเจี้ยนเข้าถล่มนครรัฐเอี้ยนจนราบคาบ เอี้ยนอ๋องต้องหนีหัวซุกหัวซุนออกจากเมืองไป
6
เมื่อล่มไปแล้ว 3 นครรัฐ อิ๋งเจิ้งจึงคิดว่า “ไหนๆก็ไหนๆแล้ว พิชิตมันให้หมดทุกรัฐแล้วรวมแผ่นดินทั้งหมดให้อยู่ภายใต้ฉินซะเลยดีกว่า!”
2
จากนั้นจึงกรีธาทัพเข้าโจมตีนครรัฐเว่ย โดยฝ่ายเว่ยเมื่อเห็นแบบนั้นจึงคิดว่าสู้ไม่ได้แน่ๆ เลยไปขอความช่วยเหลือจากฉี…
2
แต่ฝ่ายฉีกลับปฏิเสธว่า “อย่ามาชักศึกเข้าบ้านตูสิโว้ย!” ทำให้ฝ่ายเว่ยถูกฉินพิชิตลงอย่างง่ายดาย
1
และในเวลาไล่เลี่ยกัน ฉินก็ได้ส่งกองทัพเข้าบวกกับนครรัฐฉู่ซึ่งเป็นนครรัฐที่ใหญ่ที่สุด
แต่จุดอ่อนของฉู่ที่ผมได้เล่าไปในตอนแรก ทำให้ฉินที่มีความเป็นปึกแผ่นมากกว่าพิชิตฉู่ลงได้ในที่สุด
2
หลังฉู่ล่มสลาย ฝ่ายฉินก็ไม่รอช้ายกทัพเข้าประชิดนครรัฐสุดท้าย คือ ฉี ซึ่งฝ่ายฉีเห็นแบบนั้นก็รู้ชะตากรรมตนเองยอมยกธงขาวสยบต่อกองทัพฉินอย่างง่ายดาย…
1
และแล้วในปี 221 ก่อนคริสตกาล นครรัฐฉินโดยการนำของอิ๋งเจิ้งก็ได้พิชิตนครรัฐทั้ง 6 ให้สยบอยู่แทบเท้า…
2
อิ๋งเจิ้ง ซึ่งบัดนี้เป็นกษัตริย์ผู้อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งปวงของดินแดนทั้งหมด ก็ได้ยกสถานะของตนเองให้ก้าวขึ้นไปสู่จุดที่สูงยิ่งกว่า นั่นคือ การเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้)
2
และแล้วจาก “ฉินอ๋อง” ซึ่งเป็นเพียงกษัตริย์แห่งนครรัฐ ได้กลายเป็น ”ฉินซีฮ่องเต้” ซึ่งเป็นจักรพรรดิผู้อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งปวง
1
ซึ่งภารกิจต่อไปของอิ๋งเจิ้งในฐานะฉินซีฮ่องเต้ คือการทำลายความแตกต่างของวัฒนธรรมและรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว…
1
ภาพจาก ChinaFetching (ฉินซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน)
ถึงแม้จะพิชิตนครรัฐทั้งหมดลงได้อย่างราบคาบแล้ว แต่ก็ยังคงมีภัยจากทางเหนืออยู่โดยพวกอนารยชนที่เรียกว่าซงหนู
2
โดยฉินซีฮ่องเต้ก็ได้ทำการป้องกัน โดยการเกณฑ์แรงงานคนมหาศาลมาสร้างระบบป้องกันจักรวรรดิคือกำแพงขนาดใหญ่ยาวเหยียดถึง 2,200 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการบุกของพวกซงหนู ซึ่งกำแพงที่ว่านี้ คือ กำแพงเมืองจีนที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี่แหละครับ…
2
กำแพงยักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ความโหดร้ายอย่างแรกของฉินซีฮ่องเต้ เพราะมีคนตายจากการสร้างกำแพงนี้อย่างมหาศาล รวมถึงมีการใช้คนฝังลงไปเพื่อสร้างกำแพงอีกด้วย…
1
หลังเริ่มโปรเจคสร้างกำแพง โปรเจคต่อไปคือการปฏิรูปการปกครองขนานใหญ่เพื่อรวมคนที่มีความแตกต่างให้กลายเป็นฉินเพียงหนึ่งเดียว
ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ “ระบบราชการ” นั่นเองครับ
2
โดยรวมอำนาจทั้งหมดเข้าสู่รัฐบาลของฉิน ซึ่งอำนาจสูงสุดจะอยู่ที่ตัวของฮ่องเต้…
2
มีอัครมหาเสนาบดีที่คุมด้านพลเรือน และจอมทัพที่คุมด้านทหาร…
2
ซึ่งรัฐบาลและระบบราชการส่วนกลางจะขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ และระบบราชการส่วนภูมิภาคจะขึ้นต่อระบบราชการส่วนกลาง…
1
ส่วนกลางคือรัฐบาลฉิน จะมีการส่งคนของตนเองไปปกครองภูมิภาค โดยจะมีการทำเอกสารราชการเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบ
2
พูดง่ายๆ คือ อำนาจการปกครองในทุกองคาพยพถูกโยงใยควบคุมโดยรัฐบาลฉิน และรัฐบาลฉินก็ถูกโยงใยควบคุมโดยฮ่องเต้ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้มีฟันเฟืองขับเคลื่อนคือ ระบบราชการ…
2
เมื่อปฏิรูปการปกครองแล้ว โปรเจคต่อไปก็คือการสร้างมาตรฐานของทุกนครรัฐให้เป็นมาตรฐานแบบดียวกับฉิน…
3
การชั่ง ตวง วัดต้องเป็นแบบฉิน…
การใช้ภาษาและตัวอักษรต้องเป็นแบบฉิน…
ประวัติศาสตร์และความทรงจำต้องเป็นแบบฉิน…
ความคิดและความเชื่อต้องเป็นแบบฉิน…
ดังนั้น จึงมีการทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่แปลกปลอมนอกรอยไปจากความเป็นฉิน…
1
โดยเฉพาะแนวคิดแบบขงจื๊อ ที่ขัดแย้งกับความเป็นฉินอย่างสุดขั้ว (โดยเฉพาะด้านการเมืองการปกครองที่ขงจื๊อสนับสนุนให้ปกครองแบบกระจายอำนาจ แต่ฉินซีฮ่องเต้ต้องการรวมอำนาจ)
ดังนั้น ฉินซีฮ่องเต้จึงต้องจัดการแนวคิดนอกรีตนอกรอยนี้ให้เด็ดขาด!
มีการสั่งให้เผาตำราของขงจื๊อรวมถึงตำราที่ขัดแย้งกับความเป็นฉินจนเหี้ยน…
1
สั่งประหารเหล่าปัญญาชนที่นิยมในแนวคิดขงจื๊อ รวมถึงที่กระด้างกระเดื่องต่อความเป็นฉิน…
3
ซึ่งการประหารก็สุดแสนจะหฤโหดสุดๆเลยล่ะครับ…
2
ทั้งการตัดหัวแล้วเสียบประจาน…
2
ฝังทั้งเป็น…
5
และห้าม้าแยกร่าง (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าทั้ง 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบออกไปเพื่อฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ)
5
เรียกได้ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ได้ใช้ความโหดเหี้ยมและความกลัวเพื่อสลายความแตกต่างให้วัฒนธรรมของนครรัฐต่างๆ รวมเป็นหนึ่งเดียวตามแบบฉินนั่นเอง
2
ภาพจาก ThoughtCo (กำแพงเมืองจีน)
ภาพจาก Wikipedia (เผาตำรา ฝังปัญญาชน)
ห้าม้าแยกร่าง
ความเป็นเผด็จการที่เหี้ยมโหด ทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันหวาดกลัวฉินซีฮ่องเต้ ถึงขนาดพยายามส่งคนไปลอบสังหารหลายครั้งหลายคราเลยล่ะครับ
3
ตัวของฉินซีฮ่องเต้ก็รอดจากการลอบสังหารมาได้ทุกครั้ง แต่ก็ทำให้ฉินซีฮ่องเต้ได้พบสิ่งที่ตนเองกลัวที่สุดในชีวิตขึ้นมา นั่นคือ “ความตาย”
2
ความกลัวตายนี้เองที่ทำให้ฉินซีฮ่องเต้แสวงหาชีวิตอมตะ ถึงขนาดสั่งคนให้ไปตามหาน้ำอมฤตและยาอายุวัฒนะทั่วทุกหนแห่งเลยล่ะครับ
2
ซึ่งในช่วงท้ายของชีวิต ฉินซีฮ่องเต้ก็ได้เริ่มโปรเจคใหญ่อีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ การสร้างสุสานของตนเอง
ซึ่งสุสานที่ว่า ไม่ใช่สุสานต๊อกต๋อยธรรมดา แต่เป็นสุสานขนาดใหญ่ที่จำลองความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิฉิน
2
มีการสร้างทหารดินเผาและรถม้าดินเผาที่รูปร่างและขนาดเหมือนของจริง เพื่อจำลองกองทัพฉิน และเชื่อว่ามีพระราชวังฉินจำลองเป็นที่ตั้งพระศพ (ซึ่งยังขุดค้นไม่พบ)
การสร้างสุสานขนาดยักษ์นี้เกณฑ์คนมาถึง 720,000 คน ซึ่งยอดคนเสียชีวิตจากการสร้าง ก็ไม่น้อยหน้ากำแพงเมืองจีนเลยล่ะครับ
2
ซึ่งเหตุผลในการสร้างคือ “หากฉินซีฮ่องเต้เกิดเสียไปก่อนที่น้ำอมฤตและยาอายุวัฒนะจะมาถึง ให้นำศพของฉินซีไปไว้ในสุสานเพื่อเก็บรักษาศพอย่างดี รอวันที่จะฟื้นคืนชีพด้วยน้ำอมฤตขึ้นมาใหม่” ซึ่งมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ครับว่าภายในสุสานนั้นมีทั้งกับดักและแม่น้ำที่เต็มไปด้วยสารปรอทซึ่งมีพิษร้ายแรง โดยสารปรอทนั้นมีขนาดใหญ่เท่าแม่น้ำหรือไม่ก็ทะเลสาบย่อมๆเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันคนเข้าไปทำลายพระศพนั่นเอง
5
ซึ่งเป็นเรื่องน่าสงสารฉินซีจริงๆ (รึเปล่า) เมื่อคนที่ไปเสาะแสวงหาน้ำอมฤตและยาอายุวัฒนะไม่เคยกลับมาเลย (หาของไม่เจอไง กลับมาก็คงตายลูกเดียว สู้หนีไปเลยดีกว่า…)
6
ซึ่งวาระสุดท้ายของฉินซี คือ การดื่มสิ่งที่ตนเองเข้าใจว่าเป็นน้ำอมฤต ซึ่งแท้จริงนั้นเป็นสารพิษ ทำให้เป็นการจบชีวิตฉินซีฮ่องเต้หรืออิ๋งเจิ้ง ผู้นำและจักรพรรดิอันเกรียงไกรของฉินในที่สุด…
1
ภาพจาก Escape (ทหารดินเผาในสุสานฉินซีฮ่องเต้)
ภาพจาก China.org (ภาพจำลองสุสานลับ)
ภาพจาก China.org (ภาพจำลองห้องสุสาน)
ภาพจาก kikbb (ภาพจำลองพระราชวังภายในสุสาน)
หลังการสวรรคตของฉินซีฮ่องเต้ แน่นอนครับว่าอำนาจที่ยึดโยงด้วยความกลัวก็ได้ขาดสะบั้นลง ผู้นำคนต่อมาไม่สามารถยึดโยงทุกสิ่งทุกอย่างได้เหมือนฉินซีฮ่องเต้
จักรวรรดิฉินจึงสิ้นสุดหลังจากครองอำนาจอยู่เพียง 15 ปีเท่านั้น…
หลังฉินล่มลงไป ก็ได้เกิดสงครามขึ้นทั่วแผ่นดิน และในท้ายที่สุดผู้ที่รวบรวมแผ่นดินที่เริ่มมีรอยแตกร้าวให้กลับมารวมกันอีกครั้งคือชายซึ่งเป็นผู้นำของกบฏชาวนา ชื่อว่า “หลิวปัง”
4
ชายที่ชื่อ “หลิวปัง” นี่แหละครับ เป็นผู้สร้างจักรวรรดิจีนและความเป็นจีนยุคใหม่ที่เรียกว่า “ฮั่น” โดยใช้พื้นฐานจากสิ่งที่ฉินได้สร้างเอาไว้
2
กล่าวได้ว่า ฉินได้สลายความแตกต่างของดินแดนแห่งนี้ด้วยวิธีการอันโหดเหี้ยม…
แต่วิธีการที่ว่านั้นก็เหมือนเป็นกาวที่ต่อติดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมาครั้งแรกของดินแดนที่มีความแตกต่างแห่งนี้…
2
ความเป็นฉินจึงเป็นต้นกำเนิดของความเป็นจีน (คำว่าฉินก็เป็นต้นกำเนิดของคำว่า China และจีนเช่นเดียวกัน)
4
และแม้ประวัติศาสตร์อาจจะสาปแช่งฉินว่าเป็นราชวงศ์ทรราชย์…
แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ฉินได้เป็นทั้งผู้พิชิตและเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมร่วมที่คงอยู่คู่กับแผ่นดินจีนไปกว่า 2,000 ปี…
1
และนี่ คือเรื่องราวของ “ฉิน” นครรัฐผู้พิชิตแผ่นดินจีน
ภาพจาก Reddit
References
Barnes, Gina. L. China Korea and Japan , the Rise of Civilization in East Asia. London : Thomes and Hudson Ltd., 1993.
Botian, Jian. A Concise History of China. Second Edition. China : Foreign Language Press, 1981.
Dawson, Raymond. The Legacy of China. London : Oxford University Press, 1971.
Pacella, Peggy. Qin Shi Huangdi: First Emperor of China (Historical Biographies). Portsmouth : Heinemann, 2003.
สามารถติดตามได้อีกที่ :
https://www.facebook.com/Storyteller-110910674584013
1
722 บันทึก
359
30
388
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
East Asia Story
722
359
30
388
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย